อีสท์ วอเตอร์ เปิดเผยความสำเร็จโครงการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สู่การบริหารจัดการน้ำต้นทุนให้มีศักยภาพการใช้งานสูงสุด เชื่อมโยงข้อมูลแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดระยอง เพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงระบบส่งน้ำชลประทานรองรับพื้นที่ EEC คาดทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์เน้นบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืน
บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ (EASTW) เปิดเผยความสำเร็จของโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำต้นทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการที่เน้นการเชื่อมโยงข้อมูลแหล่งน้ำทั้งหมดในภาคตะวันออก ที่ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลแหล่งน้ำทั้งหมดในภาคตะวันออกของกรมชลประทานและอีสท์ วอเตอร์อย่างบูรณาการ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรมอย่างแท้จริง
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ เปิดเผยว่า “การจัดทำโครงการบริหารจัดการน้ำครั้งนี้ เพื่อให้ทราบสถานะของน้ำที่มีอยู่ และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำในปัจจัยต่างๆ เพื่อหาแนวทางเลือกในการวางแผนการผันน้ำได้อย่างเหมาะสมตามเงื่อนไขที่กำหนด สามารถลดการใช้พลังงานและให้บริการได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โครงการบริหารจัดการแหล่งน้ำนี้ถือเป็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะสร้างความยั่งยืนมั่นคงและจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง”
โครงการบริหารจัดการแหล่งน้ำเริ่มต้นด้วยการพัฒนาแบบจำลองการบริหารแหล่งน้ำต้นทุนและการสูบจ่ายน้ำหรือEnergy and Resources Management System Project (EWMS) การพัฒนาโครงข่ายระบบคาดการณ์และติดตามสถานการณ์น้ำ จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านชลประทานของโครงการ แสดงรายละเอียดแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดิน พื้นที่ชลประทาน ชนิดพืชที่เพาะปลูก ตามแนวคลองส่งน้ำ สถานีสูบน้ำ ท่อส่งน้ำ และอาคารชลประทานทั้งหมดในพื้นที่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการเพาะปลูกและแผนการส่งน้ำชลประทานได้ มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดค่าระดับน้ำ และกล้อง CCTV เพิ่มเติมในตำแหน่งต่างๆ ของอ่างเก็บน้ำดอกกราย หนองปลาไหล และคลองใหญ่ รวมถึงคลองผันน้ำอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-หนองปลาไหล เพื่อให้สามารถติดตามสถานการณ์น้ำจากแหล่งน้ำสำคัญในพื้นที่ภาคตะวันออกได้อย่างแม่นยำ และทำการเชื่อมโยงเข้ากับโครงข่ายการตรวจวัดข้อมูลระบบท่อส่งน้ำของอีสท์ วอเตอร์ เพื่อสนับสนุนการประมวลผลของระบบ EWMS ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนี้ยังมีการสำรวจสภาพแนวคลองและอาคารบังคับน้ำอาคารชลประทาน อาคารส่งน้ำทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของคลองส่งน้ำสายใหญ่ของโครงการชลประทานระยอง ทั้งหมด 235 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบชลประทานในพื้นที่ นำข้อมูลจากการสำรวจศึกษาสาเหตุและเสนอแนะแนวทางในการซ่อมแซมปรับปรุงคลองส่งน้ำและอาคารชลประทาน เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำของโครงการชลประทานระยอง มีการสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการเตรียมความพร้อมของกลุ่มเกษตรกรให้สามารถบริหารจัดการผลผลิตได้
โครงการบริหารจัดการแหล่งน้ำนี้ถือเป็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ระหว่างอีสท์ วอเตอร์ และกรมชลประทานที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการชลประทาน เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการที่เน้นการเชื่อมโยงข้อมูลแหล่งน้ำทั้งหมดในภาคตะวันออก จะช่วยลดการสูญเสียน้ำและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำของโครงการชลประทานระยองได้เป็นอย่างดี ช่วยให้แหล่งน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ มีปริมาณคงเหลือเพิ่มขึ้น ลดการใช้พลังงานในการผันน้ำจากแหล่งที่ห่างไกลและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ตลอดจนช่วยขับเคลื่อนจีดีพีให้กับประเทศซึ่งเมื่อโครงการนี้ดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |