นอกจากปัญหาสุขภาพจิตอย่างภาวะหงุดหงิดง่ายของคนวัยเก๋า ที่มักมีอารมณ์ขึ้น-ลงจากวัยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงอากาศบ้านเราเริ่มร้อนระอุ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของผู้สูงวัย เรียกได้ว่าสารพัดปัญหาสุขอนามัยตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าที่พบได้บ่อยๆ ทั้งนี้ ลูกหลานหลายคนอาจจะเคยสังเกตเห็นและมองข้ามไป เพราะคิดว่าเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้คงไม่ส่งผลร้ายแรงต่อคนวัยเกษียณ แต่ทว่าการมีข้อมูลเกี่ยวกับดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยที่รอบด้าน ย่อมทำให้การปรนนิบัติคุณตาคุณยายเป็นไปด้วยความเข้าใจมากขึ้น
(ผอ.พรหมมินทร์ กัณธิยะ)
ผอ.พรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) บอกว่า “การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในช่วงหน้าร้อนเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ลูกหลานควรให้ความใส่ใจ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้คนวัยเก๋าเจ็บป่วยได้อย่างง่ายดาย เริ่มตั้งแต่เรื่องพื้นฐานอย่างสมรรถภาพของคนวัยนี้ที่เริ่มลดลง ทำให้ภูมิต้านทานโรคทำงานได้ไม่ดี ยิ่งในช่วงหน้าร้อนก็พบว่าผู้สูงอายุจะมีปัญหา “ผิวแห้ง” จากการที่ขาดน้ำ และพฤติกรรมที่มักจะไม่ค่อยชอบดื่มน้ำ เพราะเป็นกังวลที่จะต้องปัสสาวะบ่อยๆ รวมไปจนถึง “อาการอ่อนเพลีย” จากการที่ออกไปตากแดดและเสียเหงื่อ ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นลม หน้ามืด สิ่งเหล่านี้หากปล่อยปละละเลยก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการช็อกหมดสติ เสียชีวิตได้
(ผู้สูงอายุปืนบันได, เดินที่แคบ เสี่ยงต่อการหกล้มกระดูกหัก หรือตกน้ำโดยที่ไม่มีคนเห็นและช่วยเหลือ)
หรือแม้การที่ผู้สูงอายุยืนในที่สูง เช่น การปืนบันได หรือการเดินในห้องมืด และยืนอยู่ในที่แคบๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการ “หกล้ม” ไล่ไปจนถึงเรื่องของอาหารการกินที่เสี่ยงต่อระบบขับถ่ายไม่ย่อย เช่น การที่ท่านคุ้นชินกับการบริโภคอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ใหญ่ที่มีไขมันปนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น หมูสามชั้น เมื่อกินเข้าไปในปริมาณที่มาก ประกอบกับการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการย่อยยาก หรือแม้การที่คนวัยหลัก 6 ต้องการที่จะขับรถยนต์เอง ตรงนี้ลูกหลานหรือผู้ดูแลควรร่วมประเมินเรื่องสายตาและการได้ยินของผู้สูงอายุว่ายังดีอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุป่วยโรคลมบ้าหมู และต้อง “ขับรถยนต์ส่วนตัวเอง อาจเสียต่ออันตรายทั้งตัวเองและผู้อื่น” ตรงนี้ควรเป็นหน้าที่ของบุตรหลานในการทำหน้ารับคุณตาคุณยายก็จะเหมาะสมกว่า
(การข้ามถนนถือเป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัยที่ลูกหลานควรเอาใจใส่ เพราะเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์เฉี่ยวชน)
“นอกจากนี้ การที่ผู้สูงอายุ “ข้ามถนนเพียงลำพัง” ก็กลายเป็นปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน เพราะจากเดิมที่เคยก้าวเท้าอย่างกระฉับกระเฉง ประกอบเลนส์ถนนในปัจจุบันก็เพิ่มขึ้น ทำให้รถยนต์ส่วนมากขับเร็วขึ้น รวมถึงเรื่องสายตาและประสาทหูของผู้สูงวัยอาจทำงานได้ลดลง ดังนั้นเพียงแค่การข้ามถนนก็ถือเป็นอุปสรรคและเป็นภัยอย่างหนึ่งที่ลูกหลานควรตระหนัก หรือพาผู้สูงอายุข้ามถนน หรือหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรให้ท่านออกไปทำธุระนอกบ้านเอง ไม่จะไปทำบุญที่วัด ซึ่งท่านขึ้นลุกและ “เซหกล้ม” หรือไปจ่ายกับข้าวที่ตลาดที่สุ่มเสี่ยงต่อการข้ามถนนเพียงลำพัง ประกอบกับอาจเกิดอาการหูแว่ว อาจเกิดอันตรายจากการถูกรถยนต์เฉี่ยวชน ถ้าเป็นไปได้ลูกหลานควรรับหน้าที่ดังกล่าวแทนท่าน”
นอกจากนี้ “สิ่งแวดล้อม” ที่ผู้สูงอายุอยู่อาศัยก็สามารถเป็นตัวการของปัญหาสุขภาพในช่วงร้อนได้เช่นกัน เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือมักจะมีปัญหาเรื่องของหมอกและควันไฟ รวมถึงวัฒนธรรมที่ถือเป็นกิจวัตรประจำวันของคนสูงวัยทางภาคเหนือ ที่มักชอบกวาดใบไม้และจุดไฟเผาใบไม้ จึงทำให้มีความเคยชินกับฝุ่นละออง แนะนำว่าควรเลิกกิจวัตรประจำวันดังกล่าว เพราะการสูดดมทั้งฝุ่นละอองจากพื้นดินและควันไฟดังกล่าว อาจทำให้ป่วยเป็น “โรคถุงลมโป่งพอง” หรือกระตุ้น “โรคปอด” ในรายที่ผู้เป็นโรคเรื้อรังดังกล่าวอยู่ก่อนหน้าแล้ว แนะนำว่าควรเปลี่ยนมาเป็นการนำเศษใบไม้มาหมักให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์จะดีที่สุด และในช่วงเวลากลางวัน หากผู้สูงอายุกำลังเก็บกวาดเศษวัชพืชดังกล่าว ก็ควรหมั่นจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำในช่วงหน้าร้อน
“อีกปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการที่คนสูงวัยสูดควันพิษจากการเผาเศษวัชพืชอย่าง ฟางข้าว ตรงนี้การปรับมาไถกลบแทน แม้ว่าจะค่อนข้างมีต้นทุนสูง แต่การที่ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนและเอาจริงเอาจัง เช่น การจัดหาเครื่องสำหรับย่อยเศษวัชพืชเหล่านี้ให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อสำหรับใช้เป็นปุ๋ยคลุมดินให้กับประชาชนได้ซื้อหามาใช้ในราคาที่ถูกลง ก็ถือเป็นช่วยดูแลสุขภาพของคนสูงวัยที่ประกอบอาชีพเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |