ปักหลักสู้!ชาวบ้านร้องผู้ว่าฯยโสธร จี้กกพ.หยุดมติอัปยศปล่อยผีโรงไฟฟ้าชีวมวล


เพิ่มเพื่อน    

1 มี.ค.62- กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร กว่า 100 คน ได้เดินทางไปศาลากลางจังหวัดยโสธร เพื่อยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรคัดค้านมติพิจารณาโรงไฟฟ้าชีวมวล เสนอให้ กกพ.ทบทวนมติโรงไฟฟ้าชีวมวล  โดยมี พ.อ.ฉกาจพงษ์ หงษ์ ทอง รอง ผอ.สน. ปรมน.จว.ที่ 9 /รอง ผอ. รมน.จังหวัด  เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการและประธานคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง จังหวัดยโสธร กรณีโรงไฟฟ้าชีวมวลมารับหนังสือ

ด้านนางมะลิจิตร เอกตาแสง  กรรมการกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานออกใบอนุญาตโรงไฟฟ้าชีวมวลให้ มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) เมื่อประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้นทำให้สมาชิกชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายมีความกระตือรือร้นอยากทราบเหตุผลว่าทำไม กกพ.ถึงเร่งรีบพิจารณาโรงไฟฟ้าชีวมวลทั้งๆ ที่ผ่านมาชาวบ้านคัดค้านมาตลอดผ่านข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้นำเสนอให้กับ กกพ.ก่อนหน้านั้น  วันนี้ทางตัวแทนสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายจึงเดินทางมายื่นหนังสือถึงประธาน กกพ.ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เพื่อคัดค้านมติพิจารณาการออกใบอนุญาตโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมเสนอให้ กกพ.ทบทวนมติ เพราะเราตั้งข้อสังเกตว่าข้อมูลอาจจะยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน และอยากให้การพิจารณาเกิดความโปร่งใสด้วย

ด้าน พ.อ.ฉกาจพงษ์  กล่าวว่าวันนี้หลังรับหนังสือแล้วจะรีบดำเนินการให้ทันทีและในส่วนตนเองซึ่งเป็นประธานคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ก็จะทำหนังสือถึง กกพ.ในการสอบถามถึงการดำเนินการที่ผ่านมาว่าถึงไหนแล้ว

นายสิริศักดิ์ สะดวก ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายตำบลเชียงเพ็ง กล่าวว่า กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายได้มีการประชุมและสรุปข้อคำถามถึงคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 4 ประเด็นเพื่อให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตอบข้อคำถามให้ชัดเจนคือ 1.มีความจำเป็นอย่างไรต้องเร่งอนุมัติ/อนุญาต  ออกใบประกอบกิจการพลังงานให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของ บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด ในเมื่อไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศมีเหลือเกิน เกณฑ์มาตรฐานสากล เป็นที่ทราบดีว่า แต่ละหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นต้องแลกด้วยมลพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทางอากาศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพคน และอาหาร ประกอบกับคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริงด้านทรัพยากร ด้านการมีส่วนร่วม ด้านสุขภาพ สรุปได้เบื้องต้นประเด็นเดียว หรือแม้กระทั้งการลงพื้นที่ของผอ.สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต 5 อุบลราชธานี ก็ได้ทำหนังสือแจ้งมาทางกลุ่มและได้ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 62 โดยได้ดูจุดสำคัญกว่า 9 จุด และยังไม่ได้ทำสรุปเป็นที่ชัดเจนของทั้งสองฝ่ายเพื่อเตรียมเสนอคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานส่วนกลาง ทำไมไม่รอข้อมูลการศึกษาให้รอบด้านก่อนเพื่อจะได้นำไปประกอบพิจารณาด้วย

2.การเร่งรีบพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต ออกใบอนุญาตโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของ บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด ขนาด 61 เมกะวัตต์ ใครได้ประโยชน์  3.โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของ บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด ตามรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 นั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้นำเสนอในเวทีชี้แจงต่อชาวบ้านบอกว่ากำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 61 เมกะวัตต์  แต่การออกมาให้ข้อมูลสื่อบางสำนักเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2562 ของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) บอกว่าขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 32,500 กิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) หรือ 26 เมกะวัตต์ (MW) ผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชีวมวล (กากอ้อย ใบอ้อย และชิ้นไม้สับ) ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.น้ำปลีก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ นั้นตกลงเป็นข้อมูลอันไหนเท็จอันไหนจริง

4.การอธิบายของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) บอกว่าซึ่งหากพบว่าผู้ประกอบการฝ่าฝืนและเกิดมลพิษที่ส่งผลกระทบสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดให้หยุดการผลิตได้ทันที อยากทราบว่าในประเทศไทยมีโรงงานไหนบ้างที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานสั่งให้หยุดได้ทันที มีกี่แห่งในประเทศไทย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"