วันที่ผมนั่งคุยกับแคร์รี่ หล่ำ ผู้บริหารสูงสุดของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงที่กรุงเทพฯเมื่อสัปดาห์ก่อน หัวข้อสำคัญประเด็นหนึ่งคือโอกาสที่ไทยจะสามารถสร้างความเชี่ยวโยงกับ “กวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า” ที่เรียกขานกันในชื่อ Greater Bay Area (GBA)
นั่นเป็น “ยุทธศาสตร์ใหม่” ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนเพื่อเชื่อมฮ่องกงกับแผ่นดินใหญ่ให้สอดคล้องกับนโยบาย “หนึ่งประเทศ, สองระบบ”
สะพานที่เชื่อฮ่องกับกับจูไห่และมาเก๊าที่เพิ่งสร้างเสร็จ ยาว 55 กิโลเมตรเป็นสัญลักษณ์แห่งแนวทางใหม่ของรัฐบาลปักกิ่งที่ต้องการจะปักหมุดอำนาจบริหารรัฐบาลกลางกับศูนย์การเงินและนวัตกรรมอย่างฮ่องกงและแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้มหาศาลจากบ่อนคาสิโนนานาชาติมาเก๊า
การสร้างเขตเศรษฐกิจใหม่ในลุ่มแม่น้ำ Pearl River (จูไห่) ในบริเวณนี้คือการขยายศักยภาพของการเชื่อมโยงสามจุดใหญ่
เทียบได้กับบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโกทางตะวันตกของสหรัฐฯซึ่งมีสะพานเชื่อมถึง 5 แห่งขณะที่ในย่านนี้ทางใต้ของจีนมีสะพานหลักเพียงแห่งเดียวคือสะพานหูเหมินซึ่งสร้างเมื่อปี 1997
แผนกระตุ้นเศรษฐกิจสามเหลี่ยมแม่น้ำจูไห่มองเห็นโอกาสที่อุตสาหกรรมนวัตกรรม, บริการการเงินและการผลิตที่เชื่อระหว่างฮ่องกงกับเสินเจิ้นที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
วันนี้เสินเจิ้นได้กลายเป็นศูนย์นวัตกรรมเทียบได้กับซิลิคอนแวย์เลย์ของสหรัฐฯ
คุณแคร์รี่ หล่ำบอกว่าความจริงเสินเจิ้นและฮ่องกงเมื่อรวมกันเข้าจะมีอะไรมากกว่า Silicon Valley ของอเมริกาด้วยซ้ำ
เรียกมันว่า Silicon Valley Plus เพราะฮ่องกงเป็นศูนย์การเงินระหว่างประเทศ เมื่อบวกกับเสินเจิ้นที่วันนี้มีความคึกคักทางด้านนวัตกรรมและ startups แล้วก็มีอะไรมากกว่า Silicon Valley ด้วยซ้ำไป
จีนวันนี้ไม่ได้เพียงคิดจะเทียบเคียงอเมริกาทางด้านี้เท่านั้น แต่ได้ประกาศว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะแซงหน้าสหรัฐฯในด้าน AI หรือปัญญาประดิษฐ์ด้วยซ้ำไป
ด้านตะวันออกของ GBA ได้กลายเป็นศูนย์ครบวงจรสำหรับการผลิตมือถือ ปีที่แล้ว จีนส่งออกมือถือ 1.9 พันล้านเครื่อง ในจำนวนนี้ 1.1 พันล้านเครื่องมาจากฐานผลิตที่ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของ GBA นี่แหละ
แต่ด้านตะวันตกของ GBA ยังไม่ได้สร้างฐานการผลิตที่แข่งขันได้ในระดับสากล
การสร้างสะพานและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นระบบการขนส่งให้คล่องตัวจะเป็นการเปิดทางให้มีการสร้างอุตสาหกรรมเหล่านี้ทางด้านตะวันตก
นี่คือเนื้อหาสาระของการสนทนากับผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงที่แวะเวียนมากรุงเทพฯเมื่อสัปดาห์ก่อน
“ตั้งแต่รับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงเมื่อ 20 เดือนก่อน ดิฉันได้มาเมืองไทยแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เพราดิฉันชอบเมืองไทยมาก และคิดว่าเราสามารถจับมือทำอะไรร่วมกันได้อย่างมากมาย”
คนฮ่องกงมาเที่ยวไทยปีละประมาณ 1 ล้านคนขณะที่คนไทยไปฮ่องกงประมาณ 500,000 คน จึงควรที่ทั้งสองฝ่ายจะผลักดันให้มีการไปมาหาสู่กันมากกว่านี้ได้อีก
แคร์รี่ หล่ำ อายุ 62 เคยเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีของฮ่องกงและเป็นคนที่รัฐบาลปักกิ่งให้การสนับสนุน จึงได้รับเลือกเป็นผู้นำฮ่องกงเมื่อสองปีก่อน เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ตำแหน่งนี้
วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของ “เขตบริหารพิเศษฮ่องกง” เป็น “ประชาธิปไตยภายใต้การกำกับดูแล” พอสมควร เพราะเลือกโดยผู้แทน 1,194 คน
ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เธอชนะด้วยคะแนน 777 เสียง
คนที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการเลือกผู้นำของเกาะแห่งนี้มีการชุมนุมประท้วงเพราะเห็นว่าระบบนี้ไม่เปิดโอกาสให้พลเมืองชาวฮ่องกงมีส่วนในการตัดสินใจเลือกผู้บริหารสูงสุดอย่างแท้จริง
แคร์รี่ แลมรับตำแหน่งต่อจากนายซี ซาย เหลียง เธอมีประสบการณ์สูงในการบริหารฮ่องกง จะเรียกว่า “ลูกหม้อ” เลยก็ได้
แต่ก็มีความหวั่นเกรงว่าเธออาจจะสนิทแน่นกับผู้นำจีนที่ปักกิ่งมากไปหน่อย อาจไม่ปกป้องสิทธิการบริหารตนเองให้เป็นอิสระจากการสั่งการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพียงพอ
ผมถามเธอว่าอะไรคือสิ่งที่ท้าทายที่สุดในหน้าที่ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง แคร์รี่ หล่ำตอบทันควันว่า
“สิ่งท้าทายที่สุดสำหรับดิฉันในตำแหน่งนี้คือทำอย่างไรจึงจะทำงานกับคนรุ่นใหม่ได้อย่างกลมกลืน...เพราะทุกอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง”
นี่ก็คือผลพวงของ disruption อีกด้านหนึ่งอย่างปฏิเสธไม่ได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |