26ก.พ.62 -ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน มีการเสวนาวิชาการ หัวข้อ "เกือบ 5 ปี กฎหมายปฏิรูปตำรวจและการสอบสวน "ลุงตู่" ซุกไว้ที่ไหน จะมีผลบังคับใช้เมื่อใด?" จัดโดย เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ(คป.ตร.) หรือ Police Watch โดย ศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต อดีตคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมการพิจารณาร่างพรบ.ตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตอนนี้ประเทศไทยเรามีหลายเรื่องที่อยู่ในหมวดของการปฏิรูป เรื่องตำรวจเป็นเรื่องที่สองรองจากการปฏิรูปการศึกษา ชีวิตเราทุกวันนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันถ้าเราไม่ปฏิรูปตำรวจ ความเป็นธรรมก็ไม่เกิด รัฐธรรมนูญก็ไม่มีความหมาย ตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชน และอาจจะเป็นคนที่ตรงกันข้ามกับสิทธิมนุษยชน เราต้องมองว่าปัญหาของตำรวจก็อะไรและปัญหาของประชาชนคืออะไร เราจึงมีมาตรา 258 การเปลี่ยนแปลงมันยากลำบาก ถ้ามันง่ายก็คงสำเร็จตั้งแต่อดีต ปัญหาที่เกิดขึ้นมันมีปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ตั้งแต่โครงสร้าง ไปจนถึงกรอบของกฎหมาย เราต้องมองทั้งสองด้านว่า ตำรวจได้อะไร และประชาชนอยากได้อะไร
อดีตกรรมการพิจารณาร่างพรบ.ตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า เรามีคณะกรรมการ 2 ชุด ชุดนายอัชพร จารุจินดา และชุดพล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธานฯ ผลงานของชุดนายอัชพรได้มีการวางประเด็นต่างๆที่พยายามสร้างความถ่วงดุล มีการร่างเป็นกฎหมายผ่านครม.ไป ต่อมาทางครม.ก็ได้พิจารณาว่าเราตั้งชุดที่ทำในเรื่องกฎหมายเลยดีกว่าไหม มีคนสำคัญหลายคนร่วมเป็น กก. ให้เป็นการยกร่าง พรบ.ตำรวจแห่งชาติ ไปเลย รวมทั้ง พรบ.การสอบสวนคดีอาญา เป็นร่างที่สอง
“ใช้เวลาการยกร่าง 7 เดือน แล้วร่าง กฎหมายทั้งสองไปไหน เราอาจจะผิดคาดไปนิดหนึ่ง คือเราต้องการให้เป็นผลงานให้รัฐบาลชุดนี้ แต่ก็มีการเวียนร่างดังกล่าวไปสอบถามร่างดังกล่าวว่าเขาเห็นอย่างไร เมื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กก.ชุด อ.มีชัย ฤชุพันธุ์ พยายามร่างที่จะปัญหาให้ความทุกข์ของตำรวจ และแก้ปัญหาให้ประชาชน เรามองว่า ตำรวจอาจจะมีนายเยอะ มีหน้าที่ที่จะทำมากมาย ในเรื่องการสอบสวน มีความซับซ้อน เราไม่คิดถึงขนาดแยกฝ่ายป้องกัน ปราบปราม แยกสายสอบสวน จราจร โดยพูดด้วยว่า ตำรวจบางหน่วยไม่จำเป็นต้องมียศ หลายคนบอกว่าถ้าไม่มียศ ก็อาจจะไม่มีแรงดึงดูดใจ เรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่งคือ การทำงานในโรงพักเป็นหลัก เราไม่ต้องการได้ยินว่าเราขาดอัตรากำลัง กำลังหลักต้องไปอยู่ที่โรงพัก ตร.ต้องไม่ไปรับใช้นาย และการเปลี่ยนบทบาท ภาระหน้าที่บางหน่วย เช่น รถไฟ ป่าไม้ จราจร ”
ศ.ดร.อุดม กล่าวอีกว่า พรบ.ว่าด้วยการสอบสวนคดีอาญา คณะกก.ชุดนายอัชพรก็เคยได้ยินว่าจะเอาอัยการมาร่วมสอบสวนคดีอาญาที่สำคัญเพื่อให้การสอบสวนเป็นเรื่องเป็นราว มีทิศทางที่ชัดเจน พี่น้องประชาชนจะได้รับการบริการ เราพยายามที่จะช่วย ตร.ให้การเลื่อนยศและตำแหน่ง ไม่ต้องวิ่งเต้น มีการประเมินจากประชาชน ให้มีเกณฑ์อาวุโสจากการทำงาน ถ้าตร.มีความมั่นคง ได้รับการตอบแทนที่พอควร น่าเชื่อถือ ไม่ไปทำร้าย ละเมิดสิทธิประชาชน และให้เป็นความหวังของประชาชนได้ ตอนนี้เรามีเวลาไม่มาก และร่างนี้ก็เป็นร่างที่ยาว ผมไม่เชื่อว่าจะพิจารณาทันในสมัยนี้ แต่เมื่อมีการเขียนไว้ใน รธน.ยังไงก็จะต้องอยู่ในแผนยุทธิศาสตร์ชาติ เพื่อปฏิรูปประเทศต่อไป
“เราก็กลัวเหมือนกันว่าถ้าร่าง กฎหมายนี้เข้า สนช.แล้วจะเป็นอย่างไร การเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ยังลำบากเหมือนกัน ถ้าจะเปลี่ยนแปลงก็จะกระทบกับผลประโยชน์ของคนมาก ผมไม่แน่ใจว่า ถ้าเลือกตั้งแล้ว ฝ่ายการเมืองอาจจะมีการต่อรอง ใช้ตำรวจ พวกอำนาจนอกระบบก็ต้องใช้ตำรวจ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง ต้องมี political will และการเปลี่ยนแปลงแบบหักด้ามพร้าด้วยเข่ามันจะทำให้เสียเลือดเนื้อ คงต้องมีแผนและมีขั้นตอน”ศ.ดร.อุดม กล่าว
รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า ด้านหนึ่งตนมองว่าเป็นด้านดีเหมือนกันที่ร่างกฎหมายนี้ไม่เข้า สนช. เพราะมันอาจจะถูกบิดเบือนจากสนช.ชุดนี้แต่ด้านที่มองว่าเป็นโชคร้าย ก็คือเรื่องนี้เคยเป็นเงื่อนไขของการชุมนุม จนมีการัฐประหาร ก็มีการแสดงให้เห็นว่ามีความพยายามในปี 57 และมีกรรมการหลายชุดถึงชุดอ.มีชัย แสดงให้เห็นว่าคนเห็นปัญหาและการต้องการที่จะให้ ตร.ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีนัยยะว่า ตร. ต้องมีการสร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน แต่โชคร้ายที่มีคำสั่งที มีคำสั่งคสช. 88/57 77/59 ที่ ตร.คอยตั้ง ตร. จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน
“กลายเป็นว่า ผบตร.มีอำนาจในการรวมศูนย์อำนาจ โยกย้ายได้ทั่วประเทศ แล้วก็มายุบตำแหน่งพนักงานสอบสวน ไปสู่การไร้ประสิทธิภาพ ทำให้ผมทำใจแล้วว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่สามารถปฏิรูป ตร.ได้แน่ ในชุดนี้เขียนไว้หนึ่งปี ตั้งแต่มี รธน.นี้มาก็ใช้เวลา สองปี ไม่ทราบว่าเราฟ้อง ม.157 ได้หรือไม่ นอกจากนั้นมันมีปัจจัยที่ต้านการเปลี่ยนแปลง ของ ตร.ที่ยังมีอำนาจได้ผลประโยชน์จากโครงสร้างปัจจุบัน มีเครือข่ายอำนาจที่เชื่อมโยงกับอำนาจนักการเมืองบ้าง นักธุรกิจบ้าง ทำให้ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง จึงเอาร่างนี้ไปซุกอยู่”
รศ.ดร.พิชาย กล่าวต่อว่า เจตจำนงที่จะปฏิรูป มันมีผู้มีอำนาจที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ดังนั้นต้องดูว่าเราต้องการที่จะให้เขามีอำนาจต่อไปหรือไม่ พลังที่จะเข้ามาขับเคลื่อนในการเปลี่ยนแปลงยังมีไม่มาก และไม่ต่อเนื่อง กระแสปฏิรูปมีมากในปี 57 แต่ไม่มีการทำต่อ เหลืออยู่ไม่กี่คน เราต้องหาการเชื่อมโยงพลังต่างๆให้ได้ เช่นคนชั้นกลาง ต้องให้เห็นว่าปฏิรูป ตร. มันเชื่อมกับคนชั้นกลางแค่ไหน กำลังสอบอยู่ไม่ถูกแก๊งอันธพาลรบกวน แก๊งบวชวัดสิงห์ ก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะเมื่อโทรไป สน. ตำรวจก็จะมาหยุดการรบกวน ลูกหลานไปไหนมาไหนก็ปลอดภัย อีกประการหนึ่ง คนไทยจำนวนมากก็ยังใช้อภิสิทธิ์ เราก็จะใช้ ถ้ายังพึ่งพาโครงสร้างแบบเดิมๆ การเปลี่ยนแปลงก็จะไม่ มี และไม่ควรให้ ตร. ปฏิรูปตัวเอง มันต้องสร้างแรงกดดันจากภายนอก มันไม่ควรทำในช่วงนี้ ทำหลังเลือกตั้งดีกว่า ถ้าทำในช่วงนี้ เราก็ไม่สามารถมีส่วนร่วม ทุกอย่างมันอยู่ในกล่องดำ
“ดูแล้วรัฐบาลที่ไม่มาจากการเลือกตั้งมันทำให้หลักนิติรัฐมันถดถอย เราเจออำนาจเด็ดขาดใช้ ม.44 ในสังคมที่มีอำนาจขุนนาง มันทำให้เราติดลบไปมาก ทำให้เราต้องมาเริ่มของใหม่ นักการเมืองรับรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ข้าราชการ ตอนนี้คุณเนวิน ชิดชอบ กลับมาคิดถึงการกระจายอำนาจ นักการเมืองจะตอบสนองประชาชนมากกว่าข้าราชการระดับสูง เพราะข้าราชการมักไม่สนใจประชาชนเท่าไหร่ และเห็นว่าการปฏิรูปตำรวจเป็นพันธกิจของทุกพรรคการเมือง ประชาชนต้องถามว่าแต่ละพรรคมีจุดยืนอย่างไร ถ้าทำได้ การปฏิรูปอื่นๆก็จะตามมา”รศ.ดร.พิชาย กล่าว
น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า การทำงานด้านสิทธิมนุษยชน จะเห็นคนได้รับผลกระทบโดยตรงจากตำรวจ เรามีผู้ต้องขัง ตอนนี้มีคนในเรือนจำ 380000 คน ตอนนี้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรข้างนอก และยังมีครอบครัวที่อยู่ข้างนอกที่ได้รับผลกระทบอีกเฉลี่ย 5 คน คูณเข้าไปก็ล้านกว่าคน และเราก็มีผู้ต้องขังที่ไม่ได้กระทำผิดจริง สิ่งที่เรากระทำอยู่ตอนนี้มันเหมือนถูกซุกอยู่จริงๆ แล้วคอยให้มีบรรยากาศประชาธิปไตยไปก่อนถ้ายังไม่มีสามารถปฏิรูป ตร.ในตอนนี้ได้ ก็ขอให้ทำบางส่วนไปก่อน ในบางศาล หรือสถานี สำหรับ pilot project ถ้าลุงตุ่ ไม่ได้เป็นนายกฯอีกจะดีมาก ปล่อยให้เป็นการทำงานของ สส.สว.ใหม่ๆ และผู้ใหญ่น่าหยุดบ้างเพื่อให้ประชาธิปไตยจะเดินหน้าให้กับลูกหลาน
พ.ต.อ. วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร คอลัมนิสต์และผู้เขียนหนังสือ วิกฤติตำรวจและงานสอบสวนจุดดับกระบวนการยุติธรรมกล่าวว่า สถานการณ์ตำรวจมันหนักกว่าเก่ามาก เรามีปัญหาโครงสร้าง จนเรื่องแพะ แกะ ศพคนโดดน้ำตาย เอาศพนอนคอย ตำรวจข้ามคืน ศพมันโดดในเขตบางโพ ไปโผล่ที่ประชาชื่น ตำรวจ เกี่ยงกันว่าเรื่องมันอยู่ที่เขตใด ความจริงประชาชนไม่ควรไปเข้าคิว ควรนั่งฟังโทรศัพท์ที่โทรเข้ามาแจ้งให้ทราบความคืบหน้า ไม่ใช่มาเข้าคิวยาว อย่างที่เป็นอยู่ ร่างกฎหมาย 3 ฉบับ 1.แก้ป.วิอาญา 2.พรบ.ตำรวจแห่งชาติ 3.พรบ.สอบสวนคดีอาญา ถ้าทำได้เราแก้ปัญหาปฏิรูปตรวจได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ เราไม่ควรเอาเรื่องนี้มาต่อรองในเรื่องของอำนาจ เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนเดือนร้อนสาหัสสากรรจ์
“ร่างกฎหมายตั้งแต่ สปท. สปช. คุณอัชพร คุณมีชัย ครม. ยังไม่ไปถึง สนช. จึงไม่รู้ว่าตอนนี้ร่างอยู่ที่ใคร ส่วนกองบัญชาการภาคไม่มีประโยชน์ เอาเรื่องไปดอง มีคนทำงานปัจจุบันมีเกือบ 500 คน มันมีประโยชน์อะไร แทนที่จะเอาคนไปทำงานรับใช้ ประชาชน ส่วนเงินเดือน สวัสดิการ ตำรวจปัจจุบันไม่น้อย บางคนบำนาญเกือบเท่าเงินเดือน ตำรวจร้อยคนก็ไม่ได้ซื้อปืนให้ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ดูข่าวที่จ.อยุธยา ปืนหาย 11 กระบอก ปัญหาตร. ไม่ใช่เรื่องขาดอุปกรณ์ทำงาน แต่คือไม่มีกำลังใจมากกว่า และไม่ใช่เรื่องผลตอบแทนเงินเดือน”พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าว
พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวอีกว่า ร่างพรบ.ตำรวจ ที่ร่างมาพอใช้ได้ แต่ พรบ. สอบสวน ยังแยกไม่ขาด และที่เสนอให้แก้ไข ป.วิอาญา ก็ไม่เข้า ครม. เลยทำให้ไม่เอาอะไรสักอย่าง หรือมันอาจจะดีก็ได้ที่ไม่เข้า สนช.คนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากตร.ก็ไม่เดือดร้อน เพราะนายก อัยการ ผู้พิพากษาก็ไม่เดือนร้อน ไม่เคยถูกตรวจปัสสาวะ จึงเห็นด้วยกับ อ.อุดม ที่ว่าถ้าไม่ปฏิรูปตำรวจ รัฐธรรมนูญนี้ก็ไม่มีความหมาย ตอนนี้การปฏิรูปตร.ถูกดองไว้ เราต้องมีการส่งเสียงให้มากกว่านี้ เราต้องมีศาลจราจรในการเปรียบเทียบปรับ อย่างสมดุล เพราะพนักงานสอบสวนไม่ได้ใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมถ้าเราไม่ปฏิรูป เราจะเห็นการกระทบกระทั่ง ประชาชนไม่เชื่อถือ สังคมจะเกิดวิกฤติ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |