เมื่อพูดถึงโครงการคัดเลือกเอกชนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใด ซึ่งล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ได้พิจารณาผลการเจรจากับตัวแทนกลุ่มบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) มา 3 ครั้ง แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะยอมรับ โดยข้อเสนอของกลุ่มซีพี ที่ส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการเงิน โดยเฉพาะในประเด็นหลัก 12 ข้อ จากข้อเสนอกว่า 100 ข้อ
อาทิ การขอรับเงินชดเชยตั้งแต่ปีแรก, การขยายเวลาสัญญาจาก 50 ปี เป็น 99 ปี ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้ขัดกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และข้อเสนอการร่วมลงทุน (Request for Proposal) หรือ RFP ที่ไม่ได้เปิดช่องให้เจรจา
ขณะเดียวกัน รฟท.จะทำหนังสือแจ้งไปยังกลุ่มซีพี เพื่อนัดในวันที่ 5 มี.ค.นี้ เวลา 14.00 น. เพื่อรับทราบผลที่คณะกรรมการคัดเลือกไม่รับข้อเสนอที่ขัดกับมติ ครม.และ RFP และกลุ่มซีพีจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ และจะเจรจาส่วนที่เหลือที่เป็นเรื่องง่าย ที่เป็นเงื่อนไขทั่วไป โดยยังมั่นใจจะสามารถลงนามสัญญาได้ภายในเดือน มี.ค.นี้ตามกรอบเวลา และจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือน ต.ค. หรือหลังจาก 6 เดือนนับจากวันลงนาม
ก็คงต้องมาลุ้นกันอีกครั้งในวันที่ 5 มี.ค.นี้ ว่ากลุ่มซีพีจะเจรจาต่อไปไหม ถ้าจุดยืนไปด้วยกันก็เจรจาต่อ ถ้าไม่ได้ก็ตกลงกัน ซึ่งประเด็นที่ว่าจะไปต่อหรือพอแค่นี้ ทางการรถไฟฯ มองว่า ถึงขั้นนี้เขาไม่ถอนตัว ยกเว้นหุ้น ส่วนจะถอนตัว มองว่าซีพีตั้งใจสูง ต้องสู้จนนาทีสุดท้าย ถ้าหุ้นส่วนไม่เอา ก็ต้องกล่อมหุ้นส่วนต่อไป
ทั้งนี้ หากกลุ่มซีพีไม่ยอมรับเงื่อนไขและยุติการเจรจา คณะกรรมการคัดเลือกจะเรียกกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ที่ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง (RATCH) เจรจาเป็นรายถัดไป
อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR Joint Venture ที่มี BTS เป็นแกนนำ มีความพร้อมอย่างมากที่จะเข้าเจรจาต่อรองโครงการดังกล่าว หากไม่สามารถตกลงกันได้ พร้อมมั่นใจหากทางกลุ่ม BSR Joint Venture มีข้อเสนอดีพอที่จะเอาชนะคู่แข่งได้ ซึ่งศักยภาพของกลุ่มมีพันธมิตรชั้นนำระดับโลกที่มีศักยภาพไม่น้อยไปกว่าคู่แข่งเช่นกัน โดยเฉพาะแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟฟ้า (TOD)
สำหรับการเจรจาต่อรองนั้น หากทางกลุ่ม BSR ได้เข้าเจรจาก็ได้ยืนยันว่าจะไม่มีการยื่นข้อเสนอนอกเหนือไปจากที่เอกสารขอบเขตเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ที่กำหนดไว้ แม้ว่าก่อนหน้านี้ทางกลุ่มจะมีการเสนอขอให้รัฐสนับสนุนโครงการสูงกว่าคู่แข่งอยู่ 52,700 ล้านบาทก็ตาม ซึ่งในวงเงินดังกล่าวยังสามารถลดราคาลงได้ และหากได้โอกาสเข้าเจรจากับรัฐบาลจริง คาดว่าหากมีการเจรจาก็จะได้ข้อสรุปภายในได้ภายในเดือนมีนาคม 2562 ตามเป้าหมายของรัฐบาลกำหนดไว้
ส่วนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์นั้น กลุ่มกิจการร่วมค้า BSR Joint Venture จะมีการใช้ประสบการณ์ด้านงานเดินรถไฟฟ้าเข้ามาพัฒนาสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง โดยเฉพาะสถานีขนาดใหญ่อย่างอู่ตะเภา และจะเน้นจุดแข็งในการพัฒนา TOD ให้มีความหลากหลาย รวมถึงสร้างรายได้และเชื่อมต่อการเดินทาง โดยเน้นไปในส่วนของที่ดินมักกะสันและที่ดินศรีราชา
อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 224,544 ล้านบาท กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด 117,227 ล้านบาท ส่วน BSR เสนอ 169,934 ล้านบาท
สำหรับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD), China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ซึ่งผู้ร่วมทุนแต่ละรายถือว่าอยู่ในขั้นเทพของแต่ละสายงาน
ดังนั้นหลังจากนี้ก็ถือเป็นโค้งสุดท้ายของซีพี ที่จะพร้อมเดินหน้า หรือหยุดแค่นี้ รอลุ้นอีกอึดใจอีกนิดเดียว 5 มี.ค.นี้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |