รัฐบาลโต้ข่าวลวงถือบัตรคนจนกู้เงินไม่ได้ ปัดส่งข้อมูลให้เครดิตบูโรสอบ ยันสิทธิประโยชน์เพียบ สั่งแบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อช่วยตรงจุด
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม เว็บไซต์รัฐบาลไทย www.thaigov.go.th ได้ชี้แจงถึงกระแสข่าวเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หากประชาชนลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถกู้เงินหรือทำธุรกรรมอย่างอื่นได้ ว่ากระแสข่าวลวงเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกลับมาวนเวียนในโลกโซเชียลอีกครั้ง ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่เป็นความจริง และเป็นข่าวเก่าตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่เปิดรับลงทะเบียนใหม่ๆ ในช่วงนั้นมีความเข้าใจผิดเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเกิดขึ้นมากมาย เช่น สามารถนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปขอแลกเป็นเงินสดแทนการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ การให้เงินผู้มีรายได้น้อยซื้อสินค้าเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อเจ้าสัว หรือแม้แต่ถ้ามีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว จะไม่สามารถกู้เงินหรือทำธุรกรรมอย่างอื่นได้ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐได้ออกมาชี้แจงจนเงียบไปพักหนึ่ง
สำหรับเรื่องผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้นั้น ความจริงแล้วประชาชนคนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี หรือต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นตามหลักเกณฑ์ผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล ดังนั้น จึงไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้อยู่แล้ว เนื่องจากสถาบันการเงินกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้กู้ว่าต้องมีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง และนี่จึงเป็นที่มาที่รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้รัฐสามารถดูแลช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด โดยเฉพาะเรื่องสินเชื่อ ได้มอบหมายให้ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดหาสินเชื่อหรือเงินทุนสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีหลักประกัน เพื่อให้สามารถขอกู้เงินจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ได้
นอกจากนี้ ไม่มีการส่งข้อมูลผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้กับเครดิตบูโรเพื่อตรวจสอบแต่อย่างใด เพราะข้อมูลส่วนบุคคลไม่ใช่ข้อมูลเครดิต และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดรองรับ จึงไม่มีผลใดๆ ต่อการพิจารณาขอกู้เงินจากสถาบันการเงินทั้งสิ้น ในทางตรงกันข้าม ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกลับได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่รัฐบาลจัดให้ ได้แก่ 1.ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ให้วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น จากร้านธงฟ้าประชารัฐ 200-300 บาทต่อเดือน 2.ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวน 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน 3.ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ได้แก่ ค่าโดยสารรถเมล์/รถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน ค่ารถโดยสาร บขส. 500 บาทต่อเดือน ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน 4.สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงินกู้สูงสุดรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท 5.สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท 6.คืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการที่ซื้อสินค้าในร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าที่กำหนด ร้อยละ 5 และโอนเข้าบัญชีกองทุนการออมแห่งชาติของผู้ถือบัตร อีกร้อยละ 1 (ตั้งแต่ 1 พ.ย.61-30 เม.ย. 62)
7.ค่าใช้จ่ายช่วงปลายปี (ธ.ค.61) สำหรับใช้เดินทางกลับภูมิลำเนา โดยจ่ายให้เพียงครั้งเดียว 500 บาท/คน 8.ค่าเดินทางไปรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป (ธ.ค.61) โดยจ่ายให้ครั้งเดียว 1,000 บาท/คน 9.ค่าเช่าบ้านสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ธ.ค.61-ก.ย.62) 400 บาท/คน/เดือน และ 10.ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา (ธ.ค.61-ก.ย.62) แบ่งเป็น ค่าไฟไม่เกิน 230 บาทต่อครัวเรือน/เดือน ค่าน้ำไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือน/เดือน สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า รัฐบาลช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยอย่างตรงจุด และพยายามพัฒนาสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |