ทุกภาคส่วนร่วมจับมือ ขับเคลื่อนพัฒนาผู้สูงอายุ


เพิ่มเพื่อน    

(พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ)

       เพราะเรื่องของสังคมผู้สูงวัยเป็นเรื่องของทุกคน ล่าสุด พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีงานประกาศ “ระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุเพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่การเป็นสังคมสูงอายุที่มีความพร้อม โดยมีปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายปรเมธี วิมลศิริ, พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ นางไพรวรรณ พลวัน และผู้บริหาร 6 กระทรวงหลัก ภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่าย และคณะทูต พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมงานที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซนเตอร์แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

        พลเอกฉัตรชัย กล่าวปฐกถาในงานว่า เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพของผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมกันหันมาตระหนักถึงปัญหานี้ เพราะในอีก 2 ปีข้างหน้า (2564) จะมีผู้สูงอายุร้อยละ 20 ขณะที่ปี 2574 จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 28 ดังนั้นการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ยึดใช้หลักการที่ว่า “แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีความสุข” ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญดังกล่าวก็ได้ส่งต่อให้กับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายร่วมกับอีก 5 หน่วยงาน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

        “ผลกระทบสำคัญหากว่าเราไม่เตรียมพร้อมรับมือกับสังคมผู้สูงวัย ที่ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ คือปัญหาด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขาดแคลนวัยแรงงาน เนื่องจากมีแต่ผู้สูงวัยจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาสังคมและเศรษฐกิจควบคู่กันไป ที่สำคัญจะทำให้อีกประมาณ 15 ปี เราต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1.4-1.8 ล้านล้านบาท ในการดูแลสุขภาพให้กับทุกเพศทุกวัย ดังนั้นหากเราไม่สามารถเตรียมวางแผนรับมือสังคมอย่างสูงวัย ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าห่วงใย

        สำหรับการดำเนินงานของภาครัฐ ผ่านกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ที่ผ่านมานั้น เราได้ทำอะไรเพื่อผู้สูงอายุไปบ้างนั้น 1.การจัดระบบคุ้มครองและสวัสดิการให้กับข้าราชการบำนาญ หรือจัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนเป็นแบบขั้นบันได 2.ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.มีโรงเรียนผู้สูงอายุกว่า 1,000 แห่ง 4.ส่งเสริมให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สร้างเสริมสุขภาวะทั้งร่างกายและจิตใจที่ดีให้กับผู้สูงอายุ และจากการลงพื้นที่เยี่ยมชม ก็พบว่าคนสูงวัยมีสุขภาพที่ดี สามารถร้องรำทำเพลงได้ และยิ้มแย้มแจ่มใส สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมสะท้อนให้เห็นว่า ทั้ง 6 หน่วยงานที่กล่าวมานั้น ได้ช่วยกันทำงานเพื่อพัฒนาสุขภาพของผู้สูงวัย ที่เป็นไปด้วยความร่วมไม้ร่วมมือ รวมไปถึงองค์กรในท้องถิ่นที่เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้สูงวัยมากที่สุด ดังนั้นในอีก 2 ปีข้างหน้าที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว จึงจำเป็นต้องกระทั่งทุกภาคส่วนหันมาตระหนักว่า เรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย เป็นเรื่องของทุกคน ส่วนปัจจัยที่จะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องยึดหลักพอเพียง เข้มแข็ง และทุกภาคส่วนต้องช่วยกันทำให้โครงการเดินหน้า เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของนโยบาย ที่สำคัญก็เพื่อส่งต่อนโยบายดังกล่าวนี้ให้กับรัฐบาลหน้า เพื่อมาร่วมกันทำงานต่อ”

        พลเอกฉัตรชัย บอกอีกว่าสำหรับการบูรณาการทั้ง 6  หน่วยงานมีเอกภาพ และเดินไปในทิศทางเดียวกัน โดยเราพุ่งเป้าไปในพื้นที่ ซึ่งเรามีหน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งเรียกว่า พชอ. หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ ซึ่งในหน่วยงานดังกล่าวก็จะลงไปบูรณาการ และนำหน่วยงานจากภาคประชาสังคมเข้ามา ในบางพื้นที่ได้ทำงานร่วมกัน เช่น ดูแลสุขภาพร่วมกั้น มีภาคประชาชนเป็นอาสาสมัครเข้าไปดูแลผู้สูงอายุถึงบ้าน แนะนำให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมเพื่อสังคม เนื่องจากเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นถ้าจนก่อนแก่ก็ถือเป็นสิ่งที่ลำบาก เรื่องการออมต้องมาก่อน ดังนั้นระเบียบและนโยบายต่างๆ ต้องได้รับการแก้ไข และถ้าถามว่าวาระแห่งชาติดังกล่าวจะยั่งยืนหรือไม่ เราอยากทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ เนื่องจากมีนโยบายออกมาแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือความต่อเนื่อง ก็อยากให้รัฐบาลต่อไปได้ตระหนักเรื่องของสังคมผู้สูงวัย เพราะเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้เราวางไว้แล้ว 10 เรื่องที่ต้องทำ ถ้ารัฐบาลหน้าเข้ามา และจะออกนโยบายเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ แต่ต้องไม่ละเลยเรื่องของผู้สูงอายุ

(ไพรวรรณ พลวัน)

        ด้าน ผอ.ไพรวรรณ พลวัน อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ บอกว่า "งานหลักของเราคือวาระแห่งชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ที่จะต้องขับเคลื่อน และบูรณาการร่วมกับกระทรวง โดยมี 5 กระทรวงหลัก รวมถึงกระทรวง พม.ด้วย แต่เราต้องไปจับมือกับกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้อง กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ก็ต้องไปจับมือกัน ภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงคนที่จะต้องเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ 40-50 ปีที่จะต้องเตรียมตัว เช่น เรื่องการออม เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ ดังนั้นภาระแห่งชาติจึงไม่ใช่เรื่องของผู้สูงอายุอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของคนทุกวัย

        สำหรับนโยบายเด่น คือ การจ้างงานเพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้และมีอาชีพ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมั่นคงอยู่ได้ มันคือเรื่องสุขภาพ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขเองก็พยายาม เร่งดำเนินการเรื่องผู้สูงอายุติดเตียง ตรงนี้ก็จะมีอาสาสมัครชุมชนลงไปดูแล เราจะมีการอบรมเป็นคอร์สให้ เพื่อให้ลงไปดูแลผู้สูงอายุ ที่สำคัญและกำลังขับเคลื่อนคือเรื่องของ “ธนาคารเวลา” คือให้คนที่มีจิตอาสาลงไปดูแลผู้สูงอายุ เขาจะได้เห็นว่าผู้สูงวัยนั้นมีความเป็นอยู่อย่างไร ส่วนหนึ่งเพื่อให้อาสาสมัครได้เตรียมตัวเมื่อเข้าสู่ผู้สูงวัย ส่วนหนึ่งเวลาที่ไปดูแลผู้สูงอายุ เมื่อถึงเวลาก็จะมีคนมาดูแลเขาเช่นเดียวกัน ล่าสุดเราได้เริ่มไปเดือนตุลาคม มี 28 จังหวัด และ 12 ตำบลที่ทำไปแล้ว คนที่สมัครเข้ามาดูแลผู้สูงอายุมีทั้งหมด 2,000 คน และมีสูงอายุ 2,000 คนเช่นเดียวกัน นำร่องก่อนแม้จะเป็นเพียงแค่ทดลอง แต่คิดว่าจะดำเนินนโยบายเรื่องธนาคารเวลาไปในระยะยาว เช่นใน กทม.ก็เริ่มทำที่แฟลตดินแดง และก็จะขยายไปเขตยานนาวา โดยจับมือกับสมาคมโรตารี่ ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลคนที่มาและคนรับบริการ และก็มี สสส.ร่วมมือด้วย และคาดว่าจะขยายไปสู่เขตหนองแขมต่อไปค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"