อย่าเร่งประมูล5จี


เพิ่มเพื่อน    

   งานโมบาย เวิลด์ คองเกรส (MWC) มหกรรมแสดงสินค้าสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไฮเทคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเพิ่งจบไปหมาดๆ เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา สิ่งที่เป็นไฮไลต์น่าติดตามคงหนีไม่พ้นเรื่องเทคโนโลยีสื่อสารยุค 5จี
    เพราะในปี 2019 ถือเป็นปีแห่งการทดลองใช้บริการ 5 จีในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น ที่ถือเป็นประเทศหัวหอกในการผลักดันการให้บริการเทคโนโลยี 5 จี
    ส่งผลให้ภายในงานมีการนำเทคโนโลยี 5 จี มานำเสนอด้วยความน่าสนใจ โดยเฉพาะการแสดงให้เห็นถึงการนำเอา 5 จีไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้ผลิตสมาร์ทโฟนยักษ์ใหญ่ของโลก อย่าง หัวเว่ย ซัมซุง เสี่ยวหมี่ และอีกหลากหลายค่าย ก็นำเสนอโทรศัพท์มือถือรุ่นที่รองรับ 5 จี ออกมาอย่างมากมาย
    แต่การผลักดันเทคโนโลยี 5 จี ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ตัวอุปกรณ์รับสัญญาณ อุปสรรคใหญ่ของมันก็คือจำนวนเงินลงทุนของผู้ให้บริการโครงข่ายมากกว่า เพราะว่าการจะเปิดบริการ 5 จีนั้น ต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก ซึ่ง GSMA สมาคมผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือจากทั่วโลกได้เปิดเผยว่า การเดินหน้า  5 จี ในยุโรปต้องใช้เงินลงทุนราว 5.68 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 17 ล้านล้านบาท) เลยทีเดียว
    จะเห็นได้ว่าการลงทุนโครงข่ายนั้นจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล ซึ่งค่าคลื่นและจำนวนคลื่นที่จัดสรรให้จะต้องมีเพียงพอต่อการใช้งานนั้น ก็เป็นความท้าทายว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดการอย่างไร เพราะโจทย์การใช้งานของ 5 จี นั้นแตกต่างกับของยุค 3 จี และ 4 จี ค่อนข้างมาก เนื่องจาก 5 จี มันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานท่องอินเทอร์เน็ต หรือแอปพลิเคชัน แต่มันถูกออกแบบมาทำงานกับอุปกรณ์ IOT ซึ่งแน่นอนในเวลานี้ถามว่าจะเอา 5 จี มาใช้ทำอะไรที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ ยังตอบไม่ได้เลย เพราะมันเป็นเรื่องที่นอกเหนือการใช้งานของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนปกติ
    มันเป็นเรื่องของการสร้างระบบอัจฉริยะต่างๆ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ, การผ่าตัดทางไกล, หรือระบบการบริหารจัดการเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่ของจำเป็นที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ ดังนั้นผู้ให้บริการจะต้องดูว่า การลงทุนนั้นคุ้มค่าหรือไม่
    จึงไม่แปลกใจเลยที่โอเปอเรเตอร์ทุกเจ้ามองว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะประมูลคลื่นในเวลานี้ และกฎหมายของ กสทช.เองก็เป็นกับดักในเรื่องต้องหารายได้เข้ารัฐมากที่สุด ทำให้ยังไม่มีความแน่นอนเลยว่า ราคาคลื่นจะแพงมาก แพงน้อยขนาดไหน และที่สำคัญจะต้องดู Use case การใช้งานจริงๆ ว่ามันทำอะไรได้บ้าง และผู้ใช้งานยินดีจะจ่ายเงินเพื่อใช้มันหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้รออีก 2-3 ปีก็ยังไม่สาย และ 4จี ในปัจจุบันก็ตอบสนองความต้องการการใช้งานในเวลานี้ได้หมดแล้ว
    โดยในกลุ่มประเทศที่ได้นำร่อง 5 จี นั้น ที่เขาเดินหน้าไปได้ เพราะเขาไม่ได้ตั้งต้นกระบวนการแบบเรา เนื่องจากเขารู้ดีว่าหากเก็บต้นทุนค่าคลื่นแพงเกินไป 5 จี ก็ไม่เกิด ดังนั้นในหลายประเทศชั้นนำก็เลือกที่จะแจกคลื่นฟรีๆ หรือประมูลในราคาที่ต่ำมาก เพื่อไปให้เอกชนทดลองทำบริการ 
    ดังนั้น การที่ กสทช.จะเร่งนำคลื่นออก 700 MHZ ออกมาประมูลในช่วงนี้ และสร้างเงื่อนไขให้ไปเกี่ยวพันกับธุรกิจทีวีดิจิทัล เป็นเหมือนการเอาสองเรื่องมารวมกัน ซึ่งมันไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ทั้งสองอุตสาหกรรมได้ ยิ่งล่าสุดการจะขอรัฐบาลใช้ ม.44 ขยายระยะเวลาการชำระค่าใบอนุญาต คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ออกไปจากกำหนดระยะเวลาเดิมเพื่อจะได้มีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับเตรียมพร้อมการประมูลคลื่นความถี่ 5 จี มันไม่ได้ช่วยอะไรเลย แม้จะยอมรับว่าเอกชนอยากได้ แต่ถามว่า อยากจะรีบประมูลคลื่นหรือไม่ ก็คงไม่รีบ เพราะก็คงไม่อยากจะเสียเงินเอาคลื่นมากองไว้แล้วไม่ได้ใช้งาน 
    ซึ่งสิ่งที่ กสทช.ควรทำ คือการวางโรดแมป 5 จี ให้ชัดเจน วางแผนจัดสรรการใช้คลื่นทั้งระบบ และตั้งราคาประมูลเริ่มต้น ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเห็นภาพที่ชัดเจน และ กสทช.ควรทำหน้าที่ในการเป็นผู้กำกับดูแล วางกฎ กติกาที่เหมาะสมในการช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งในเรื่องต้นทุน การวางโครงสร้างพื้นฐาน หากชัดเจนแล้ว กรณีที่ 3 เจ้ามือถือไม่ร่วมประมูล ก็ลองดูยังมีเอกชนไทยอีกหลายบริษัทที่มีทุนพร้อมที่จะเข้ามาสู่ตลาดนี้เช่นกัน.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"