เล็งเปิดประมูล ปิโตรเลียมใหม่ ปตท.สผ.เริ่มลุย


เพิ่มเพื่อน    

    ก.พลังงานเล็งเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมรอบใหม่ สั่งกรมเชื้อเพลิงฯ ศึกษา มิ.ย.นี้หลังลงนามแหล่งเอราวัณ-บงกช พร้อมเดินเครื่องปี 65-66 ด้าน ปตท.สผ.ยันพร้อมลุยเต็มที่ เตรียมเสนอแผนต่อกระทรวงภายใน 45 วัน แย้มใช้งบดำเนินการกว่า 1 ล้านล้านบาทใน 10 ปี
    นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) เร่งรัดดำเนินการเปิดประมูลสำรวจและผลิตแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย โดยมีแผนเปิดให้บริษัทเอกชนที่สนใจเสนอตัวเข้าขอรับสิทธิสำรวจและผลิตแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่นำเข้าจากต่างประเทศในราคาสูง ช่วยประหยัดเม็ดเงินทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ โดยตั้งเป้าหมาย แม้จะมีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ก็เชื่อว่าจะสามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่องทันที
    ขณะเดียวกัน กระทรวงพลังงานได้ลงนามสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับบริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ร่วมกับบริษัท เอ็มพี จี2 (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานสำหรับแปลงสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทยหมายเลข G1/61 (แหล่งเอราวัณ) ปี 2565 และบริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ในสัญญาแบ่งปันผลผลิตสำหรับแปลงสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทยหมายเลข  G2/61 (แหล่งบงกช) ปี 2566 เป็นการยืนยันถึงความมั่นคงด้านพลังงานของไทย จะมีปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าวันละ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี
    "รัฐยืนยันว่าพลังงานใหม่จะทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติลดลงอยู่ที่ประมาณ 4 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู จากเดิมราคาประมาณ 6-7 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ซึ่งไม่เพียงส่งผลให้ค่าไฟจะไม่แพงขึ้นกว่าในปัจจุบันแล้ว แต่ยังทำให้ค่าไฟปรับลดลงได้อีกประมาณ 15-20 สตางค์ต่อหน่วย อยู่ที่ 3.4 บาทต่อหน่วย  จากเดิมราคาอยู่ที่ 3.6 บาทต่อหน่วย" นายศิริกล่าว
    นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากที่ได้รับทราบผลการประมูลก็ได้เตรียมทีมงานและงบประมาณไว้แล้วบางส่วน ในการทำแผนเพื่อยื่นต่อกระทรวงพลังงานภายใน 45 วัน ถึงการดำเนินงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้ง 2 แหล่ง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะต้องใช้งบประมาณกว่า 1 ล้านล้านบาทในการดำเนินงานตลอดแผน 10 ปี แบ่งเป็นแหล่งบงกชประมาณ 300,000-400,000 ล้านบาท และแหล่งเอราวัณ 600,000-700,000 ล้านบาท โดยเงินทุนทั้งหมดมาจากเงินสำรองของบริษัทและรายได้ที่เข้ามาในแต่ละปีเพื่อที่จะใช้บริหารจัดการ
    "เรายังมีกระแสเงินสดพอจึงไม่จำเป็นต้องกู้เงินมาใช้ และต้องยอมรับว่าเมื่อเปลี่ยนหลักเกณฑ์จากระบบสัมปทานมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต (พีเอสซี) ก็จะต้องมีการเตรียมตัวเยอะพอสมควร แต่เราก็มีความพร้อมที่จะเดินหน้าเต็มที่ และหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากผู้รับสัมปทานเก่าให้การเปลี่ยนผ่านนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้ในอนาคตก็มีแนวคิดที่จะให้บริษัทอื่นๆ เข้ามาร่วมดำเนินการในแหล่งใดแหล่งหนึ่งร่วมด้วย แต่เรื่องดังกล่าวยังต้องผ่านคณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้ถือหุ้นของบริษัทก่อน" นายพงศธรกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"