โพลยันคนส่วนใหญ่เลือกพรรคมากกว่าตัวบุคคล พวกลูกท่านหลานเธอ ทายาทนักการเมืองหนาว ประชาชนแค่ 0.13% ที่สนใจ อึ้ง 58% ยังไม่แน่ใจจะไปหย่อนบัตรหรือไม่
เมื่อวันอาทิตย์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่องคุณสมบัติของ ส.ส. และพรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการ ที่ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20-21 ก.พ.2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวม 1,253 หน่วยตัวอย่าง
ทั้งนี้ ผลสำรวจเมื่อถามถึงการเลือกตั้งที่จะถึงนี้จะตัดสินใจลงคะแนนโดยการเลือกบุคคล (ผู้สมัคร ส.ส.) หรือพรรคการเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 36.39% ระบุว่าพรรคการเมือง รองลงมา 32.64% ระบุว่าทั้งบุคคล (ผู้สมัคร ส.ส.) และพรรคการเมือง และ 30.97% ระบุว่าบุคคล (ผู้สมัคร ส.ส.)
เมื่อถามถึงคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.ที่จะเลือก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 23.71% ระบุว่ามีผลงานเป็นที่ประจักษ์, 22.46% ระบุว่า ส.ส.ที่ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน, 20.45% ระบุว่ามีความรู้ความสามารถ, 10.66% ระบุว่าไม่มีประวัติด่างพร้อย, 9.16% ระบุว่าเป็นคนรุ่นใหม่, 5.65% ระบุว่ามีประสบการณ์ทางการเมือง (เคยเป็น ส.ส./ส.ว./ส.จ./นักการเมืองท้องถิ่น), 3.26% ระบุว่าสังกัดพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายที่ถูกใจ, 3.14% ระบุว่าสังกัดพรรคการเมืองที่ชื่นชอบ, 1.38% ระบุว่าเป็นลูกหลานของคนในพื้นที่/อยู่ในท้องถิ่นเดิม และ 0.13% ระบุว่าเป็นทายาทนักการเมือง/ผู้มีชื่อเสียง
ท้ายสุดเมื่อถามถึงคุณสมบัติของพรรคการเมืองที่จะเลือก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 41.97% ระบุว่า นโยบายพรรค รองลงมา 38.50% ระบุว่าผลงานที่ผ่านมาดีเป็นที่ประจักษ์ทำได้จริง, 7.63% ระบุว่าจุดยืนของพรรค, 6.47% ระบุว่าหัวหน้าพรรค, 3.01% ระบุว่ามีผู้สมัคร ส.ส.ที่ชื่นชอบอยู่ในพรรค, 1.5% ระบุว่าเป็นพรรคที่ได้รับการจัดตั้งเป็นรัฐบาลหลายครั้ง และ 0.92% ระบุว่าผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในพรรค
ขณะที่ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง ถ้าพรรคที่ชอบถูกยุบจะเลือกใคร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,337 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-23 ก.พ.2562 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ หรือ 59.7% ติดตามข่าวการเมืองบ่อย ในขณะที่ 35.9% ไม่บ่อย และ 4.4% ไม่ติดตามเลย เมื่อถามถึงความกังวลต่อความวุ่นวายช่วงเลือกตั้ง พบว่า คนที่กังวลมีสัดส่วนลดลงจาก 72.5% ในช่วงวันที่ 10-16 ก.พ. เหลือ 54.8% ในช่วง 20-23 ก.พ. และกลุ่มคนที่ไม่กังวลเพิ่มขึ้น จาก 27.5% มาอยู่ที่ 45.2%
ที่น่าพิจารณาคือ 35.3% ตั้งใจจะไปเลือกตั้งอย่างแน่นอน ในขณะที่ส่วนใหญ่ หรือ 58% ยังไม่แน่ใจ และ 6.7% ไม่ไป นอกจากนี้ ถ้าพรรคการเมืองที่ชอบถูกยุบจะเลือกพรรคใด พบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือ 34.1% มีพรรคสำรองในใจแล้ว เช่น พรรคภูมิใจไทย (ภท.), พรรคเพื่อไทย (พท.), พรรคอนาคตใหม่ (อนค.), พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.), พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.), พรรคเสรีรวมไทย (สร.) และพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) เป็นต้น ในขณะที่ 28.1% ยังไม่มีพรรคใด และ 37.8% ระบุอื่นๆ เช่น จะยังเลือกพรรคเดิม ไม่ขอออกความเห็น ไม่เลือก เป็นต้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |