หลังแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือพีดีพี 2018 ได้มีความชัดเจนว่า ในปลายแผนจะมีกำลังการผลิตไฟเพิ่มเป็น 77,211 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 46,090 เมกะวัตต์ โดยในจำนวนนี้จะมีประมาณ 25,310 เมกะวัตต์ ที่จะถูกปลดออกจากระบบ และจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น 56,431 เมกะวัตต์ ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งมาจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 20,766 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับ 500 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าระบบโคเจเนอเรชั่น 2,112 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม 13,156 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์ 1,740 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าใหม่/ทดแทน 8,300 เมกะวัตต์ และรับซื้อจากต่างประเทศ 5,857 เมกะวัตต์
จากแผนพีดีพีดังกล่าวนั้นจะทำให้เห็นถึงนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐช่วงปี 61-80 ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าขยะ 400 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ 120 เมกะวัตต์ รวม 520 เมกะวัตต์ ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (เออีดีพี) ประกอบด้วย ชีวมวล 3,376 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ 546 เมกะวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์ 10,000 เมกะวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 2,725 เมกะวัตต์ พลังงานลม 1,485 เมกะวัตต์ ขยะอุตสาหกรรม 44 เมกะวัตต์ รวมแล้วจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ตามแผนเออีดีพี 18,176 เมกะวัตต์
และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการส่งเสริมของภาครัฐ ล่าสุดคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า ใบอนุญาตระบบจำหน่ายไฟฟ้า ใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (อ.1) และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้า (รง.4) ให้แก่ บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของ บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 26 เมกะวัตต์ (MW) ใช้กากอ้อย ใบอ้อย และชิ้นไม้สับ เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.น้ำปลีก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2561 กกพ.ได้มีมติให้ชะลอโครงการการดังกล่าวไปก่อน เนื่องจากมีกลุ่มอนุรักษ์ และกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ กกพ.เพื่อขอให้ระงับการอนุญาตและตรวจสอบข้อเท็จจริงในการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่อาจจะไม่ครอบคลุม และยังมีความห่วงใยกับผลกระทบต่อความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนรอบโรงไฟฟ้า
ดังนั้น เพื่อให้ครอบคลุมข้อร้องเรียน และประเด็นผลกระทบที่มีนัยสำคัญอย่างครบถ้วน โดยระบุไว้ในเงื่อนไขเฉพาะในท้ายใบอนุญาต กกพ.ได้รับทราบมาตรการเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ข้อวิตกกังวลของประชาชนเพิ่มเติมตามที่ตัวแทนกลุ่มบริษัทมิตรผลได้แสดงเจตจำนงยินดีที่จะจัดทำมาตรการดังกล่าว เพื่อเป็นโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในการดูแลผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งหากพบว่าฝ่าฝืนหรือไม่มีการปฏิบัติ และเกิดมลพิษและผลกระทบสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดให้หยุดการผลิตได้ทันที
พร้อมย้ำว่าการดำเนินงานของ กกพ.ตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการ และเคารพสิทธิต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ และตรงตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้”
อย่างไรก็ตาม จากนี้ก็คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าโรงไฟฟ้าเก่าที่หมดอายุ และโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะต้องสร้างขึ้นมาทดแทนนั้นจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมานั้นไม่ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าประเภทใด ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์,พลังงานหมุนเวียน, ลม, น้ำ หรือพลังงานสะอาดต่างๆ ต่างก็ถูกคัดค้านจากกลุ่มประชาชนบางกลุ่มที่มีเหตุผลสาระพัดเหตุของการไม่ยอมรับโรงไฟฟ้า บ้างก็เพื่อส่วนรวม บ้างก็เพื่อประโยชน์ส่วนตัว บ้างก็เพื่อพวกพ้อง
แต่ไม่ว่าจะเพื่อใครก็ตาม มีได้ก็ต้องมีเสีย ความเจริญมันมาพร้อมกับความสูญเสียแน่นอน ดังนั้นเมื่อต้องการความเจริญเข้ามาก็ต้องยอมรับความสูญเสีย แต่ต้องทำให้ความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นนั้นมันน้อยที่สุด และที่สำคัญคือต้องรู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีคุณค่า เพราะคุณ 1 คนก็สามารถรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานได้เหมือนกัน.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |