มองเศรษฐกิจโดยซีอีโอ


เพิ่มเพื่อน    

    
    เป็นประจำทุกปีของ PwC ประเทศไทย จะออกมาเผยผลสำรวจ Global CEO Survey โดยในปี 2562 นี้ พบว่าซีอีโออาเซียนเกือบครึ่งคาดแนวโน้มเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเติบโตลดลง ฉุดความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของรายได้ให้ลดลงตามไปด้วย สอดคล้องกับความเชื่อมั่นที่ซบเซาของซีอีโอทั่วโลก หลังเผชิญกับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งทางการค้า ความไม่แน่นอนทางการเมือง และสภาพเศรษฐกิจขาลงของกลุ่มประเทศมหาอำนาจ
    โดยผู้นำธุรกิจอาเซียนตระหนักว่าเอไอจะเข้ามาปฏิวัติธุรกิจของพวกเขาในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ก็ยอมรับว่ายังไม่พร้อมนำเอไอเข้ามาใช้งานเนื่องจากขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ และมีช่องว่างทางทักษะภายในองค์กร ซึ่ง PwC ก็แนะให้ซีอีโอเร่งเพิ่มพูนทักษะใหม่และอบรมทักษะเดิมให้แก่พนักงาน โดยเฉพาะทักษะทางด้านดิจิตอล เพื่อจัดทัพองค์กรให้พร้อมทำงานร่วมกับเอไอตั้งแต่วันนี้
    ขยายผลสำรวจของซีอีโอทั่วโลกครั้งที่ 22 ประจำปี 2562 (PwC’s 22nd Annual Global CEO Survey) จาก ศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร และหุ้นส่วนบริษัท PwC ประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลว่า ซีอีโออาเซียนเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะชะลอตัวจากปีก่อน นับว่าคล้ายคลึงกันกับมุมมองของซีอีโอโลก โดยพบว่าซีอีโออาเซียนถึง 46% เชื่อว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกปีนี้จะลดลงจากปีก่อน เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีเพียง 10% ขณะที่ซีอีโอโลก 28% ก็เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะชะลอตัว เปรียบเทียบจากปีก่อนที่ 5%
    สำหรับ 5 อันดับปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ และรายได้ในสายตาของซีอีโออาเซียนในปี 2562 ได้แก่ ความขัดแย้งทางการค้า 83% เทียบกับโลกที่ 70% ความไม่แน่นอนทางภูมิศาสตร์การเมือง 81% เทียบกับโลกที่ 75% ความไม่แน่นอนของนโยบาย 78% เท่ากับโลก กฎระเบียบข้อบังคับที่มากและเข้มงวดเกินไป 77% เทียบกับโลกที่ 73% และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก 73% เท่ากับโลก
    “ผลสำรวจในปีนี้สะท้อนให้เห็นว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงขาลง โดยซีอีโอมองประเด็นเรื่องของความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ความไม่แน่นอนทางการเมืองในหลายๆ ประเทศ รวมถึงสภาพแวดล้อมของกฎระเบียบและนโยบายต่างๆ ที่มีความเข้มงวดหรือมีมากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันการเติบโต โดยในปีนี้เปอร์เซ็นต์ของซีอีโออาเซียนที่มีมุมมองในเชิงลบยังมีมากกว่าซีอีโลกด้วย ซึ่งแตกต่างจากปีก่อนๆ ที่ผู้บริหารในฝั่งเอเชียมักมีความเชื่อมั่นมากกว่าซีอีโอจากฝั่งตะวันตก” นายศิระกล่าว
    ส่วนอุปสรรคสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของซีอีโออาเซียน ได้แก่ 1.การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ 82% 2.ภัยคุกคามทางไซเบอร์ 81% และ 3.ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 72%  และแน่นอนว่าการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะทางด้านดิจิตอล ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด จะส่งผลให้บริษัทสูญเสียโอกาสหลายๆ อย่าง ทั้งความสามารถทางการแข่งขัน การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ การขยายสู่ตลาดใหม่ๆ เป็นปัญหาใหญ่ของธุรกิจในอาเซียน โดยผู้นำธุรกิจอาเซียนยังมองด้วยว่า 3 อันดับตลาดน่าลงทุนที่จะช่วยผลักดันให้บริษัทของพวกเขาเติบโตได้ในปีนี้ ได้แก่ จีน 42% รองลงมาคืออินโดนีเซีย 24% และอันดับที่สาม คือสหรัฐอเมริกา 21% ตามลำดับ
    หากถามว่าอาเซียนพร้อมใช้เอไอปฏิวัติธุรกิจแล้วหรือยัง ....ในเรื่องนี้ศิระกล่าวต่อว่า ผู้นำธุรกิจต่างตระหนักดีว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หรือเอไอ กำลังเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจทั่วโลก โดย 72% ของซีอีโออาเซียนคาดว่าการปฏิวัติของเอไอจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อโลก ยิ่งกว่าการปฏิวัติทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเคยเกิดขึ้นในช่วงกลางของยุค 90s และ 87% ยังเห็นด้วยว่า เอไอจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจของตนอย่างมีนัยสำคัญในอีก 5 ปีข้างหน้า
    ในยุคที่หุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างเช่นทุกวันนี้ ภาครัฐ ผู้นำองค์กร รวมถึงพวกเราทุกคนควรต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเองด้วยการเพิ่มพูนทักษะใหม่ และฝึกฝนอบรมทักษะเดิมอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานทักษะทางด้านดิจิตอล การคิดวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้เหตุผล ด้านสถาบันการศึกษาเองควรส่งเสริมหลักสูตรสะเต็มศึกษาอย่างต่อเนื่อง จะเป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ให้แก่บุคลากรที่กำลังจะถูกป้อนออกสู่ตลาดแรงงาน โดยไม่ลืมที่จะปลูกฝังทักษะทางด้านอารมณ์ควบคู่กัน.

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"