แจงพรบ.ไซเบอร์ ป้องภัยคุกคาม! 'ธนาธร'จ้องแก้


เพิ่มเพื่อน    


    รัฐบาลแจงยิบข้อกังวล "พ.ร.บ.ไซเบอร์" ยันไม่คุกคามสิทธิ์ประชาชน ใช้ป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามต่อระบบคอมพิวเตอร์ ระบุ จนท.ใช้อำนาจยึด-ค้น-เจาะ-ทำสําเนาต้องขออนุญาตศาล ยกเว้นระดับวิกฤติที่กระทบความมั่นคงแต่ต้องแจ้งศาลโดยเร็ว ส่วนโทษจําคุกเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐเปิดเผยข้อมูล  "ธนาธร" ชี้อ้างความมั่นคงเพื่อปิดปากละเมิดสิทธิ์ ปชช. ลั่นหากมีอำนาจจะแก้ไขทันที
    เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ในเว็บไซต์รัฐบาลไทย http://www.thaigov.go.th ได้ชี้แจงกรณีข้อกังวลของประชาชนต่อเนื้อหาของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2561 หรือ พ.ร.บ.ไซเบอร์ ซึ่งเพิ่งผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า ความจริงกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่จะช่วยสร้างความมั่นคงปลอดภัยในระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของประเทศ โดยป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ และไม่เกี่ยวกับการเฝ้าดูข้อมูลของประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์
    เว็บไซต์รัฐบาลไทยอธิบายถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ไว้ว่า พ.ร.บ.ไซเบอร์จะควบคุมภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับไม่ร้ายแรง ระดับร้ายแรง และระดับวิกฤติ โดย 1.ระดับไม่ร้ายแรง คือ ภัยคุกคามไซเบอร์ที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ หรือการให้บริการของรัฐด้อยประสิทธิภาพลง 2.ระดับร้ายแรง คือ ภัยคุกคามไซเบอร์ที่มีการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีผลทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านความมั่นคงของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เศรษฐกิจ การสาธารณสุข ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่สามารถทำงานหรือให้บริการได้    
    3.ระดับวิกฤติ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 3.1) ภัยคุกคามจากการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงเป็นวงกว้างทำให้การทำงานของหน่วยงานรัฐ  การให้บริการของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศแก่ประชาชนล้มเหลวทั้งระบบ จนรัฐควบคุมไม่ได้ และเสี่ยงจะทำให้บุคคลจำนวนมากเสียชีวิตหรือระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์จำนวนมากถูกทำลายเป็นวงกว้างในระดับประเทศ 3.2) ภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม
    ส่วนสิ่งที่ประชาชนกังวล คือ 1.นิยามภัยคุกคามไซเบอร์ตีความได้กว้าง อาจคุกคามต่อสิทธิของประชาชน คำชี้แจงระบุว่าภัยคุกคามไซเบอร์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับไม่ร้ายแรง ร้ายแรง และวิกฤติ ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นไปเพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ มีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น มัลแวร์ ไวรัส จึงไม่ไปคุกคามหรือกระทบสิทธิของบุคคล 
    2.เจ้าหน้าที่รัฐสามารถขอข้อมูลจากใครก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการทํางาน คำชี้แจงระบุว่าไม่จริง เจ้าหน้าที่จะเฝ้าดูการทำงานของระบบไม่ให้ผิดปกติเท่านั้น     
    3.กฎหมายให้อํานาจเจ้าหน้าที่ยึด-ค้น-เจาะ-ทำสําเนาคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์ คำชี้แจงระบุว่าเจ้าหน้าที่ต้องขออำนาจจากศาล (ตามมาตรา 65) และใช้อำนาจยึด-ค้น-เจาะ-ทำสําเนาอาชญากรที่โจมตีระบบสาธารณูปโภคจนล่ม ไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไป
     4.เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ร้ายแรงขึ้นไป เจ้าหน้าที่รัฐสามารถสอดส่องข้อมูลได้แบบ Real-time  คำชี้แจงระบุว่าเจ้าหน้าที่จะใช้อํานาจตามคําสั่งศาลเฉพาะกับผู้กระทําผิด ถ้ามีการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ที่ทําให้ระบบล่มเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไป
     5.ในกรณีจําเป็นเร่งด่วน เจ้าหน้าที่สามารถใช้อํานาจได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล คำชี้แจงระบุว่าภัยคุกคามไซเบอร์ทุกระดับต้องขอหมายศาลทุกกรณี ยกเว้นระดับวิกฤติที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศเท่านั้นที่ทำได้ แต่ต้องแจ้งศาลโดยเร็ว
     6.การใช้อํานาจยึด ค้น เจาะ หรือขอข้อมูลใดๆ ไม่สามารถอุทธรณ์เพื่อยับยั้งได้ คำชี้แจงระบุว่าไม่จริง ขอศาลยกเลิกได้
     7.เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ระดับวิกฤติ ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ คำชี้แจงระบุว่าสภาความมั่นคงแห่งชาติเข้ามาเพราะเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นภัยคุกคามไซเบอร์ระดับวิกฤติที่มีคนล้มตายจํานวนมาก
     8. ผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคําสั่งมีทั้งโทษปรับและโทษจําคุก คำชี้แจงระบุว่าโทษจําคุกมีเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐนำข้อมูลที่ได้มาไปเปิดเผย ไม่เกี่ยวข้องกับประชาชน
    ส่วนข้อดีของ พ.ร.บ.ไซเบอร์ คือ 1.ระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญมีความมั่นคงปลอดภัย สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง 2.มีแนวทางรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ ไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง และหากเกิดปัญหาก็สามารถกลับมาดำเนินการตามปกติได้อย่างรวดเร็ว   3.มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลมาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ และให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ
     สำหรับขั้นตอนต่อไปนั้น ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ขณะนี้รอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายใน 1 ปี โดยในระหว่างนี้จะมีกฎหมายลูกออกมารองรับอีกหลายฉบับ เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ แนวทางการรายงานข้อมูล ฯลฯ ซึ่งจะมีความชัดเจนและช่วยลดความกังวลของประชาชน
     นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอีกฉบับที่น่าสนใจและประชาชนควรรู้ คือ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ... ที่ สนช.พิจารณาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันแต่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง กฎหมายฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิ์และข้อมูลส่วนบุคคลที่หลายคนกังวล จึงถือเป็นสัญญาณที่ดีของประเทศไทยเพื่อก้าวไปสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงและรับมือกับภัยคุกคาม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบันและอนาคต 
    ด้านนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวถึง พ.ร.บ.ไซเบอร์ว่า เป็นการอ้างเรื่องความมั่นคง โดยเฉพาะความมั่นคงของผู้นำทหารเข้ามาปิดปากประชาชน เข้ามาละเมิดสิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการแสดงออกซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังละเมิดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของประชาชน ภายใต้ พ.ร.บ.ไซเบอร์ฉบับนี้ ข้อมูลที่เป็นส่วนตัวของเราอาจจะถูกภาครัฐเอาไปได้ ถ้าเกิดเขาเห็นว่าเราเป็นภัยต่อความมั่นคง พรรคอนาคตใหม่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายต่างๆ ที่ออกมาเพื่อปิดปาก ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพประชาชน ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.ไซเบอร์ตัวนี้  หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก่อนหน้านี้ หากพรรคอนาคตใหม่มีอำนาจจะเข้าไปแก้ไขทันที.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"