เหยื่อหรือต้นตอ..ข่าวปลอม


เพิ่มเพื่อน    


    ไม่ถึงกับแปลกใจ แต่ค่อนข้างตกใจนิดหน่อย กับข่าวสารของ The Verge ที่เผยแพร่ข้อมูลระบุว่า พวก สว.หรือผู้สูงวัยอายุ 65 up เป็นกลุ่มใหญ่ที่ชอบแชร์ข่าวมั่วๆ หรือข่าวปลอม
    มิใช่การกล่าวหากันลอยๆ แต่ถึงขั้นอ้างอิงการวิจัยจากมหาวิทยาลัย New York และ Princeton ที่บอกว่าให้รู้ว่า คนอเมริกันที่แชร์ข่าวปลอม ส่วนใหญ่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
    งานวิจัยตีพิมพ์ใน Science Advance เป็นการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้งาน Facebook ในช่วงหลายเดือนก่อนและหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ปี 2016 โดยช่วงต้นปีนักวิจัยเริ่มทำงานกับบริษัทวิจัย YouGov เพื่อรวบรวมผู้คนให้ได้จำนวน 3,500 คน (มีทั้งคนที่ใช้และไม่ใช้ Facebook)
    ราว 8.5% ของผู้ให้การสำรวจแชร์ข่าวปลอม ผู้ใช้ที่ระบุตนว่าเป็นอนุรักษนิยมก็มีแนวโน้มจะแชร์ข่าวปลอมมากกว่ากลุ่มเสรีนิยม แต่เมื่อแยกเป็นอายุพบผลลัพธ์น่าสนใจคือ คนอายุมากกว่า 65 ปีราว 11% แชร์ข่าวปลอม เทียบกับคนอายุ 18-29 มีเพียง 3% เท่านั้น 
    เรียกได้ว่าคนมีอายุแชร์ข่าวปลอมมากกว่าคนอายุน้อยหลายเท่าตัว
    ในงานวิจัยไม่ได้สรุปว่าทำไมผู้ใช้ที่มีอายุมากมีแนวโน้มที่จะแชร์ข่าวปลอมมาก แต่นักวิจัยได้ชี้ไปที่ความเป็นไปได้คือ ผู้สูงอายุที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตช้ากว่ายังขาดทักษะ digital literacy หรือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้พวกเขาติดกับดักข่าวปลอมได้ง่าย
    เห็นผลสะท้อนแบบนี้ในสังคมอเมริกันแล้ว ก็ต้องลองหันกลับมามองคนในบ้านเราที่ท่องโลกโซเชียลเหมือนกันนะคะ ว่ามิได้แตกต่างกันนัก นอกเสียจากว่า ในกลุ่มห้องไลน์ที่เรารู้ว่ามีเพื่อนที่อยู่ใกล้ข้อมูลข่าวสาร ก็มักจะส่งข้อความที่ตัวเองสงสัย พร้อมกับคำถามว่า ...จริงไหม??? เสมือนหนึ่งเป็นการตรวจสอบหรือรีเช็กไปในตัว ก่อนที่จะส่งต่อในวงกว้างกว่าเดิม
    ยกตัวอย่าง พอเพื่อนคนหนึ่งได้ข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับเงินหรือเบี้ยคนชรา มีการปรับเปลี่ยนกฎ กติกา มารยาท เขาก็จะไม่สุ่มสี่สุ่มห้าเชื่อทันที แต่จะไลน์เข้าไปถามเพื่อนที่ยังทำงานในกระทรวงการคลังว่าจริงหรือเปล่า 
    แต่ลองคิดดูสิคะ หากเป็นห้องไลน์มนุษย์ลุงมนุษย์ป้า หรือกลุ่มเล่นเฟซบุ๊กที่มิได้อยู่ในแวดวงที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารสาระบ้านเมือง หรือเป็นเพียงคนทำมากิน เป็นแม่บ้าน เขาก็คงจะไม่ผิดแผกจากคนแก่ชาวอเมริกันนั่นแหละ คือส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับทันทีถึงแม้จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม เพราะบางคนรู้สึกว่า การได้ส่งข้อมูลหมายถึงคนที่อินเทรนด์ และยังมีสังคม อีกทั้งเท่กว่าการส่งดอกไม้สีประจำวันเป็นไหนๆ 
    ฉะนั้น สว.สามารถกลายเป็นเหยื่อหรือเป็นต้นตอของข่าวลือได้ทั้งนั้น หากไม่สำเหนียกถึงการระมัดระวัง และความละเอียดรอบคอบในการชัวร์ก่อนแชร์นะคะ. 
                                    "ป้าเอง" 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"