พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังชุดD เพิ่มศักยภาพแข่งขันหนุน"อีอีซี"


เพิ่มเพื่อน    

        "เพื่อให้การพัฒนาโครงการต่างๆ ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นไปตามกำหนด จะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ที่จะมาสานต่อ ถ้าเริ่มนับหนึ่งได้ ก็เชื่อว่าจะไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งสำคัญคือเราต้องทำให้มันนับหนึ่งให้ได้ ตอนนี้นับหนึ่งมาได้ครึ่งแล้ว ภายใน 3-6 เดือนมั่นใจว่าจะนับหนึ่งได้สำเร็จ"

 

      การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและทันสมัย ทั้งการขนส่งทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เกิดความสะดวกและรวดเร็ว ช่วยดึงดูดความสนใจของนักลงทุน ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดีมากขึ้นต่อไป

        การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ถือเป็นเป้าหมายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค หรือกลุ่มประเทศ CLMV ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมเป็นท่าเรือบก โดยใช้ระบบขนส่งทางรางเป็นโครงข่ายหลักในการขนส่ง

        จากการศึกษาข้อมูลของกระทรวงคมนาคม และการรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ พบว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นท่าเรือบก คือ จ.ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ขอนแก่น และนครสวรรค์ รวมทั้งพื้นที่ชายแดนที่ควรพัฒนาเป็นจุดรวบรวมและกระจายสินค้า คือ จ.หนองคาย มุกดาหาร เชียงราย ตาก สระแก้ว และสงขลา โดยเชื่อมโยงกันด้วยระบบโครงข่ายคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ

        ล่าสุด บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จํากัด    ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือชั้นนำในประเทศไทยเปิดท่าเทียบเรือชุด D อย่างเป็นทางการ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยท่าเทียบเรือชุดนี้จะติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control Technology) อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน พร้อมยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการขนส่งตู้สินค้าระดับโลก

        นายสตีเฟ่น แอชเวิร์ธ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย กล่าวว่า ฮัทชิสัน พอร์ท ได้ ขยายขีดความสามารถในการให้บริการยกขนตู้ สินค้า โดยการพัฒนาท่าเทียบเรือชุด D ท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมกับนำเข้าปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวน 3 คัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (Remote Control ElectricRubber Tyred Gantry Crane หรือ RCeRTGC) จำนวน 8 คัน จากบริษัท ZPMC หรือ Shanghai Zhenhua HeavyIndustry Co., Ltd.

        เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ติดตั้งระบบควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control) ที่ล้ำสมัย ซึ่งจะช่วยให้ท่าเทียบเรือชุด D ปฏิบัติงานได้ด้วยความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับเรือที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการได้ดีขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าขนาดใหญ่ทั้ง 3 คัน สามารถปฏิบัติงานยกขนตู้สินค้าให้กับเรือบรรทุกตู้สินค้าบนระวางได้กว้างถึง 24 แถว ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่ให้บริการในปัจจุบัน เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล(remote control) ทำให้ท่าเทียบเรือชุด D เป็นท่าเทียบเรือแห่งแรกของโลกที่ติดตั้งเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้การบริการของท่าเรือรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น

       

(ไพรินทร์ ชูโชติถาวร)

เพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน

        ทั้งนี้ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า การขนส่งสินค้าระบบรางที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ เมื่อมีโครงการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในท่าเทียบเรือชุด D นั้น จะช่วยยกระดับการให้บริการขนส่งและบริหารจัดการระบบคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องต่อนโยบายประเทศไทย 4.0 โมเดลใหม่ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมนั้น

        นอกจากนี้ ยังสอดรับกับร่างยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม มุ่งพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ เวลา 20 ปี ระหว่างปี พ.ศ.2560-2579 สอดคล้องต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาลที่ต้องการสร้างชาติที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยท่าเทียบเรือชุด D นั้น รองรับตู้สินค้าได้ 3.5 ล้านทีอียูต่อปี และจะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าของท่าเรือแหลมฉบังได้อีก 40% และเมื่อเปิดให้บริการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ด้วย จะทำให้ท่าเรือแหลมฉบังรองรับตู้สินค้าผ่านหน้าท่าจาก 8 ล้านทีอียู เพิ่มขึ้นเป็น 18 ล้านทีอียู และจะทำให้ท่าเรือแหลมฉบังกลายเป็นท่าเรือระดับโลกด้วย

        ดังนั้น จะเห็นได้ว่าท่าเทียบเรือดังกล่าวนับเป็นพื้นฐานคมนาคมขนส่งที่สำคัญก่อให้เกิดการเชื่อมโยงฐานการผลิต แหล่งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นประตูการค้าเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบการขนส่งขั้นพื้นฐานต่างๆ อาทิโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โครงการรถไฟทางคู่จากแหล่งอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ที่เชื่อมสู่ท่าเรือแหลมฉบัง มาบตาพุดและสัตหีบ

        "เพื่อให้การพัฒนาโครงการต่างๆ ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นไปตามกำหนด จะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ที่จะมาสานต่อ ถ้าเริ่มนับหนึ่งได้ ก็เชื่อว่าจะไม่ใช่เรื่องยาก  สิ่งสำคัญคือเราต้องทำให้มันนับหนึ่งให้ได้ ตอนนี้นับหนึ่งมาได้ครึ่งแล้ว ภายใน 3-6 เดือน มั่นใจว่าจะนับหนึ่งได้สำเร็จ" นายไพรินทร์กล่าว

(อาณัติ มัชฌิมา)

แนะยกระดับท่าเรือสู่มาตรฐานสากล

        นายอาณัติ มัชฌิมา ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด กล่าวว่า ท่าเทียบเรือชุด D มีความยาวหน้าท่ารวมทั้งสิ้น 1,700 เมตร ประกอบไปด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวน 17 คัน และมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางจำนวน 43 คัน โดยอุปกรณ์ทั้งหมดใช้เทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล เพิ่มความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ราว 3.5 ล้านทีอียูต่อปี (หน่วยนับตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต) ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในการขนส่งสินค้าที่ ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เพิ่มขึ้นจาก 34% เป็น 50% ในปี 2566-67 สามารถรองรับตู้สินค้าได้ทั้งสิ้น 13 ล้านทีอียู มั่นใจสามารถดันอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในภาพรวมโต 4-5% ต่อปี

        "ธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือ ถ้ามองย้อนหลังพบว่า โตต่อเนื่องแม้จะมีปัจจัยลบมากระทบ แต่ก็เป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ   เพราะการที่เราจะลงทุนสร้างโรงงาน หรือผลิตสินค้านั้น  หมายความว่าเราได้มีการศึกษาดีแล้ว สามารถที่จะทำได้ต่อเนื่อง แต่บางช่วงจังหวะอาจจะติดขัดบ้าง เช่น เรื่องน้ำท่วม สิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้ธุรกิจติดขัด แต่เมื่อได้มีการเซตอัพระบบใหม่ไทยก็จะดีขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์ของไทยหรือสินค้าของไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก" นายอาณัติกล่าว

 

สิทธิประโยชน์ดึงลงทุน

        นายอาณัติ กล่าวว่า เมื่อพูดถึงอีอีซี ก็ต้องกลับไปดูสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับ ถือว่าเป็นตัวจุดประกายที่จะทำให้การประกอบกิจการต่างๆ สามารถที่จะดำเนินการ อย่างราบรื่นต่อเนื่อง รวมไปถึงการปรับการทำงานของภาครัฐ หรือระเบียบประกาศทางราชการ ก็ช่วยทำให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น อาทิ การปรับเปลี่ยนระบบศุลกากร ระเบียบของกระทรวง ทบวงต่างๆ ที่ซับซ้อน นั้นเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะมองว่าต้องเอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการทำงาน เนื่องจากการขนสินค้าถ่ายลำต้องแข่งกับเวลา ดังนั้นถ้าสามารถยกระดับการทำงานให้รวดเร็วได้ จะทำให้ตัววัดค่าของเวิลด์แบงก์ดีขึ้น นักลงทุนก็จะเข้ามาและจะทำให้ประเทศเกิดผลมวลรวมของการใช้ประโยชน์มากขึ้น

        "บริษัทศึกษาข้อมูลของท่าเรือแหลมฉบังมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งมีความมั่นใจระดับหนึ่งที่จะนำเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาให้บริการที่ท่าเรือแหลมฉบัง แต่ก็ห่วงใย อยากเห็นไทยรีบปรับตัว และเร่งพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้ได้มาตรฐานท่าเรือขนส่งสินค้าระดับสากลได้ในเร็ววัน มิเช่นนั้นโอกาสที่เกิดขึ้นตอนนี้จะตกเป็นของประเทศสมาชิกอาเซียน" นายอาณัติกล่าว

 

ท่าเรือประตูของประเทศ

        นายอาณัติ กล่าวว่า ธุรกิจที่ดำเนินการเกี่ยวกับถ้าเทียบเรือนั้น มีหน้าที่หลักสำคัญคือเป็นประตูของประเทศ ดังนั้นภาระหลักที่ผู้ประกอบการในแหลมฉบังต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลา ว่า ทำยังไงถึงจะทำให้ประเทศสามารถขนถ่ายสินค้าอย่างดีมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจในประเทศ และรองรับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมองว่าทุกคนอยากที่จะพัฒนา

        ดังนั้น ฮัทชิสันได้มองเห็นว่าการขนส่งสินค้าทางเรือจะต้องใหญ่ขึ้น การที่สร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ ต้องสั่งเครนขนาดที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันในโลกมาใช้ในการรองรับเรือที่จะสามารถเพิ่มขนาดใหญ่ เพื่อให้ชาวโลกได้เห็นถึงศักยภาพของเรา

(ร.ต.ต.มนตรี ฤกษ์จำเนียร)

        ร.ต.ต.มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง หรือ ทลฉ. รักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย หรือ กทท. กล่าวว่า สำหรับท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือน้ำลึกหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ที่มีโครงการพัฒนาต่างๆ ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้มีการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ที่ได้เปิดให้บริการแล้ว รวมถึงโครงการพัฒนาต่างๆ ที่พร้อมรองรับการพัฒนาสู่มาตรฐานการเป็นท่าเรือระดับโลก ได้แก่ โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง และโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) อีกด้วย รวมถึงโครงการพัฒนาต่างๆ ที่พร้อมรองรับการพัฒนาสู่มาตรฐานการเป็นท่าเรือระดับโลก ได้แก่ โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3

        ทั้งนี้ ในปี 2560 บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท (ประเทศไทย) ได้ทำการขนถ่ายตู้สินค้าครบ 20 ล้านทีอียู นับว่าเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือที่ขนส่งสินค้าจำนวนมากที่สุดในท่าเรือแหลมฉบัง ดังนั้นโครงการท่าเทียบเรือชุด D นี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบังให้สามารถรองรับตู้สินค้าได้เพิ่มขึ้นเป็น 11.1 ล้านทีอียู/ปี ซึ่งสอดคล้องต่อวิสัยทัศน์การท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่มุ่งสู่มาตรฐานท่าเรือชั้นนำระดับโลก ด้วยการให้บริการด้านโลจิสติกส์ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในปี 2573 อย่างรอบด้าน โดยท่าเรือแหลมฉบังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาท่าเรือแหลมบังให้เป็น World Class Port โดยเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นท่าเรือที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย.

                                                        กัลยา ยืนยง  รายงาน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"