28 ก.พ. 62 - ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) โพสต์เฟซบุ๊กโดยมีเนื้อหาดังนี้
“นิทาน” เรื่องใหม่ของ กสทช.
มีข่าวว่า กสทช. เสนอต่อ คสช. ให้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งเพื่อขยายเวลาการชำระค่าประมูลคลื่น 4G ในความถี่ย่าน 900 MHz งวดสุดท้าย ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 ราย โดยอ้างว่า หากไม่ขยายเวลา อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและการประมูลคลื่น 5G ในความถี่ย่าน 700 MHz ซึ่ง กสทช. ต้องการให้เกิดขึ้นในกลางปีนี้
ก่อนหน้านั้นไม่นาน ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหนึ่งก็เคยขู่คล้ายๆ กับ กสทช. ว่า จะไม่ร่วมประมูลคลื่น 5G หากไม่ขยายเวลาการชำระค่าประมูลคลื่น 4G
สำหรับผมแล้ว ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น “นิทาน” อีกเรื่องหนึ่งที่พยายามจะผูกเรื่องการ “อุ้ม” ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ากับการประมูลคลื่น 5G ต่อเนื่องจาก “นิทาน” ก่อนหน้านั้นที่พยายามที่จะผูกเรื่องการ “อุ้ม” ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ากับการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวิดิจิทัล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
ที่ผมเรียกเรื่องนี้ว่าเป็น “นิทาน” เพราะมันเป็นเพียงเรื่องเล่า ที่ไม่เป็นความจริง เนื่องจากประเทศไทยไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องรีบร้อนประมูลคลื่น 5G ในย่าน 700 MHz ดังที่กสทช. พยายามผลักดัน ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้
หนึ่ง ปัจจุบัน ยังไม่มีบริการ 5G ในเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน ดังที่ผู้บริหาร AIS ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับหนึ่งของไทยเคยกล่าวไว้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ว่า...
“แม้ 5G มีประโยชน์ที่จะทำอะไรใหม่ๆ มากมาย...แต่ไม่ใช่วันนี้” เพราะ “ยังไม่มี Business Case จึงไม่เห็นตอบแทนทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไร้คนขับ หรือ IoT ในโลกนี้ยังไม่เกิดขึ้น” และกล่าวต่อไปว่า “ที่ผ่านมา AIS ได้เข้าไปพูดคุยกับผู้พัฒนาเครือข่ายหลายๆ รายที่เป็นพันธมิตร เพื่อสอบถามถึงการลงทุน 5G ส่วนใหญ่จะให้คำตอบว่านับจากนี้ไปอีก 3 ปี ค่อยมาคิดว่าควรจะทำหรือไม่ทำ เพราะปัจจุบัน 5G ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น”
สอง กสทช. เองก็ยังทำโรดแมพในการประมูลคลื่น 5G ไม่เสร็จ หลายท่านคงทราบว่า บริการ 5G สามารถใช้คลื่นความถี่ได้หลายย่าน ทั้งความถี่ต่ำ ความถี่ปานกลางและความถี่สูง การประมูลคลื่น 5G จึงควรเกิดขึ้นเมื่อมีโรดแมพในการประมูลคลื่นทุกย่านที่ชัดเจนก่อน การซอยคลื่น 700 MHz ในย่านความถี่ต่ำออกมาประมูลก่อน โดยยังไม่เห็นความชัดเจนในการประมูลคลื่นย่านอื่น จะทำให้เกิดความได้เปรียบและเสียเปรียบกันระหว่างผู้ประกอบการที่ประมูลในครั้งนี้และในอนาคต และจะสร้างปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย
สาม การไม่เร่งรัดประมูลคลื่น 5G ในปีนี้ จะไม่มีผลทำให้ประเทศไทยมีบริการ 5G ช้ากว่าประเทศอื่น เพราะในปัจจุบันมีเพียง 3-4 ประเทศเท่านั้น ที่เปิดให้บริการ 5G ในเชิงพาณิชย์แล้วคือ เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่นและสหรัฐ (ซึ่งเปิดบริการในไม่กี่เมือง) โดยประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นประเทศที่ผลิตอุปกรณ์ 5G ซึ่งต้องการเปิดบริการในประเทศของตนให้เร็ว เพื่อผลในการโฆษณาและทำการตลาดในต่างประเทศ
รัฐบาลจึงไม่ต้องกังวลใดๆ ต่อการที่ผู้ประกอบการขู่ว่า จะไม่เข้าประมูลคลื่น 5G หากไม่ได้รับการยืดเวลาชำระค่าประมูลคลื่น 4G ออกไป เพราะประเทศไทยยังไม่ควรประมูลคลื่น 5G ไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี จนกว่าจะเห็นว่า บริการ 5G มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างไร เมื่อถึงเวลานั้น ผู้ประกอบการทั้งหลายซึ่งชำระค่าประมูลคลื่น 4G ครบถ้วนแล้ว ก็จะเข้าประมูล 5G เอง เพื่อไม่ให้เสียเปรียบรายอื่น
“นิทาน” เรื่องนี้นอกจากไม่สนุกแล้ว ยังมีราคาแพงมาก เพราะหากรัฐบาลและ คสช. หลงเชื่อแล้วยืดเวลาชำระค่าประมูลคลื่น 4G ออกไป ตามข้อเสนอของ กสทช. รัฐก็จะเสียรายได้อย่างน้อย 1.6 หมื่นล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยที่ กสทช. เสนอให้เก็บต่ำมาก (คิดเฉพาะ 2 รายคือ AIS และ True ที่ขอยืดชำระไป 7 ปี ยังไม่นับที่ DTAC ี่ขอผสมโรงยืดชำระไปอีก 15 ปี) การยืดเวลาชำระค่าประมูลคลื่น 4G ออกไป จึงขัดอย่างแจ้งชัดกับแนวทางที่นายกรัฐมนตรีเคยให้ไว้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2561 ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้จะต้องไม่ทำให้รัฐและประชาชนเสียหาย
ผมหวังว่า ผู้นำรัฐบาลซึ่งเป็น “บูรพาพยัคฆ์” ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก จะไม่หลงเชื่อ “นิทานกระต่ายตื่นตูม” เรื่องใหม่ แต่พลอตเดิม ที่หวังจะเอาเงินของรัฐและประชาชนไป “อุ้ม” นายทุนโทรคมนาคม ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |