อ่านด่วน!'วิษณุ'อธิบายละเอียดยิบปมจนท.รัฐ'บิ๊กตู่'


เพิ่มเพื่อน    

4 มี.ค.62- นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อโต้แย้งจากหลายฝ่ายเกี่ยวกับสถานะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่ว่า ตนจะไม่ไปตอบโต้อะไร แต่จะอธิบายคำว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐมี 2 ความหมายที่ใช้ในรัฐธรรมนูญคือ 1.เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นความหมายทั่วไป และ2.เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นความหมายตามมาตรา 98 (15) สำหรับความหมายทั่วไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นตนเอง หรือนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หรือนายกรัฐมนตรี ฯลฯ ล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ 

นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่เคยบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ท่านเป็นตามมาตรา 98 (12)  ดังนั้น เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตนไม่เคยพูดกลับไปกลับมา ไม่เคยตอบว่าวันหนึ่งนายกฯเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาอีกวันหนึ่งบอกว่าไม่ได้เป็น เพราะถึงอย่างไรนายกฯก็เป็น ท่านเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ เพราะเป็นนายกฯ ถ้านายกฯไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วจะเป็นอะไร การที่มีคนบอกว่าถ้าอย่างนั้นนายกฯลงสมัครหรือรับการเสนอชื่อไม่ได้นั้น มันไม่ใช่ รัฐธรรมนูญเขายกเว้นเพราะท่านเป็นข้าราชการการเมือง ที่ตนบอกว่านายกฯ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในความหมายของการเป็นนายกฯเพราะเป็นข้าราชการการเมือง ถึงอย่างไรก็ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

“แต่บังเอิญรัฐธรรมนูญมาตรา 98(12) ระบุไว้ว่า คนที่จะสมัครส.ส. หรือ ส.ว.หรือ ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ จะต้องไม่ขัดกับมาตรา 98 (12)  ที่เขียนว่าจะต้องไม่เป็นข้าราชการ ยกเว้นข้าราชการการเมือง ซึ่งนายกฯเป็นข้าราชการการเมือง เพราะฉะนั้นจึงได้รับการยกเว้นว่าสามารถเสนอชื่อนายกฯคนปัจจุบันไปเป็นว่าที่นายกฯได้ แม้จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรานี้”

นายวิษณุ กล่าวว่า ปัญหาต่อไปคือ กรณีตามมาตรา 98 (15) ซึ่งเขียนว่าจะต้องไม่เป็นลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งนายกฯเมื่อไปเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 98 (12) แล้ว ก็ไม่ต้องมาพูดเรื่องตามมาตรา 98 (15) ปัญหาก็จะมีเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้า คสช.อีก ว่าหัวหน้า คสช.เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่ ซึ่งตนได้ตอบไปแล้วว่าในความคิดของตน มาตรา 98 (15) ระบุไว้แล้วว่าจะต้องไม่เป็นพนักงาน ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งเรื่องนี้เคยมีคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2543 วินิจฉัยว่า คำว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐในมาตรา 98 (15) นี้ไม่ได้หมายความถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วๆ ไปทั้งหลาย เพราะเจ้าหน้าที่ทั่วไปนั้น ไปอยู่ในวงเล็บอื่นหมดแล้ว

“ในส่วนของตำแหน่งใน คสช. ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองก็ไม่ได้รับการคุ้มครอง ก็อาจจะคิดกันว่าเมื่อไม่ได้เป็นข้าราชการก็ไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่จะมาติดตรงมาตรา 98 (15) ซึ่งก็ต้องมาตีความกันในมาตรานี้ คราวนี้สุดแล้วแต่จะไปแปลหรือไม่ตีความกัน ถ้าใครสงสัยก็ส่งให้ กกต.หรือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ผมจะตอบถูกหรือผิดไม่แปลก แต่ไม่สามารถจะถือเป็นคำวินิจฉัยได้”

รองนายกฯ กล่าวว่า หลังจาก กกต.ตอบมาที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ให้พล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นปราศรัยหรือช่วยผู้สมัครหาเสียงได้ นายกฯ ต้องระมัดระวังคือ ต้องไปช่วยนอกเวลาราชการ และต้องระวังเนื้อหาสาระในการพูด ไม่ให้  หรือไม่สัญญาว่าจะให้  ไม่ขู่เข็ญ  ไม่พาดพิง  ไม่ใส่ร้ายพรรคอื่น นอกจากนี้ ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับมาตรา 78 ซึ่งสำคัญ ที่บอกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องวางตัวเป็นกลาง ซึ่งนายกฯเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องระมัดระวังในความเป็นกลาง จะต้องไม่ใช้ตำแหน่งของตนในการที่จะทำให้ใครได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ซึ่งต้องระวังเอาเอง ทั้งเรื่องการใช้เวลา การใช้ทรัพย์สิน การใช้คน และการใช้สถานที่

ถามว่า หากนายกฯจะอ้างว่าไปช่วยหาเสียงนอกเวลาราชการ แต่ความเป็นนายกฯยังคงอยู่ เพราะยังสามารถทำงานหรือแม้แต่การโยกย้ายใคร ก็ยังทำได้อยู่ นายวิษณุ กล่าวว่า กกต.เขาตอบมาว่าได้ จะให้ตนทำอย่างไร ก็ต้องระวังเอาเอง เมื่อถามว่า พูดถึงนโยบายได้ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้าพูดให้เป็นก็ได้ อย่าไปแนะเขาเลย

ซักอีกว่า การใช้คนโดยเฉพาะทีมรักษาความปลอดภัยนายกฯ สามารถลงพื้นที่ไปกับนายกฯ เพื่อดูแลความปลอดภัยได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ในวิธีปฏิบัติที่ผ่านมาในอดีต เขาจะยอมให้กับ รปภ. แต่คนอื่นไม่ได้ เพราะ รปภ.ต้องคุ้มกันนายกฯตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าหยุดเสาร์ อาทิตย์ หรือกลางค่ำ กลางคืนที่นายกฯจะต้องไปงานอะไรต่าง ๆ รปภ.ต้องอยู่รักษาความปลอดภัยเพราะนอกเวลายังเป็นนายกฯอยู่ ถือเป็นความจำเป็นที่ยังต้องติดตัวนายกฯ  จะในเครื่องแบบหรือนอกเครื่องแบบอะไรก็ไปจัดการกันเอาเอง ส่วนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ถ้าจะต้องไป ก็ไปเพียงเท่าที่มาตรฐานเดียวกับที่ไปเวลาที่คนอื่นปราศรัย

เมื่อถามว่า ทีมรักษาความปลอดภัยนายกฯชุดปัจจุบันสามารถลงพื้นที่ไปรักษาความปลอดภัยให้นายกฯได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าสามารถทำได้ เพราะวิธีปฏิบัติกับนายกฯหรือรัฐมนตรีในอดีตที่ผ่านมาเขาก็ใช้กัน เรื่องนี้ไม่มีกฎหมายระบุไว้ แต่มีหน้าที่ของ รปภ.ที่จะต้องดูแลนายกฯตลอดเวลา นายกฯลาป่วยอยู่โรงพยาบาลต้องไปเฝ้า

อถามว่า นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จะไปร้องกกต.ในประเด็นเหล่านี้ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เป็นไร ก็เมื่อรู้อยู่แล้วว่ามีคนจ้องจับผิด ก็ต้องระวังเอาเองให้ดีก็แล้วกัน  ส่วนรถประจำตำแหน่งใช้ไม่ได้อยู่แล้ว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"