“ได้ไม่คุ้มเสีย” เป็นเหตุผลที่ทำให้แกนนำพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ปรับแผนที่เดิมจะเข็น “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ถือสถานะซ้อน 3 ตำแหน่งประการแรก คือ นายกรัฐมนตรี ประการสอง หัวหน้า คสช. และประการที่สาม แคนดิเดตนายกฯ หนึ่งเดียวของ พปชร. ขึ้นปราศรัยในพื้นที่ 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยประเดิมที่แรกเมืองนครราชสีมา ในวันที่ 10 มี.ค. เป็นอันยุติไป
โดยปัญหาแรกที่ได้ไม่คุ้มเสียคือ สถานะ “หัวหน้า คสช.” ยังเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า ตกลงแล้ว “ลุงตู่” เป็นเจ้าหน้าที่รัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (15) ซึ่งเป็นข้อห้ามการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกฯ หรือไม่
ขณะที่ กกต.ก็ดองเรื่อง และเอาเวลาไปดูงานต่างประเทศ ด้วยงบประมาณ 12 ล้านบาท ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม แทนที่จะเคลียร์เรื่องนี้ให้จบ และส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สิ้นกระแสความ
แถมยังสุ่มเสี่ยงอาจขัด พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 78 ห้ามมิให้ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทําการใดๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
ที่จะถูกนักการเมือง และนักร้อง นำขึ้นเขียงไปขยายผล ไม่นับแรงกระเพื่อมทางการเมืองให้รุมกินโต๊ะตลอดช่วงโค้งสุดท้ายการเลือกตั้ง
ถึงขนาดเนติบริกรอย่าง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย ยังออกมาเตือนหลายครั้งว่า พล.อ.ประยุทธ์เป็นข้าราชการ ความเป็นข้าราชการมีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นกลาง จึงมีการแบ่งเรื่องในเวลาและนอกเวลาราชการ ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า หากอยู่นอกเวลาราชการสามารถช่วยหาเสียงได้ใช่หรือไม่ รองนายกฯ ตอบว่า ไม่สมควร เพราะแตกต่างจากนายกฯ คนก่อนหน้าหาเสียงได้นั้น เนื่องจากเขาเป็นผู้สมัคร ประชาชนต้องเลือก แต่กรณีผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ ไม่มีใครไปเลือกเป็นเรื่องที่พรรคเสนอ จึงไม่ควรและมีโอกาสเสี่ยงต่อความผิดหลายอย่าง
สอดคล้องกับ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชุดนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ยังออกมาเตือนว่า “บิ๊กตู่” เมื่อต้องขึ้นไปยืนอยู่กับ พปชร.บนเวทีปราศรัย แล้วหากยิ่งคนใน พปชร.ทำเหมือนพินอบพิเทานายกฯ บิ๊กตู่ พรรคมีอะไรก็พูดบนเวที ชงกันไปชงกันมา พล.อ.ประยุทธ์ต้องระวัง ถูกร้องเข้าข่ายข้อหาครอบงำจากบุคคลนอกพรรคได้ ถ้าโดนข้อหาครอบงำพรรคขึ้นมาจริง ก็ส่งผลเสี่ยงโดนข้อหายุบพรรคได้
แตกต่างจากพรรคคู่แข่ง และฝ่ายตรงข้าม ต่างไม่กลัว และยุส่งให้ “บิ๊กตู่” ช่วย พปชร.ปราศรัย หรือขึ้นดีเบต เพราะทราบดีว่าจะทำให้คะแนน พปชร.ตก เพราะขนาดรายการช่วงค่ำวันศุกร์ ประชาชนยังเปลี่ยนช่องหนี
ที่สำคัญยังเปิดประเด็นโจมตีให้พวกเขาทำลายความชอบธรรมแก่ พล.อ.ประยุทธ์ และ พปชร.ไปโดยอัตโนมัติ ฉายภาพซ้ำเป็นแผน “สืบทอดอำนาจ” ดึงกระแสไปถึงวันเลือกตั้ง 24 มีนาคมนี้
โดยเฉพาะข้อกล่าวหาตลอด 4 ปีของรัฐบาลทหาร ที่ถูกมองว่าล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปประเทศหรือไม่, ทำชาวบ้านจนลง ขณะที่นายทุนรวยขึ้นหรือไม่, ออกฎหมายเอื้อพวกพ้องหรือไม่, ใช้องค์กรอิสระที่ตัวเองตั้งขึ้น ปกป้องพวกพ้องหรือไม่, ใช้อำนาจรัฐกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามหรือไม่, สิทธิเสรีภาพประชาชนถูกคุกคามหรือไม่, รัฐธรรมนูญดีไซน์มาให้ พปชร. โดยมี ส.ว.สรรหา จำนวน 250 คน แต่งตั้งโดย คสช. เพื่อเลือกนายกฯ คนต่อไปหรือไม่
ที่สำคัญหากโชคร้าย “ลุงตู่” กำลังปราศรัย หรือเดินหาเสียงในพื้นที่ต่างๆ เกิดควบคุมประชาชนไม่ได้ เพราะไม่สามารถใช้อำนาจรัฐได้อย่างเต็มที่ และเกิดปรากฏการณ์คนมาต่อต้านเชิงสัญลักษณ์ หรือตะโกนด่า อย่างเช่น “ลุงกำนัน” สุเทพ เทือกสุบรรณ ครั้งเดินคารวะแผ่นดินในนามพรรค ให้กับพรรคพลังประชาชาติไทย (รปช.) หลังลุงกำนันกลับคำพูดมาเล่นการเมือง ก็จะทำให้พรรคพลังดูดเสียแต้มไปกันใหญ่ หลังก่อนหน้านี้ลงทุนลงแรงด้วยพลังวิเศษมาตั้งมากมาย
ล่าสุด นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค พปชร. ยอมรับว่าเตรียมปรับแผน เนื่องจากไม่อยากให้เกิดข้อโต้แย้งถกเถียงในสังคมและนำไปตีความ เพราะบ้านเมืองต้องเดินหน้า เราจึงคิดจะไปใช้วิธีอื่นแทน และดูว่ารูปแบบใดที่จะไม่สร้างความกังวลต่อตัว พล.อ.ประยุทธ์ และทำให้ พปชร.ชนะเลือกตั้งให้สำเร็จ
ดังนั้นจึงต้องดูว่า พปชร.จะปรับแผนอย่างไร ดึงคะแนนโค้งสุดท้าย ในสภาวะที่ผลโพลต่างๆ ส่วนใหญ่ยังมองว่าเป็นรองพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |