27 ก.พ. 62- องค์การเภสัชกรรม(อภ.) เปิด “โครงการผลิตสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ขององค์การเภสัชกรรม ระยะที่ 1 (การปลูกต้นกัญชาทางการแพทย์แบบ Indoor ด้วยระบบ Aeroponics)” อันถือว่าเป็นการปลูกกัญชาทางการแพทย์ ที่ถูกต้องตามกฎหมายแห่งแรกของอาเซียน เพื่อใช้ผลิตสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ในล็อตแรก จำนวน 140 ต้น คาดสามารถผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชา ล็อตแรก จำนวน 2,500 ขวด ใช้ทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยที่ร่วมโครงการวิจัย ได้ในเดือนกรกฎาคมนี้
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เป็นประธานในพิธี .) เปิด “โครงการผลิตสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ขององค์การเภสัชกรรม ระยะที่ 1 (การปลูกต้นกัญชาทางการแพทย์แบบ Indoor ด้วยระบบ Aeroponics)” พร้อมกับเปิดเผยว่าหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการยา เสพติดให้โทษที่ผ่านมา ได้อนุญาตให้อภ. ทำการปลูกกัญชาทางการแพทย์ พร้อมทั้งได้ลงนามในหนังสืออนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้อภ. ได้ดำเนินการปลูกกัญชาทางแพทย์ เพื่อเป็นวัตถุดิบนำมาสกัดเป็นสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชา และนำไปใช้การทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยที่ร่วมโครงการวิจัย และเพื่อเป็นประโยชน์การวิจัยเท่านั้น หากไม่ใช่เพื่อประประโยชน์ทางการแพทย์และการวิจัย กัญชาก็ยังเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และคาดว่าจะสามารถผลิตนำมาใช้ได้ในระยะเวลา 5 ปี
ด้าน นพ. โสภณ เมฆธน ประธานบอร์ด อภ. กล่าวว่า หลังจากได้มีการนำกัญชาของกลางมาทดลองในการผลิตยา พบว่ามีการปนเปื้อนโลหะหนัก และมีปริมาณสารปนเปื้อนสูงกว่ามาตรฐาน ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบได้ จึงทำให้มีการทำโครงการระยะสั้นปลูกกัญชาขึ้น โดยใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งการปลูกทำเป็นโรงเรือนระบบปิด สายพันธุ์ที่ปลูกเป็นกัญชาสายพันธุ์ลูกผสม และนำไปใช้ในการศึกษาวิจัย พัฒนา ด้านต่างๆ ทั้งด้านการศึกษาวิจัยการปลูก พัฒนาสายพันธุ์ ซึ่งการปลูกจะใช้ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 3-4 เดือน โดยประมาณเดือนกรฎาคม 2562 จะสามารถนำมาสกัดเป็นสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชาชนิดน้ำมันหยดใต้ลิ้น (Sublingual Drop) ได้ประมาณ 2,500 ขวด ขวดละ 5 มิลลิลิตร หรือประมาณ 10,000 ขวดต่อปี
ด้านนพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการอภ. กล่าวว่า ใช้เงินลงทุน 10ล้านบาท ในการสร้างพื้นที่ปลูกกัญชา 100 ตารางเมตร โดยล็อตแรก 140 ต้น การวิจัย พัฒนาสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ ตามแนวทางของหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลในการปฏิบัติที่ดีในด้านต่างๆตั้งแต่ต้นน้ำคือการเพาะปลูก จนถึงปลายน้ำคือผลิตภัณฑ์ถึงมือผู้ป่วย ซึ่งผู้ผลิตกัญชาทางแพทย์ชั้นนำของโลก
ผศ.ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์พืช กล่าวว่า ในส่วนของการใช้กัญชาที่ไม่ได้ใช้สายพันธุ์ไทย เพราะยังไม่ได้มาตรฐาน ของ THC และ CBD จึงได้มีการซื้อเมล็ดพันธุ์กัญชาที่ใช้ปลูก ที่เป็นสายพันธุ์ลูกผสม คัดมาแล้วจากต่างประเทศ โดยสารพันธุ์ที่คัดมานั้น จะต้องมีสาร THC และ CBD ที่ได้สัดส่วน ตรงตามโรค 4 โรค ที่ได้ประกาศ คือ กลุ่มสายพันธุ์ที่มี THC สูง กลุ่มที่มี CBD ต่ำ และ กลุ่มที่มี ทั้ง THC และ CBD เท่าๆกัน ซึ่งมีคุณภาพเมล็ดพันธุ์สูง ปลูกในอาคาร (Indoor) ด้วยระบบปิด ด้วยเทคโนโลยีระบบรากลอย (Aeroponics) ซึ่งเป็นระบบหนึ่งในระบบการปลูกกัญชาเกรดมาตรฐานทางการแพทย์ หรือ Medical Grade และใน 1 ปี สามารถเก็บผลผลิตได้ 4 รอบ มีระยะการเติบโตและออกดอก หลังจากนี้ 4 เดือน ก็จะสามารถเก็บดอกกัญชาแห้ง เข้าสู่กระบวนการสกัดในขั้นต่อไป
ด้าน นพ.วิฑูรย์ ผอ.อภ.กล่าวเสิรมในประเด็นนี้ว่า ประโยชน์ของสารสกัดจากกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์นั้น THC มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท แก้ปวด ต้านการอาเจียน และลดการอักเสบ CBD ระงับอาการวิตกกังวลและมีฤทธิ์ต้านการชัก โดยนำมาใช้ทางการแพทย์และการวิจัย ในกลุ่มที่ใช้เพื่อการรักษาโรค ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด โรคลมชักรักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีต่างๆไม่ได้ผล กลุ่มที่น่าจะใช้เพื่อควบคุมอาการ ได้แก่ โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทอักเสบ โรควิตกกังวล ผู้ป่วยที่ดูแลแบบประคับประคอง ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
“สำหรับการปลูกเพื่อให้ได้กัญชาในระดับ Medical Grade ใช้ทางการแพทย์นั้น ต้องมีการควบคุมการเพาะปลูกให้เป็นไปตามมาตรฐานทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ เทคโนโลยีการปลูก การเก็บเกี่ยวเป็นวัตถุดิบกัญชาแห้ง การรักษาความปลอดภัย ซึ่งการปลูกสามารถปลูกได้หลายวิธีแต่ต้องมีการความคุมทุกขั้นตอน การปลูกด้วยระบบนี้จะทำให้สามารถควบคุมสารอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานและได้ปริมาณสารสำคัญตามสัดส่วนและปริมาณ THC และ CBD ที่เหมาะสมสำหรับมาใช้ทางการแพทย์ และที่สำคัญจะไม่มีการปนเปื้อน โลหะหนักและยาปราบศัตรูพืช ซึ่งหากปลูกกัญชาบนดินทั่วๆไปแล้วธรรมชาติของกัญชาจะมีคุณสมบัติพิเศษที่ดูดซึมสารพิษเหล่านั้นได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น จึงเชื่อมั่นได้ว่าการปลูกด้วยระบบนี้จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเหมาะสมกับผู้บริโภค ตลอดจนมีมาตรการควบคุมความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย” นพ. วิฑูรย์ กล่าว
นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรมยังได้มีโครงการการปลูกกัญชาทางการแพทย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot Phase) โดยในระยะที่ 2 ใช้งบประมาณ 164.04 ล้านบาท ที่อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี บนพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร มีทั้งปลูกในอาคาร indoor และโรงเรือนปลูกพืช (greenhouse) ส่วนระยะที่ 3 การผลิตสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม (Industrial Phase) โดยเริ่มการปลูกและผลิตสารสกัดระดับอุตสาหกรรมแบบครบวงจรภายในเดือนมกราคม 2564 ที่พื้นที่อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |