‘ธนาธร-ส้มหวาน’วูบหนัก


เพิ่มเพื่อน    

 กรุงเทพโพลล์-ซูเปอร์โพล สะท้อนความนิยมในตัว "ธนาธร" ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ตรวจสอบครั้งล่าสุด "บิ๊กตู่" ยังได้รับความนิยมสูงสุด ตามด้วย "เจ๊หน่อย" ส่วนหัวหน้าส้มหวานรูดจาก 9% เหลือ 5.5% ส่วนสเปกนายกฯ ด้านอายุ ชายไทยอายุประมาณ 40 ปี ความนิยมร่วงหนักจากร้อยละ 22.8 เหลือแค่ 7.5

    เนื่องในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่จะถึงนี้เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “นับถอยหลัง 21 วัน สู่การเลือกตั้ง” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,491 คน พบว่า
    ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 96.5 ตั้งใจว่าจะไปเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 24 มี.ค.62 ที่จะถึงนี้ ขณะที่ร้อยละ 1.3 ตั้งใจว่าจะไม่ไป ส่วนที่เหลือร้อยละ 2.2 ยังไม่แน่ใจ
    ทั้งนี้ เมื่อถามว่า “ได้รับทราบข้อมูลความรู้ความเข้าใจและการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 มากน้อยเพียงใด” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 48.8 ระบุว่าได้รับความรู้ปานกลาง รองลงมาร้อยละ 33.6 ระบุว่าได้รับความรู้มากถึงมากที่สุด และร้อยละ 17.6 ระบุว่าได้รับความรู้น้อยถึงน้อยที่สุด
    เมื่อถามว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคใดมาบริหารประเทศ” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.4 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ ขณะที่ประชาชนที่ตัดสินใจแล้วร้อยละ 12.8 ระบุว่าจะเลือกพรรคเพื่อไทย รองลงมาร้อยละ 11.6 ระบุว่าจะเลือกพรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 7.6 ระบุว่าจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์
    คำถามที่ว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้จะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.0 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ ขณะที่ประชาชนที่ตัดสินใจแล้วร้อยละ 17.2 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองลงมาร้อยละ 12.0 ระบุว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และร้อยละ 6.9 ระบุว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
    ทั้งนี้ จากการสำรวจ 3 รอบที่ผ่านมา รอบแรกช่วงวันที่ 12-13 ก.พ. พบว่า พล.อ.ประยุทธ์มาเป็นอันดับหนึ่ง 12%, ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-20 ก.พ. ได้ 15.1% และรอบที่ 3% ระหว่างวันที่ 25-26 ก.พ.ได้ 17.2% ขณะที่อันดับ 2 คือ คุณหญิงสุดารัตน์ รอบแรกได้ 8.1%, รอบ 2 ได้ 11% และรอบ 3 ได้ 12% 
    ขณะที่นายอภิสิทธิ์ รอบแรกได้ 6.1%, รอบ  2 ได้ 8.9% และรอบ 3 ได้ 6.9% ที่น่าสนใจคือลำดับที่ 4 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เดิมทีรอบแรกได้ 6.6% รอบ 2 ได้ 9% แต่รอบสุดท้ายกลับร่วงอย่างหนัก ได้ไปเพียง 5.5%     
    ด้าน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง ต้นแบบนายกรัฐมนตรีที่ต้องการ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,432 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา 
พบว่า เมื่อถามถึงความกังวลต่อความวุ่นวายช่วงเลือกตั้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 ไม่กังวล ในขณะที่ร้อยละ 30.4 กังวล
    ที่น่าพิจารณาคือ ผลการเปรียบเทียบความตั้งใจจะไปเลือกตั้งของประชาชนวันที่ 24 มีนาคมนี้ พบว่า ประชาชนตั้งใจจะไปเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35.3 ที่เคยระบุว่าไปอย่างแน่นอนในการสำรวจครั้งที่ 1 มาอยู่ที่ร้อยละ 58.9 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้
    ที่น่าสนใจคือ ผลการเปรียบเทียบต้นแบบนายกรัฐมนตรีที่ต้องการของประชาชน พบว่า เป็นผู้ชาย อายุ 50 ปีต้นๆ และเป็นอดีตผู้บริหารธุรกิจระดับสูง อดีตผู้บริหารประเทศระดับสูง แก้ปัญหาผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจ ไม่มีประวัติด่างพร้อย ไม่ใช่คู่ขัดแย้งของใคร 
    โดยลักษณะต้นแบบนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการเช่นนี้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.6 ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ร้อยละ 40.7 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
    แต่ต้นแบบนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการลดลงคือ เป็นผู้ชายอายุประมาณ 40 ปี เคยเป็นอดีตผู้บริหารระดับสูง เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ลดลงจากร้อยละ 22.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.5 
    ที่น่าจับตามองคือ ต้นแบบนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้ชาย อายุกว่า 60 ปี เคยเป็นทหารระดับสูง และเป็นผู้บริหารประเทศระดับสูง แก้ปัญหาหลายอย่าง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 16.2
    นอกจากนี้ ที่น่าจับตามองเช่นกันคือ เป็นผู้ชาย อายุ 50 ปีต้นๆ เคยเป็นนักวิชาการ อดีตผู้บริหารประเทศระดับสูง เด่นด้านคมนาคม และต้นแบบนายกรัฐมนตรีอีกต้นแบบหนึ่งคือ เป็นผู้หญิง อายุเกือบ 60 ปี เป็นนักการเมือง และเคยบริหารประเทศระดับสูง เด่นด้านสุขภาพ เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากร้อยละ 7.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.8 และร้อยละ 6.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 8.6 ตามลำดับ
    ส่วนต้นแบบนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้ชาย อายุประมาณ 70 ปี อดีตตำรวจระดับสูง มีผลงานมากมายนั้นยังคงได้รับเหนียวแน่นเช่นเดิม คือร้อยละ 5.4 และร้อยละ 5.4    
    ผอ.ซูเปอร์โพลล์กล่าวว่า การใช้ต้นแบบนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการในการสำรวจเช่นนี้ เป็นการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงสำรวจกึ่งทดลอง เพราะถ้าถามตรงๆ ด้วยการระบุชื่อ อาจจะทำให้ประชาชนไม่ตอบตามความเป็นจริงว่าจะเลือกสนับสนุนใคร แต่ถ้าใช้วิธีนำลักษณะต้นแบบนี้มาถาม จะทำให้ “เข้าถึง” ความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของประชาชนมากขึ้น และทำให้คาดการณ์ได้ว่าต้นแบบใดที่ประชาชนต้องการอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศคนต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"