28ก.พ.62-ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้กล่าวในงานแถลงข่าว"เก่าปี เก้าหน้า การดำเนินงานพัฒนาของ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ "ตอนหนึ่ง เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประเทศ ว่า ปัญหาของเศรษฐกิจไทยนขณะนี้ ที่ถือว่าน่าเป็นห่วงก็คือ ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนของประเทศที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งจากการวิจัยเก็บข้อมูลของสถาบันเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าขณะนี้ คนไทยเป็นหนี้เร็วมาก และมีมูลค่ามาก กระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มอายุ 30-35ปีมากที่สุดสัดส่วน 68% และในจำนวนนี้ มีสัดส่วนหนี้เสียถึง 20% ซึ่งหนี้เหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการลงทุน นำไปซื้อสินทรัพย์ เช่น บ้าน หรือเป็นหนี้ที่เป็นการก่อร่างสร้างตัว แต่เป็นหนี้ที่เกิดจากการอุปโภค บริโภค เช่น นำเงินไปท่องเที่ยว ซื้อข้าวของต่างๆ โดยเฉพาะภาคเกษตร เห็นได้ชัดว่าเป็นหนี้มากขึ้น ภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น ได้เป็นตัวฉุดไม่ให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย กระทบต่อกำลังซื้อ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวไม่เติบโตเท่าที่ควร
"แม้จะมีการมองเศรษฐกิจไทย คนมีรายได้ดีขึ้น แต่ทำไมคนไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอย ส่วนหนึ่งก็เพราะต้องนำเงินไปชำระหนี้ อย่างภาคเกษตร คนอายุ 40-50 ปี อายุสูงขึ้น แทนที่จะไม่มีหนี้ กลับมีหนี้มากขึ้น เป็นหนี้ จากการไปซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ ซื้อโทรศัพท์มือถือ กระทบการออมของประเทศ และการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมีหนี้สินแล้ว "
ผู้ว่าธปท.. กล่าวอีกว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนดังกล่าว ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของเศรษฐกิจประเทศในชณะนี้ ซึ่งไม่สามารถแก้ปีญหาด้วยวิธีมหภาคได้ ทั้งมาตรการลดหนี้ ยืดระยะเวลาการชำระหนี้ หรือพักชำระหนี้ ก็ไม่สามารถแก่ปัญหาได้อย่างแท้จริง เพราะจริงๆแล้ว ปัญหาหนี้ครัวเรือน ต้องแก้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของคนไทย
ดร.วิรไท กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในด้านการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เกินพอดี และมีการประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ จะก็มีการสร้างแรงจูงใจที่มากกว่าปกติ สร้างดีมานด์เทียมขึ้นในตลาด เช่น คนยังไม่มีความต้องการซื้อบ้าน แต่สถาบันการเงิน ใช้ช่องทางเทคนิคลดดอกเบี้ยสินเชื่อในช่วงปีแรกๆ และมีการให้เงินทอนผู้กู้ เวลาที่ไปขอกู้จะได้เงินสดมาใช้จ่ายก่อน มีการทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ราคาบ้านมีแต่จะขึ้น และสามารถปล่อยให้เช่าได้ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างดีมานด์เทียม ทั้งที่มีซัพพลายในตลาดจำนวนมาก ก็ไม่มีทางที่ราคาจะขึ้นได้อย่างที่คาดหวัง ปัญหาเหล่านี้ เป็นโจทย์ทื่แบงก์ชาติพยายามต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนและสถาบันการเงิน
แนวทางแกัปัญหา ผู้ว่าแบงก์ชาติ กล่าวว่า แนวทางที่ 1 คือ การออกกฎเกณฑ์ เรื่องการทำหน้าที่ของสถาบันการเเงิน การปล่อยสินเชื่อ บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เพื่อไม่ให้ อัตราดอกเบี้ยไม่สูงเกินไป และไม่เกิดความเป็นธรรม ที่ซ้ำเติมประชาชน
"เราให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก เราคุยกับสถาบันการเงินว่า เขาต้องให้บริการแบบ รับผิด รับชอบ ไม่ไปสร้างปัญหา หรือเร่งการขยายสินเชื่อ ซึ่งจะกลับมาเป็นหนี้เสียให้กับสถาบันของเขาเอง"
2.การเปิดระบบคลินิกแก้หนี้ เพื่อให้คนที่เป็นหนี้ออกจากวงจรหนี้ โดยให้บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท(SAM) ให้บริการกับหนี้ที่เป็นนอนแบงก์ได้ด้วย เพราะหนี้ครัวเรือนจำนวนมาก ที่มีเจ้าหนี้หลายราย มีบัตรเครดิตหลายใบ มีสินเชื่อหลายแห่ง ทำใให้การแก้ปัญหาหนี้ประชาชนเป็นไปแบบเบ็ดเสร็จ วันสต็อปเซอร์วิส เพราะในทางปฎิบัติ ประชาชนไม่สามารถไล่เจรจาสถาบันการเงินแต่ละแห่งได้ ผลประโยชน์ที่ประชาชนที่เป็นหนี้ได้รับคือ สามารถยืดชำระหนี้ได้ และดอกเบี้ยที่เคยจ่าย 10-25% จะได้ลดประมาณ5-7% ช่วงที่ผ่านมามีคนมาลงนามที่คลินิกแก้หนี้ไปแล้วประมาณ 1,400-1,500 ราย
3.การสร้างความรู้ความเจ้าใจ เรื่องการบรีหารจัดการเงิน ตรงนี้ เป็นช่องโหว่ของประเทศไทยมานาน เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ทั้งที่จริงๆแล้วมันเป็นทักษะชีวิต ของคนไทยทุกคน ที่ต้องเข้าใจการบริหารจัดการเงิน ระยะยาว มีหลายเรื่องที่แบงก์ชาติทำเอง สร้างต้นแบบ ร่วมกับสมาคมธนาคารไทยและภาคีหลายๆด้าน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |