การเมืองสีเขียว กับ "พรหม" นิวเด็มปชป. PM2.5-เปลี่ยนที่ร้างกรุงเทพฯ-สร้างเมืองกู้สวล.


เพิ่มเพื่อน    

        เทรนสิ่งแวดล้อมกำลังถูกยกขึ้น พูดถึงเป็นหัวข้อหลักๆ ในโลกอย่างต่อเนื่อง ภายใต้สถานการณ์ที่มนุษย์ต้องเผชิญกับความผันผวน ความสูญเสียจากสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม แผ่นดินไหว อากาศเปลี่ยนแปลง หนาวยะเยือก หรือ คลื่นความร้อนถาโถม

        โดยเฉพาะเมืองไทย คนกรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัดที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์วิกฤติของฝุ่น PM 2.5

        สนทนากับ ‘พรหม’ พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ผู้สมัครเขต 14 บึงกุ่ม คันนายาว กลุ่มนิวเด็ม พรรคประชาธิปัตย์

        ดีกรีนักเรียนนอก รัฐศาสตร์และการต่างประเทศจากคิงส์คอนเลจลอนดอน และปริญญาโทด้านนโยบายพลังงานและสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก

        ถือเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่อาสาเข้ามาทำงานด้านการเมือง ไม่ใช่มีแค่หัวใจ แต่เขามีความมุ่งมั่น มีประสบการณ์ที่น่าสนใจในการเตรียมตัวเข้าสู่วงการ โดยเฉพาะการใช้เวลาเพื่อฝึกฝน เก็บเกี่ยวประสบการณ์กับ ส.ส.นักการเมืองในประเทศอเมริกา ประเทศที่การเมืองในสภาร้อนแรง และนักการเมืองแต่ละคนนั้นก็เก๋าเกมจับตัวยากเช่นเดียวกัน

        พรหมเล่าย้อนหลังไปยังช่วงประสบการณ์ที่เขาฝึกงานกับ  ส.ส. Michael Honda จากพรรคเดโมเครต เขตแคลิฟอร์เนีย 17 ในฐานะผู้ช่วย ส.ส. เขาเรียนรู้บทบาทนักการเมืองในโลกประชาธิปไตยชั้นนำ และวิธีการทำงานอย่างน่าสนใจ

        “ผมเข้าไปในตำแหน่งผู้ช่วย ส.ส.อเมริกา รัฐแคลิฟอร์เนีย 3 ปี โดยทำงานด้านพลังงานกับสิ่งแวดล้อม ช่วย ส.ส. Michael ที่วอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งหน้าที่หลักคือทำงานด้านพลังงานสิ่งแวดล้อม โดยโปรเจ็กต์หลักๆ ที่ทำในช่วงนั้นคือคัดค้านโครงการสร้างท่อน้ำมันขนาดใหญ่ หรือคีย์สโตน เอ็กซ์แอล จากแคนาดา ซึ่งถูกต่อต้านจากนักเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง และมีการณรงค์ต่อต้านโครงการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถูกระงับโดยรัฐบาลโอบามาในขณะนั้น 

        พรหมระบุว่าหน้าที่ของเขา คือแนวร่วมในการต่อสู้ ทำงานข้อมูล และทำงานร่วมกับกลุ่มเคลื่อนไหว

        “ส.ส.ที่นั้นรณรงค์สิ่งแวดล้อม เขามีกลุ่ม ส.ส.ของอเมริกาเขาสามารถเสนอกฎหมายได้เลย ซึ่งแตกต่างจากระบบของเมืองไทย ซึ่งเขามีกลุ่มต่างๆ เข้ามา จันทร์ถึงพฤหัสบดี ส.ส. Michael อยู่ดี.ซี. พฤหัสบดีถึงวันอาทิตย์ กลับแคลิฟอเนียร์ เวลาที่เขาทำงานในสภาคือน้อยมาก แค่ 4 วัน เขาต้องกลับพื้นที่ตลอด อาจจะกลับมากกว่า ส.ส.เมืองไทยบางคนทีบ้านอยู่ใกล้ๆ ก็ได้ แต่ ส.ส.คนนี้กลับตลอดเพื่อลงพื้นที่ โดยนั่งเครื่องครั้งละ 6 ชั่วโมงทุกอาทิตย์ ขณะที่ช่วงเวลาที่เขาทำงาน  เวลานัดประชุม ต้องบุ๊กเวลาวอคแอนด์ทอล์กเพื่อเดินไปห้องประชุมสภา ซึ่งจะเดินประมาณ 15 นาที เพื่อเดินเสนองาน นั้นคือเวลาประชุมของผมกับท่าน ส.ส. หรือนั่งรถไฟ ซึ่งนี้คือเวลาที่เป็นไปตามตารางของ ส.ส.ว่าเราจะมีเวลาคุยเท่านี้ๆ”

        เมื่อถามเขาว่า เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง ส.ส.ที่อเมริกากับเมืองไทยอย่างไร เขาขยายความว่า

        “ผมเคยบอกว่า ท่านว่าผมอยากมาทำงานการเมืองในประเทศของผม ส.ส. Michael บอกว่าถ้าคุณอยู่ในสภาวะที่ต้องเลือก ระหว่างพรรคการเมือง กับคนประชาชน หรือคนในเขตของคุณ คุณต้องเลือกประชาชน เพราะท่านยอมแตกกับพรรคหลายรอบมาก ท่านบอกว่า พรรคการเมืองอาจส่งผมลงก็จริง แต่คนที่เลือกผมเข้ามาคือประชาชน” 

        พรหมถ่ายทอดประสบการณ์ ทำงานของ ส.ส.อเมริกา ช่วงเวลาที่เขาทำหน้าที่ ผู้ช่วย ส.ส.ที่นั้นว่า ในช่วงเวลาที่มีประเด็นฮอตในสังคม หรือพื้นที่ จะมีการเปิดสายตรง ซึ่งจะมีประชาชนโทรเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยทีมของเขาจะมี 17 คน ต้องช่วยกันรับโทรศัพท์ ต้องคุย ฟัง รับความคิดเห็น ความต้องการของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการร้องเรียน เรียกร้อง หรือเสนอแนะ

        เพื่อที่จะได้รับรู้ข้อมูล และเป็นการทำงานสื่อสารสองทาง ระหว่าง ส.ส.และประชาชน นอกจากนั้นเมื่อ ส.ส.ไมค์ กลับบ้านวันหยุด เขาจะเปิดบ้าน เพื่อให้คนสามารถเข้ามาพูดคุย โดยจะมีประเด็นต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม แล้วรับฟังความคิดเห็น  นี้คืองานของ ส.ส.ที่เขาเห็น

        เมื่อหันกลับมาถึง ความสนใจของเขาหลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากที่นั้น แน่นอนเขาสนใจการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในสถานการณ์ ปัญหาประเทศขณะนี้ในยุค ฝุ่น PM 2.5

        พรหมบอกว่า ปัญหาฝุ่นต้องย้อนกลับไปที่ต้นทางของปัญหา สำหรับในกรุงเทพฯ เมืองที่ท็อปเท็นอากาศแย่ที่สุดในโลกขณะนี้ เขาระบุว่าคือรถดีเซล

        ในฐานะคณะกรรมการนโยบายพรรคด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เราผลักดันนโยบายรถเมล์ยุคใหม่ รถเมล์ไฟฟ้า จะไม่มีดีเซลแล้ว เพื่อลดมลภาวะ รวมทั้งการสร้างพื้นที่สีเขียว เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวด้วยว่า “ที่ กทม.ซึ่งได้จากที่เวนคืนจำนวนมาก สิ่งสำคัญคือต้องเปลี่ยนที่ร้างเป็นสวน ปลูกต้นไม้ นอกจากจะได้สิ่งแวดล้อม เรายังมีพื้นที่สาธารณะ มอบให้ประชาชนได้มาร่วมกันทำกิจกรรม ไม่ว่าจะพักผ่อนหรือออกกำลังกาย“

        นอกจากนั้น เขายังมองไปถึงการบริหารจัดการขยะ ซึ่งถือเป็นต้นทางหนึ่งของปัญหาฝุ่นควัน “ที่ผ่านมานิวเด็มได้เปิดตัวนโยบายขยะพลาสติก นโยบายที่ผมชูย้ำนโยบาย พลาสติก นโยบายหลักของพรรคประชาธิปัตย์ การลดใช้ถุงพลาสติก ร้านใหญ่ที่มีพนักงานเกิน 250 คนต้องเก็บค่าถุง พลาสติก มีการรณรงค์เยอะ มีการได้แต้ม ผมมองว่ามาตรการทำได้สองแบบ ไม่เอาถุง ได้อะไร กับไม่เอาถุง เสียอะไร

        “ผมเชื่อว่าถ้าเอาถุงแล้วเสีย จะช่วยลดในการใช้ถุงได้มากกว่า เช่น จะเอาถุง ต้องซื้อ จ่าย 3 บาท ผมรู้สึกผมไม่อยากจ่าย มันต้องมีการเก็บในการลดใช้ เงินที่ได้จากการเก็บค่าถุงก็จะเข้ากองทุนพลาสติก ซึ่งกองทุนนี้มีหน้าที่เดียวคือ สนับสนุนผลิตภัณฑ์ทดแทน เช่น กล่องชานอ้อย จะมาแทนกล่องโฟมในอนาคต ตอนนี้ราคากล่องชานอ้อย 3 บาท กล่องโฟม 2 บาท ทำอย่างไรให้ราคามันอยู่เท่ากันหรือน้อยกว่า เรื่องขวด สนับสนุนการใช้ตู้คืนขวด คืนแล้ว ได้คูปอง”

        แทบจะเรียกได้ว่านักการเมืองไทยมีจำนวนน้อยมากที่สนใจในเรื่องประเด็นสิ่งแวดล้อม แต่พรหมมองว่าเขาคิดต่าง “เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญมาก ผมอยากจะทิ้งโลกใบนี้ให้ลูกหลานผมอยู่ ให้เด็กที่เกิดมารุ่นหลังของเรา ผมให้ความสำคัญเรื่องโลกร้อนมากเวลาลงพื้นที่เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก วันนี้คนอาจจะมองไม่เห็น แต่อีกสิบปียี่สิบปีในอนาคตอันใกล้มันจะวิกฤติขนาดไหน ตอนนี้แค่เบื้องต้นที่คนไทยเริ่มสนใจ   ผมอาสา เป็นหนึ่งแรง พูดโลกร้อน

        “เท่าที่สังเกต คนคิดว่าไกลตัว น้ำแข็งมันไกลตัวเรา แต่ประสบการณ์จากฝุ่น PM 2.5 ก็เป็นรูปธรรมที่สำคัญ เพราะคนเห็นกับตา เห็นผลกระทบ เห็นหมอกดำ เขารู้สึกมันใกล้ตัวแล้วแต่ปัญหาโรคร้อน คนมองไม่เห็นคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งที่มันมีจำนวนมาก ตราบใดที่คนยังมองไม่เห็น จึงไม่ตื่นตัว มันไกลตัว ถ้ามองเห็นจะใกล้ เช่น เรื่องฝุ่น ซึ่งเราจะทำอย่างไรในเรื่องโลกร้อน ซึ่งคนไม่เห็น แต่ทำให้เขารู้สึก ตระหนักว่ามันใกล้ตัวเขา โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ น่ากลัวเพราะเป็นเมืองต่ำ ถ้าในอนาคตน้ำทะเลยกระดับจะโดนน้ำท่วมจากสองทางมันจะอันตรายมาก“ พรหมระบุทิ้งท้ายถึงความกังวลของเขาในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมหากคนยังไม่ตระหนักถึงวิกฤติอันใกล้

        เชื่อเถิดว่าวันนี้ประเทศไทยยังมีความหวังกับนักการเมืองรุ่นใหม่ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และความมุ่งมั่น ตั้งใจ ขอเพียงประชาชนเปิดโอกาสให้พวกเขา.

 

นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ (พรหม)

ผู้สมัครเขต 14 บึงกุ่ม คันนายาว พรรคประชาธิปัตย์

การศึกษา

- ปริญญาโทด้านนโยบายพลังงานเเละสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัย นิวยอร์ก

- ปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์และการต่างประเทศจากคิงส์คอลเลจลอนดอน

 

ช่วงการเป็นทหาร

รับราชการอยู่สังกัด กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ผลัด 1/60

 

ประวัติการทำงาน

- อาจารย์พิเศษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- กรรมการ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาเสรีนิยมโลก (Liberal International)

- อดีตผู้ช่วย ส.ส.สหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอร์เนีย

- อดีตนักข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

 

ผลงานในพรรคประชาธิปัตย์

- กรรมการ คณะกรรมการนโยบายพรรค (ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม)

- ที่ปรึกษารองหัวหน้าพรรค

- ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร New Dem หรือกลุ่มคนรุ่นใหม่พรรคประชาธิปัตย์

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"