9ปี"ปิดทองฯ"จากแนวพระราชดำริ สู่วิถีพัฒนาจุลภาค-ตอบโจทย์ชนบท


เพิ่มเพื่อน    

 

นับจากปี2553 สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ที่เดิมมีชื่อเดิม ว่ามูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้ก้าวเข้ามาแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ โดยน้อมนำหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และวิธีการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  มาใช้ดำเนินงาน จนมาถึงปี 2562 สถาบันวันนี้" ปิดทองหลังพระ" ได้เดินทางในการดำเนินงานมาครบ 9ปี แล้ว จึงถือว่าเป็นจังหวะสำคัญ ที่จะสรุปการทำงานที่ผ่านมา ก่อนจะก้าวไปสู่การดำเนินงานในปีที่ 10 

.ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ แถลงผลงาน9ปีของปิดทอง

 

ในโอกาสนี้ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้แถลงผลการดำเนินของสถาบันฯ โดยกล่าวว่า ผลงาน9ปี ถือว่าน่าพอใจระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาแหล่งน้ำและการส่งเสริมอาชีพราษฎร ถือว่าทำได้ดีพอสมควร โดยปิดทองได้ใช้เงินลวทุน ดำเนินการพื้นที่ต้นแบบในจังหวัดน่านเป็นแห่งแรก ในปัจจุบันพื้นที่ต้นแบบได้ขยายไปยังทุกภาค ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุทัยธานี เพชรบุรี และสามจังหวัดชายแดนใต้   ใช้เงินทุนไป 961.6 ล้านบาท ทำให้เกิดรายได้ทางตรง 2,308 ล้านบาท คิดเป็น 2.4 เท่าของเงินลงทุน และเท่ากับเฉลี่ยครัวเรือนละ 508,818 บาท  ด้านแหล่งน้ำ  มีประชาชนได้รับน้ำ 79,022 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 275,107 ไร่ด้านอาชีพ   มีประชาชนเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพ 4,536 ครัวเรือน   หรือเฉลี่ยแล้วใช้เงินลงทุนพัฒนาพื้นที่ 3,000 บาท/ไร่แต่ได้ผลตอบแทนกลับมา79,022 บาท ต่อครัวเรือน

 

"ทุกจังหวัดใช่ว่าจะสำเร็จ แยกตามรายจังหวัด เช่น น่านลงทุน254.8ล้านบาท แต่มีรายได้กลับ1,505.69 หรือเท่ากับ5.9เท่าของเงินที่ลงทุนไป  หรือที่อุดรธานี ลงทุน 56.75ล้าน แต่มีรายได้กลับมา 442.62 ล้านบาท หรือเท่ากับ6เท่าของเงินลงทุน แต่สำหรับกาฬสินธุ์ ลงทุนไป447 ล้านบาท แต่มีรายได้กลับมาแค่ 145.6 ล้านบาท เพราะมีปัญหาเรื่องดินที่เป็นดินทรายไม่สามารถอุ้มเก็บน้ำได้  ต้องใช้เวลาฟื้นฟูไม่ต่ำกว่า5ปี รวมทั้งเพชรบุรีด้วยที่ลงทุนไป 19ล้าน แต่มีรายได้กลับมา 9.38ล้าน ส่วน 3จังหวัดภาคใต้ มีผลที่ดีพอสมควร มีรายได้34.98ล้าน แต่เราลงทุนไป 30ล้าน " ม.ร.ว.ดิศนัดดากล่าว

  

นอกจากนี้ ปิดทองยังให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนา โดยมีการส่งเสริมให้ประชาชนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มให้เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งในปัจจุบันทุกพื้นที่เกิดกองทุน วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์รวม 70 กลุ่ม มีเงินทุนหมุนเวียน ทรัพย์สินรวมมูลค่า 15.78 ล้านบาท  ผลจากการส่งเสริมความรู้ ทำให้เกิดอาชีพทางการเกษตรใหม่ๆ และประชาชนจำนวนมากสามารถต่อยอด พัฒนาการทำเกษตร ไปเป็นพืชและสัตว์เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงได้ เช่น ทุเรียนคุณภาพและแพะพันธุ์พระราชทานในสามจังหวัดชายแดนใต้ ผักปลอดภัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ การแปรรูปผลผลิต ภายใต้ตราสินค้า “ภูธารา” ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น ขณะที่มีพื้นที่พัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมแล้ว เช่น เพชรบุรีและอุทัยธานี 

 

"เป็นที่น่ายินดี ที่ผลการศึกษาการรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต้นแบบ 5 จังหวัด โดยคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ระบุว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อผลที่เกิดขึ้นในระดับสูงมากทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการทำงานของปิดทองหลังพระฯ ประกอบด้วย จังหวัดน่าน (2.24) อุดรธานี (2.53) เพชรบุรี (2.39) กาฬสินธุ์  (2.62) และอุทัยธานี (2.39)  จากคะแนนเต็ม 3"

ม.ร.ว.ดิศนัดดา กล่าวอีกว่า อีกจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้การทำงานของปิดทอง ฯได้ผลมากกว่าช่วงต้นๆก็คือ การร่วมมือทำงานใกล้ชิดกับส่วนราชการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำและผลผลิต แต่ปีที่ผ่านมาเกิดกระแสการร่วมงานกับเอกชนที่ชัดเจน มีภาคธุรกิจแสดงความสนใจเข้ามาร่วมกับปิดทองหลังพระฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับว่าสอดคล้องกับแนวพระราโชบาย สืบสาน รักษา ต่อยอด เป็นอย่างยิ่ง

สำหรับการดำเนินงานในช่วงปี 2561 นั้น พบว่าครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2561 การดำเนินการของปิดทองที่ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งสถาบัน การศึกษา ภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ ทั้ง 7 พื้นที่ 9 จังหวัด มีรายได้เพิ่มขึ้นรวม 113.7 ล้านบาท 

"ในอนาคต ก้าวสู่ปีที่ 10 นอกจากการเพิ่มเติมความเข้มแข็งให้แก่พื้นที่ต้นแบบต่างๆ นี้แล้ว เรายังจะเพิ่มบทบาทในการนำแนวพระราชดำริไปพัฒนาชีวิตประชาชนในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาความมั่นคง เช่นในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีความรุนแรงและจังหวัดชายแดนเหนือที่เป็นแหล่งผ่านยาเสพติดเข้าสู่ประเทศ นอกจากนี้กำลังพิจารณาแผนการจัดตั้งศูนย์จัดการและส่งเสริมองค์ความรู้การพัฒนาตามแนวพระราชดำริอีกด้วย"ประธานสถาบันพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมปิดทองฯกล่าว

.เวทีเสวนา 

งานแถลงผลงานปิดทองฯ ยังได้เชิญ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พร้อมด้วย ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA  มาร่วมพูดคุยถึงทิศทางการพัฒนาในแง่มุมต่างๆ 

ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  ที่ยอมรับว่าหลักการเศรษฐกิจพอเพียง เหมาะกับการบริหารเศรษฐกิจประเทศ และแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่กำลังกัดเซาะระบบเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดี

โดยดร.วิรไท ผู้ว่าการแบงก์ชาติกล่าวถึงหลักการบริหารเศรษฐกิจของแบงก์ชาติ ขณะนี้ว่า ได้นำแนวทาง หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.  9ที่มีหลัก3ประการ คือ การมีเหตุมีผล การพอประมาณ และการสร้างภูมิคุ้มมาเป็นหลักในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ  โดยที่ไม่ใช่การประยุกต์   ซึ่งเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ มีความเปราะบาง ปัญหาที่สำคัญก็คือ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ที่เพิ่มสูงขึ้นรวดเร็วและมีจำนวนมาก  ปกติคนที่ก่อร่างสร้างตัวสมัยก่อนทำงานไปหนี้จะลดลงไปเรื่อย เป็นความยั่งยืนในบั้นปลายชีวิต แต่ตอนนี้ คนที่อายุมากแล้ว แต่หนี้กลับไม่ลด  หนี้เหล่านี้ ไม่ใช่หนี้สินทรัพย์ หรือเป็นหนี้เพือการลงทุนก่อร้างสร้างตัว แต่เป็นหนี้ที่เกิดจากการอุปโภค บริโภค ทั้งการท่องเที่ยว การซื้อของ ออกรถใหม่ ซื้อมอเตอร์ไซค์ใหม่ โทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ ด้วยเหตุนี้ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจึงเพิ่มเริ่มรวดเร็ว และ60% เป็นหนี้การอุปโภคบริโภค ในจำนวนนี้ 20% เป็นหนี้เสีย ปัญหาหนี้ดังกล่าวเห็นได้ชัดในภาคเกษตร คนอายุ40-50ปี ยังมีหนี้สูง  กู้ไปเรื่อยๆเพื่อนำเงินกู้ใหม่มาชำระหนี้เก่า  กู้เเพื่อเอาเงินใหม่ไปจ่ายดอกเบี้่ย ซึ่งป็นการกู้ต่อเนื่อง หนี้เหล่านี้เห็นได้จากยอดสินเชื่ออุปโภค บริโภ ปัญหาดังกล่าวจะกลายเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศในระยะยาว ที่ไม่มีทางออก ถ้าเราไม่ทำอะไร 

 

  ด้านการแก้ปัญหาหนี้ตรัวเรือน ดร.วิรไท กล่าวว่า ทั้งหลักการมีเหตุผล หลักการพอเพียง และภูมิคุ้มกัน ขอในหลวงร.9  สามารถนำมาใช้ได้หมด   ซึ่งตามหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน ไม่มีทางลัด การแก้ปัญหาต้องแก้ด้วยกลไกเชิงสร้างระบบ เช่น ความไม่มั่นคงการออม หนี้ครัวเรือน ที่เป็นปัญหาระดับประเทศ เศรษฐกิจดี แต่คนไม่จับจ่าย เนื่องจาก มีภาระหนี้สินที่ต้องไปชำระ หรือคนที่ตอนทำงานใหม่ๆเงินเดือนอาจไม่เยอะ แต่พอทำไปนานๆเงินเดือนเยอะขึ้น กลับไม่มีเงินออม และมีภาระหนี้   หนี้ครัวเรือนจำนวนมากจึงยังหาทางออกไมได้  ซึ่งการแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายมหภาค ทั้งการพักชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย หรือยืดระเวลาเวลาหนี้ ก็แก้ปัญหา เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพวกที่เป็นหนี้ไม่ได้  ดังนั้น วิธีการแก้ต้องแก้ด้วยวิธีระดับจุลภาค ไม่ใช่มหภาค

 

โดยเฉพาะภาคเกษตรผู้ว่าฯแบงก์ชาติ บอกว่า มีความซับซ้อนมาก การแก้ปัญหาแบบมหภาค อาจช่วยบรรเทาปัญหาได้ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ทำให้เราต้องหันมาดูบริบทของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งเศรษฐกิจไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ต้องมาดูที่ข้อต่อต่างๆในระบบ ภาคเกษตรของเรา มีปัญหาเรื่องรายได้ไม่ดีมาตลอด พบว่าผลผลิตคตอบแทนต่อพื้นที่ของไทยยังอยู่ในอันดับท้ายๆในอาเซียน  อยู่เหนือเพียงพม่าเท่านั้น ซึ่งเป็นโจทย์ที่ใช้หลักบริหารมหภาคมาแก้ไม่ได้ แต่ ต้องเข้าไปดูรายละเอียด เช่น เรามีต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง มากกว่าประเทศอื่นหรือไม่  อาจต้องแนะนำให้เกษตกรหันไปทำเกษตรเชิงปราณีตแทน นาแปลงใหญ่  ในพื้นที่เล็กกว่าเดิม แต่สามารถลดต้นทุนแต่ให้ผลตอบแทนต่อพื้นที่มากกว่าเดิม จะเป็นการดีกว่าหรือไม่  

 

"ไม่มีนโยบายมหภาคใดที่จะแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรได้เบ็ดเสร็จ หรือใช้นโยบายแบบท็อปดาวน์ จากบนลงล่างมาแก้ โดยไม่ดูปัญหาประชาชน ไม่มีนโยบายการเงินหรือหลักเศรษฐศาสตร์ใด  ที่แก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรได้โดยลำพัง ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน โดยเริ่มจากประชาชน เกษตรกร ภาครัฐ  แล้วเอาปัญหาเกษตรกรเป็นตัวตั้ง ซึ่งผมถือว่านโยบายปิดทองเดินมาถูกทางแล้ว การทำงานของปิดทอง ที่ทำตามแนวพระราชดำริ ถือว่าได้มีผลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนชนบท ให้รู้จักการมีเหตุผล รู้จักความพอเพียง และสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง ทั้งปัญหาหนี้ครัวเรือน  และจะเป็นกันชนไม่ให้เราได้รับผลกระทบจากความผันผวนของโลกภายนอกได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเบร็ทซืท ปัญหาอเมริกากับจีน หรือตอนนี้ก็คือ อินเดีย กับ ปากีสถาน ซึ่งโลกต่อไปจะมีปัญหาแบบนี้เยอะขึ้น ถ้าเราไม่มีภูมิคุ้มกัน เราก็จะได้รับผลกระทบ อีกทั้ง ต่อไปคนวัยทำงานของเราจะลดลง ดังนั้น คนที่ทำอยู่จะต้องเก่งขึ้น และทำให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น  การทำเกษตรแบบไมโคร หรือจุลภาคน่าจะเป็นคำตอบ"

ด้านดร.ปรเมธี ปลัด พม.นำเสนอปัญหาของตนในวัยเกษียณว่า ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว แต่ผู้สูงอายุเหล่านี้กลับไม่มีเงินออม หรือมีเงินออมในระดับต่ำ  และแบงก์ชาติยังบอกว่าเรามีหนี้ครัวเรือนมาก ผู้สูงอายุที่เกษียณแล้ว แทนที่ไม่มีหนี้ กลับมีหนี้ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง นอกจากนี้ ถ้าดูจากนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืนน้อย ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มเงินในกระเป๋าของประชาชน แล้วอย่างนี้ จะสร้างความยั่งยืนได้อย่างไร ซึ่งการสร้างความยั่งยืน เป็นสิ่งที่หลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้ความสำคัญ

ส่วน ดร.อานนท์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีการใช้นโยบายระดับมหภาค ที่ค่อนข้างแข็งตัว ซึ่งอยากเห็นนโยบายมหภาค มาสู่ช่องทางการทำแบบจุลภาคได้ และมีความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่แก้ปัญหา เรื่องนี้ ต้องมีการพูดคุยระดับนโยบาย  การแก้ต้องใช้ 2ทางคือ จากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน อย่างเรื่องปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 จะแก้ระดับนโยบายไม่ได้ ต้องแก้ที่ชุมชนด้วย ส่วนการทำงานของปิดทองที่วัดผลจากรายได้ของจังหวัดหรือชุมชน เป็นการวัดผลเขิงเศรษฐกิจรายได้ แต่จริงๆในการทำงาน ยังมีความผันผวนของสิ่งแวดล้อมแทรกอยู่ ซึ่งควรมีการวัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และทางGISTDA สามารถเข้าไปช่วย โดยใช้ดาวเทียม เป็นเครื่องมือ 

  

จากซ้ายไปขวา -ดร.วิรไท สันติประภพ,ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล,ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงพม.และดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ผอ.GISTDA  มาร่วมเสวนา

 

นิทรรศการ แสดงผลสำเร็จการดำเนินงานของปิดทองในรอบ 9ปี (รหัสภาพ IMG0028 ) ที่แยกมาน่าจะเพราะไฟล์ใหญ่

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"