แก้พฤติกรรมเด็กติดเค็ม ได้สุขภาพ ไม่เป็นโรคไต


เพิ่มเพื่อน    

 

 

      หากเคยเข้าใจว่า โรคไต จะเป็นได้กับผู้ใหญ่เท่านั้น คงต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่แล้ว เนื่องจากการล้างไตผ่านหน้าท้องและการฟอกเลือด มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับเด็กและคนหนุ่มสาววัยทำงาน  อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่จะช่วยปกป้องชีวิตของคนที่เรารักจากโรคไตได้ คือ หยุดพฤติกรรมการกินเค็ม ซึ่งแน่นอนว่า เราต้องรู้ว่า อาหาร ขนมขบเคี้ยว เครื่องปรุงรส หรือผลิตภัณฑ์ใดที่มีโซเดียมสูง จะได้หลีกเลี่ยงหรือกินปริมาณที่เหมาะสม  ลดความเสี่ยงเป็นโรคไตของเด็ก

                ในงานรวมพลังประกาศเจตนารมณ์”แก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเค็ม” และการจัดงานกิจกรรมวันไตโลกและสัปดาห์ลดการบริโภคเค็ม ประจำปี 2562 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส. เมื่อวันก่อน ซึ่ง นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศเป้าหมายลดการบริโภคเกลือและโซเดียมของประเทศไทย ต้องร่วมกันสู้ลดเค็มให้ได้ 30% ภายในปี 2568 สอดคล้องกับแนวทางขององค์การอนามัยโลก หากทำสำเร็จจะลดรายจ่ายทางสุขภาพหลายหมื่นล้านต่อปี อีกทั้งย้ำทุกภาคส่วนต้องประสานพลังลดเค็มในเด็กและเยาวชน บรรเทาความเสี่ยงเกิดโรคในอนาคต และสนับสนุนผู้ประกอบการปรับสูตรปริมาณโซเดียมลงให้ได้ 10% ในทุก ปี

 

พ.อ.นพ.อดิสรณ์ ลำเพาพงศ์ แพทย์โรคไตในเด็ก 

 

                พ..นพ.อดิสรณ์ ลำเพาพงศ์ คณะกรรมการบริหาร สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และแพทย์โรคไตในเด็ก กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนไทย 22 ล้านคน ป่วยเป็นโรคสัมพันธ์กับการกินเค็ม และมีผู้ใหญ่เป็นโรคไต ล้านคน  ผู้ป่วยกว่า แสนคน ต้องรักษาด้วยการฟอกเลือดและล้างไตผ่านหน้าท้อง เหตุหลักเกิดภาวะไตวายเรื้อรังจากเบาหวานและความดันโลหิตสูง แต่ละปีมีคนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่ม 15%   การกินเค็มต่อเนื่องก่อโรคความดันโลหิตสูง และเสี่ยงเกิดโรคไตในอนาคต หากป้องกันสามารถชะลอความเสื่อมของไต

                “ โรคไตเป็นได้ตั้งแต่เด็กจนผู้ใหญ่ ช่วงวัยที่พบมากอายุ 40-50 ปี โรคไตในเด็ก นอกจากมีสาเหตุจากพิการแต่กำเนิด ปัจจุบันยังมาจากพฤติกรรมการกิน ซึ่งมีเด็กล้างไตและฟอกเลือดราว 1,000 ราย ซึ่งผู้ปกครองต้องสังเกตอาการนำ เช่น อาการบวม ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะสีเข้มมีฟองหรือมีเลือดปน ต้องพบแพทย์วินิจฉัย   แนวโน้มในไทยพบเด็กป่วยโรคไตมากขึ้น  เหตุกินเค็ม ติดรสเค็มแต่เล็ก ปัญหามาจากผู้ปกครองกินเค็มหรือนิยมใช้ซอสปรุงรสในข้าวต้ม โจ๊ก    ผู้ใหญ่กินเค็มเกิน เท่า แต่เด็กกินเค็มเกินเกือบ เท่า การกินเกลือเยอะส่งผลเป็นความดันโลหิตสูงตั้งแต่อายุไม่มาก อีกทั้งเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน  เพราะแคลเซียมสลาย รวมถึงเมื่อเด็กกินเค็มเกิน จะหิวน้ำ มีการดื่มน้ำหวานทำให้เกิดโรคอ้วนลงพุง “  แพทย์โรคไตในเด็ก กล่าว และยืนยันติดรสเค็มแก้ได้ เมื่อลดเค็ม ต่อมรับรสที่ลิ้นใช้เวลาปรับ2สัปดาห์ก็คุ้นกับอาหารรสชาติปกติ

                หนึ่งในภาคีเครือข่ายสำคัญสู้ไม่ถอยให้มีมาตรการลดเค็มในไทย คือ เครือข่ายลดการบริโภคเค็ม ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า รัฐบาลต้องมีมาตรการหลายๆ อย่าง เพื่อให้ความรู้ ติดตามควบคุมกำกับ และเฝ้าระวัง เพราะปัจจุบันพบวัยรุ่นอายุ 20 ปี เป็นความดันโลหิตสูง และอายุ 30 ปี เป็นโรคไต เพราะโซเดียมสะสม ทำลายสุขภาพ ผู้ปกครองให้เด็กกินเค็มโดยไม่รู้ตัว ขนมกรุบกรอบเค็มมาก ปลาเส้น ซอง มีโซเดียมถึง 666 มิลลิกรัม  สาหร่าย 304 มิลลิกรัมต่อซอง มันฝรั่งทอด 191 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกินแบบไม่ต้มโซเดียม 1,500 มิลลิกรัม โจ๊กคัพ 1,200 มิลลิกรัม แค่เด็กกินซองเดียวก็เกินความต้องการต่อวันแล้ว ปริมาณโซเดียมที่เด็กอายุ 6-8 ปี ควรได้รับต่อวันอยู่ที่ 325-950 มิลลิกรัม  อายุ 9-12 ปี อยู่ที่ 400 -1,175  มิลลิกรัม  และอายุ 13-15 ปี อยู่ที่ 500-1,500 มิลลิกรัม ผู้ปกครองต้องมีความรู้ ต้องลดเค็ม เพื่อช่วยลูกห่างไกลโรค

 

ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็มย้ำรัฐต้องมีมาตรการลดโซเดียม 

               

                นอกจากความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองแล้ว ยังต้องมีมาตรการอื่นควบคู่  ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ไทยต้องนำมาตรการทางภาษีและราคามาใช้ เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ตัดสินใจจากราคา ไม่ใช่คุณค่าทางโภชนาการ  รัฐบาลต้องมีกฎระเบียบการคลังที่เหมาะสมให้ผู้ประกอบการผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ราคาไม่แพง  เค็มมากเป็นภัยต่อสุขภาพ เค็มมากเสียภาษีมาก จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมลดปริมาณโซเดียมลง  ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนระยะยาวดีขึ้น ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ลดลง

                เดินหน้าสร้างความตระหนักเด็กไทยกินเค็มเกิน เท่า  ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า แม้หลายประเทศ เช่น สหรัฐเผชิญปัญหาเด็กกินเค็มรุนแรงกว่าไทย พบเด็ก 1-3 ขวบ กินเค็มถึง 79 % เยาวชนอายุ 12-19 ปี มีความดันโลหิตสูง จนมีการปรับสูตรลดเกลือในอาหารและขนม   หันกลับมาที่บ้านเราจะแก้ปัญหาเด็กติดเค็มอย่างไร  นอกจากให้ความรู้  ใช้มาตรการจูงใจผู้ประกอบการแล้ว เห็นว่า การสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลดเค็ม ส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพตามสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ที่ทำงาน ชุมชน วัด ก็สำคัญ

                “ ส่วนการแก้ปัญหาที่ทำได้ทันที คือ มีกฎกติกาในบ้าน พ่อแม่กำกับให้ลูกแบ่งกินต่อมื้อ ไม่ควรกินขนมกรุบกรอบจนหมดซองในมื้อเดียว  สอนวิธีดูฉลากปริมาณโซเดียมบนผลิตภัณฑ์ ขนต่างๆ  รวมถึงส่งเสริมให้กินผักผลไม้ การออกกำลังกาย  ถ้าฟูมฟักและสร้างกติกาการกินให้เด็ก จะช่วยให้มีสุขภาพดีและป้องกันโรคได้แน่นอน ส่วนโรงเรียนต้องมีนโยบายร้านขายอาหารลดปริมาณโซเดียม  ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการกำลังปรับปรุงหลักสูตร เน้นย้ำเรื่องโภชนาการ การลดบริโภคโซเดียมไว้ในหนังสือเรียนด้วย  ทุกฝ่ายร่วมมือกันจุดประกายลดเค็มเป็นประเด็นสำคัญของคนไทย “ ดร.ไพโรจน กล่าว

 

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผอ.สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. 

 

                ทุกการขับเคลื่อนลดเค็มเป้าหมายเพื่อให้เด็กไทยห่างไกลโรคและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ลดอัตราเจ็บป่วยและการเสียชีวิต ลดภาระค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลของประเทศ สำหรับผู้ที่สนใจว่าโซเดียมเป็นปีศาจร้ายทำลายสุขภาพอย่างไรสามารถร่วมกิจกรรมวันไตโลก ปีนี้จะจัดวันที่ 17 มี.. ณ ลานเอเทรียม ชั้น ศูนย์การค้าเซ็นทัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ ฟรี มีกิจกรรมตรวจคัดกรองโรคไต ตรวจวัดความดันโลหิต รวมถึงนิทรรศการให้ความรู้อีกมากมายเหมาะกับทุกกลุ่ม

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"