การแสดงประสานเสียง จากคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู
นิทรรศการ “นัยระนาบนอก อินซิทู : แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน” นิทรรศการใน ภาควังหน้านฤมิตในมิติแห่งกาลเวลา ภาคที่ 3 อันเป็นการต่อยอดจากนิทรรศการประวัติศาสตร์ วังน่านิมิต ภาคที่ 1 ที่จัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา และสำหรับ "นัยระนาบบอก :แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน" ภายใต้โครงการการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) และสื่อความหมายด้วยเทคโนโลยี ที่จะมีทั้งหมด 3 ภาค โดยมีคุณใหม่-สิริกิติยา เจนเซ่น พระธิดาในทูลกระหม่ออุบลรัตนราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี เป็นผู้อำนวยโครงการ
คุณใหม่-สิริกิติยา เจนเซน ผู้อำนวยการโครงการ บรรยายถึงเหตุผลที่มาของนิทรรศการ
จุดประสงค์ของนิทรรศการชุดนี้ มีขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ออกไปสู่สาธารณะชนผ่านรูปแบบกิจกรรมและสื่อประเภทต่างๆ จาก 7 ศิลปินและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ อาทิ นักออกแบบสิ่งทอ คณะนักร้องประสานเสียง เชฟ สถาปนิก นักพฤกษาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ศิลป์ นักภาษาศาสตร์ และปติมากร ที่ได้จัดขึ้น ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยและมุขกระสัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สามารถเข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้ – 28 เมษายน 2562
อีกจังหวะการบรรยายของคุณใหม่-สิริกิติยา เจนเซน ผู้อำนวยการโครงการ
คุณใหม่ -สิริกิติยา ผู้อำนวยการโครงการฯ และหนึ่งในทีมภัณฑารักษ์ กล่าวว่า ด้วยตนเองมีความสนใจอย่างแรก คือในเรื่องของภาษาและเวลา เพราะบางทีประวัติศาสตร์กับเวลาเป็นเรื่องที่คนไม่ค่อยเข้าใจ ดังนั้นจึงอยากให้คนเคลื่อนเข้ามาอยู่ในสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์ และสนใจในเรื่องของการขยายมุมมอง เพื่อที่จะทำให้เห็นว่า เขาสามารถที่จะเข้าไปอยู่ในเรื่องราวของอดีตได้เหมือนกัน และถือว่าเขาเป็นผู้ขับเคลื่อน ไม่ใช่แค่การขับเคลื่อนด้วยเอกสาร อย่างนิทรรศการที่ได้จัดขึ้นจะสังเกตุเห็นได้ว่ าผลงานทุกชิ้นมีการเชื่อมโยงในเรื่องของเวลาและภาษาทั้งหมด
สถาปัตยกรรมพรที่นั่งคชกรรมประเวศและพลับพลาสูง
“อยากให้ทุกคนเข้าใจประวัติศาสตร์ และคิดว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่สิ่งที่ไกลจากตัวเรา เพราะถ้าหากไม่มีการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ให้เข้ากับปัจจุบัน ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ไกลจากตัวเรา และทุกอย่างที่เกิดขึ้นในนิทรรศการนี้ ก็คือการขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ ที่เป็นการจัดนิทรรศการให้มีแพลตฟอร์ม มีความหลวมขึ้นมานิดหนึ่ง เพื่อให้คนได้สามารถเข้าไปสัมผัสผลงาน และไม่จำเป็นต้องเข้าใจในตอนนั้นเลย แต่อยากให้คนที่ได้ชมได้คิดว่ามันมีการเชื่อมโยงระหว่างตัวเองกับประวัติศาสตร์ในอดีตอย่างไร และกลับมาดูอีกครั้ง ให้มีความคิดและสร้างสรรค์ หรือเป็นแรงบันดาลใจ” นางสาวสิริกิติยา กล่าว
ลับแล ที่ผู้ใช้งานจะได้สื่อสารกับตัวเองผ่านตัวละครที่สร้างขึ้น
สำหรับผลงานภายในนิทรรศการโซนด้านในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ที่จะจัดเป็นพื้นที่แสดงผลงานของ 7 ศิลปิน ได้แก่ ผลงานของศิลปิน 1.ออน คาวารา ที่ได้นำผลงาน One Million Years ประกอบด้วย หนังสือ 2 เล่ม โดยเล่มแรก ชื่อว่า Past – For all those who have and died ที่เขียนอุทิศแด่ ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนเล่มที่สอง ชื่อว่า Future – For the last one ที่เขียนอุทิศแด่ ผู้มีชีวิตอยู่เป็นคนสุดท้าย ที่ศิลปินมีความสนใจในเรื่องเวลาและพื้นที่ ซึ่งผลงานชิ้นนี้จะเป็นการอ่านของผู้หญิง 1 คน และผู้ชาย 1 คน ที่จะอ่านสลับกันไป, 2.นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ ศิลปินที่มีความสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ จึงได้นำผลงานศิลปวัตถุ ลูกแก้วปรอท ซึ่งเดิมมีความเชื่อว่าจะนำไปประดับไว้ที่ห้องอาหารเพื่อให้พ่อบ้านคอยชำเลืองมองแขก แต่ศิลปินที่หยิบนำมาสร้างเพื่อให้ผู้คนสามารถสะท้อนตัวเองและสิ่งรอบตัว พร้อมกับเชื่อมโยงกับหวงโลหะ 2 วง ที่สลักเนื้อเพลง ลาวแพน ทั้งภาษาไทยและภาษาลาว ที่บอกเล่าชีวิตชาวลาวในสมัยรัชกาลที่ 3
แผนผังเดิมของวังหน้า ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4-รัชกาลที่ 5
3.ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวานิช ที่ได้พัฒนาแอพลิเคชั่น ที่ออกแบบให้ตอบโต้กับผู้ใช้งานผ่านการสแกนโค้ช ที่ติดอยู่ตรง ลับแล วัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์ 2 บาน จากนั้นผู้ใช้งานจะได้สื่อสารกับตัวเอง โดยมีตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นเป็นผู้สื่อสารด้วย เช่นการถามชื่อ 4.อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ ที่ได้ทำผลงานภาพสีบนกระดาษ ที่ติดอยู่ระหว่างช่องหน้าต่างภายในพิพิธภัณฑ์ ที่ภาพมีความเชื่อมโยงระหว่างตัวอาคารสถาปัตยกรรมโบสถ์หรืออานวิหาร ที่ทำให้นึกถึงภาพงานศิลปะ ศาสนาคริสต์ The 14 Stations of the Cross(มรรคาศักดิ์สิทธิ์) 5.ปรัชญา พิณทอง ที่ศิลปินได้กำหนดกลุ่มคำหรือรหัส เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ที่จะมาเข้าชมนิทรรศการ และสื่อสารคำพูดต่อมายังห้องจำหน่ายบัตร เพื่อที่จะได้เข้ารับชมฟรี ซึ่งตัวเลขจำนวนผู้ที่ได้เข้าชมฟรีก็จะถูกบันทึกอยู่ในผลงาน
ผลงานภาพยนตร์ 16 มม. ที่เป็นเรื่องราวของการทำงานของคนสวนประจำโรงละครแห่งชาติ
6.หยัง โว ศิลปินชาวเวียดนาม ที่ได้นำผลงานชื่อว่า 2.2.1861 ผลงานบนกระดาษชิ้นต่อเนื่อง ศิลปินได้ขอให้พ่อของเขา คัดลอกตัวอักษรข้อความภาษาฝรั่งเศสจากจดหมายลา ที่นักบุญ Jean-Theophane Venard มิชชั่นนารีชาวฝรั่งเศสในเวียดนาม ส่งถึงพ่อของศิลปินใน ค.ศ.1861 หรือในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่สะท้อนประวัติศาสตร์การมีอยู่ และการดำรงอยู่ในพื้นที่ต่างๆ และ7. ธณัฐชัย บรรดาศักดิ์ ศิลปินที่ได้สร้างผลงานภาพยนตร์ 16 มม. ที่เป็นเรื่องราวของการทำงานของคนสวนประจำโรงละครแห่งชาติ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่พระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า)
ถอดรหัสความหมายพระนามตามที่จารึกในสุพรรณบัฏ
ในส่วนของโซนด้านในมุขกระสัน ซึ่งเป็นจุดที่ผู้เชียวชาญด้านต่างๆได้นำเสนอผลงาน อาทิ กลุ่มของนักภาษาศาสตร์ ได้มีการถอดรหัสความหมายพระนามตามที่จารึกในสุพรรณบัฏ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและความสำคัญของการตั้งชื่อของคนไทย ความหมายที่แฝงอยู่ รวมไปถึงบทบาทและความสำคัญของนามเฉพาะ หรือกลุ่มสถาปนิก ที่ได้ร่วมจัดทำแผนที่แบบมีส่วนร่วม : ตามรอยความทรงจำท้องถิ่นของ วังหน้า ที่ได้แรงบันดาลใจจากหนึ่งในแผนที่เก่าที่สุดของวังหน้า
ยังมีผลงานผ้าม่านที่ใช้ในห้องมุขกระสัน ที่สร้างสรรค์โดย จารุพัชร อาชวะสมิต นักออกแบบสิ่งทอ ในส่วนบริเวณลานในพระที่นั่งก็จะมีคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู ที่จะมาทำการแสดง อาทิ เพลงบัวขาว เพลงเขมรไทรโยค เพลงแห่เรือ หรือในส่วนของนักดนตรี โดยตุล ไวฑูรเกียรติ กับผลงานเพลง The Ghost of Wang Na : การอ่านเพลงยาว พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระปิ่นเกล้า ประกอบกับเพลงอิเลคทรอนิคส์ ที่ได้แต่งเพลงร่วมกับ มาร์โมเซตส์ ที่ได้อัดเสียงระนาดเก่าในพิพิธภัณฑ์มาประกอบเสียง นอกจากนี้เพลงยังมีนัยถึง ผี ในความหมายตามภาษา แต่ในเชิงเปรียบเทียบที่เล่าถึงสารัตถะและสิ่งที่เหลืออยู่ ของบุคคลหรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ และยังมีผลงานที่เคยจัดแสดงในนิทรรศการวังน่านิมิตมาร่วมจัดแสดงด้วย อย่าง แผนผังเดิมของวังหน้า ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4-รัชกาลที่ 5 สถาปัตยกรรมพรที่นั่งคชกรรมประเวศและพลับพลาสูงอีกด้วย
ศิลปิน ออน คาวารา ที่นำเสนอผลงาน One Million Years
อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมนิทรรศการ นัยระนาบนอก อินซิทู : แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ -28 เมษายน 2562 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย และมุขกระสัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |