นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า คลองแสนแสบเป็นคลองขุดสายสำคัญของกรุงเทพมหานคร ที่ทำหน้าที่ระบายน้ำจากกรุงเทพสู่แม่น้ำบางปะกง เป็นเส้นทางคมนาคมของคนกรุงเทพ ที่ต้องหลีกเลี่ยงปัญหารถติด แต่ปัจจุบันน้ำในคลองแสนแสบเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น มีค่าความสกปรกสูง เพราะต้องรองรับน้ำเสียจากชุมชนและเขตอุตสาหกรรม รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมพื้นที่คลองแสนแสบ จึงได้มีนโยบายที่จะปรับปรุงและฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบให้กลับมาสะอาดอีกครั้ง พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้สวยงาม พร้อมทั้งส่งเสริมภาคีเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูให้เกิดความยั่งยืน
สำหรับโครงการ อีโคสคูล หรือ โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดขึ้นเพื่อสร้างพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม หลักการสำคัญอยู่ที่การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับนโยบาย การจัดการเรียนการสอนและหลักสูตร โดยเชื่อมโยงกับท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมสนับสนุนจากทุกภาคส่วน โดยมีการดำเนินโครงการ Eco School ประสบความสำเร็จมาแล้วทั่วประเทศ ดังนั้นจึงได้ทำการต่อยอดพัฒนามาสู่โครงการ Eco School พื้นที่คลองแสนแสบ” โดยมีโรงเรียน 8 แห่งจาก 5 เขตที่อยู่ใกล้พื้นที่คลองแสนแสบมาเข้าร่วมโครงการ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้เรื่องคลองแสนแสบ และเพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าของคลองแสนแสบ พร้อมทั้งตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น และพัฒนาไปสู่ความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ดูแลรักษาคลองแสนแสบและคลองสาขาให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดการอบรมเสริมศักยภาพครูและบุคลากรโรงเรียน Eco School พื้นที่คลองแสนแสบ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา รวมถึงกระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาทั้ง 7 ขั้นตอน ซึ่งพัฒนาโดยองค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ซึ่งประกอบด้วย การสำรวจและค้นหาประเด็น สองการหาความรู้ ตามด้วยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ หลังจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้สถานการณ์การและกำหนดทางเลือก ต่อด้วยการวางแผน และการออกไปปฏิบัติจริง และขั้นตอนสุดท้ายนำเอาสิ่งที่ได้รับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของชุมชน และให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูลพื้นที่คลองแสนแสบที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต
“การให้ความสำคัญกับพื้นที่คลองแสนแสบเป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาล กรมฯมีความยินดีที่จะรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานในพื้นที่ โดยเรามีเครือข่ายที่จะร่วมกันลงพื้นที่ติดตามและให้ข้อเสนอแนะจนกว่าจะพัฒนาให้เป็นโรงเรียน Eco School โดยในอนาคตเราจะพยายามขยายผลผลักดันการพัฒนาโรงเรียน Eco School ให้เป็นความร่วมมือในระดับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับกระทรวงศึกษาธิการด้วย” อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าว
ด้าน นางสาวอรชร วิยาสิงห์ ครูโรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล เขตสะพานสูง กทม. กล่าวว่า โรงเรียนได้สมัครเข้าร่วมโครงการเนื่องจากเห็นว่ามีที่ตั้งอยู่ในคลองสาขาของคลองแสนแสบ ซึ่งประสบปัญหาสภาพน้ำในคลองเน่าเสีย จึงต้องการมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา 7 ขั้นตอนมาใช้ เช่น นำนักเรียนสำรวจพื้นที่คลองพร้อมทั้งหาสาเหตุ และวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมกับเริ่มลงมือทำในสิ่งที่ทำได้ทันทีก่อน ซึ่งสิ่งที่นักเรียนเลือก คือ การลดปล่อยน้ำเสียในครัวเรือน โดยมีการออกแบบและสร้างถังดักไขมันและสิ่งปฏิกูลมาใช้งานในครัวเรือน ซึ่งผลที่ได้คือ คราบไขมันลดลง ท่อน้ำทิ้งจะมีคราบไขมันลดลง โดยหลังจากนี้จะดำเนินการขยายผลไปสู่การจัดการเกี่ยวกับปัญหาขยะต่อไป
นางรวิษฎา ถันทอง ครูโรงเรียนวัดเทพลีลา เขตบางกะปิ กทม. กล่าวว่า โรงเรียนมีพื้นที่ติดกับคลองแสนแสบโดยตรง และเดิมมีการดำเนินโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว โดยจะให้นักเรียนทำน้ำหมักชีวภาพแจกตามชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งมีการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในครัวเรือนและหอพักต่าง ๆ ที่อยู่โดยรอบ เพราะลักษณะชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นหอพักมีคนไหลเวียนเข้าออกตลอด ดังนั้นสิ่งที่ต้องลงมือควบคู่ไปกับการจัดการเรื่องน้ำและขยะ คือ การรณรงค์ให้ผู้คนเกิดจิตสำนึก เช่น ให้เด็ก ๆ ทำป้าย แล้วแบ่งกลุ่มเดินไปทำกิจกรรมกับชาวบ้านที่อยู่ริมคลองให้ช่วยกันไม่ทิ้งขยะ ไม่ปล่อยน้ำเสีย ซึ่งปีแรกอาจจะไม่ค่อยเห็นความชัดเจน เพราะเรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลา แต่พอขึ้นปีที่ 2 ก็ได้ยินเสียงจากผู้ปกครองหลายคนที่บอกว่า ขนาดเด็กเล็กยังรู้จักมาช่วยเลย ผู้ใหญ่ก็ควรจะมาช่วยกันบ้าง ทำให้เกิดความร่วมมืออีกรูปแบบหนึ่ง
“อยากขอขอบคุณ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำหรับการคิดถึงปัญหาของชุมชนในเมืองอย่าง กทม. เพราะปัญหารุนแรงไม่แพ้ที่อื่น ซึ่งโครงการนี้มีแนวคิด แนวปฏิบัติในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการแก้ปัญหาหลายๆอย่าง ให้โรงเรียนได้มีความสัมพันธ์ร่วมกับชุมชนไปพร้อม ๆ กันด้วย” นางวิษฎา กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |