อีก 1 เดือนเลือกตั้ง โพลระบุพลังเงียบเกินครึ่งของผู้ใช้สิทธิยังไม่ตัดสินใจ ขณะที่เพื่อไทยยังนำ แต่ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐหายใจรดต้นคอ ส่วนนายกฯ "บิ๊กตู่" ได้รับความนิยมมากสุด "ธนาธร" พุ่งพรวด! จับตาคนชอบกับไม่ชอบรัฐบาล คสช.เท่ากัน
เนื่องในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่จะถึงนี้ เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “นับถอยหลัง 28 วัน สู่การเลือกตั้ง” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,506 คน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 95.6 ตั้งใจว่าจะไปเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 24 มี.ค.62 ที่จะถึงนี้ ขณะที่ร้อยละ 2.1 ตั้งใจว่าจะไม่ไป ส่วนที่เหลือร้อยละ 2.3 ยังไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่า สโลแกนนโยบายพรรคที่เห็นหรือได้ยินแล้วสนใจมากที่สุด คือ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส (พรรคเพื่อไทย) คิดเป็นร้อยละ 37.4 รองลงมาคือ นโยบายแก้จน สร้างคน สร้างชาติ (พรรคประชาธิปัตย์) คิดเป็นร้อยละ 34.1
ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน เพื่อแก้ปัญหาปากท้องประชาชน (พรรคภูมิใจไทย) คิดเป็นร้อยละ 23.1, 7:7:7 สวัสดิการ สังคม เศรษฐกิจประชารัฐ (พรรคพลังประชารัฐ) คิดเป็นร้อยละ 21.5 และเพิ่มคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาปากท้อง พร้อมสานต่อปฏิรูปจริงจัง (พรรคชาติไทยพัฒนา) คิดเป็นร้อยละ 20.7
เมื่อถามว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ท่านตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคใดมาบริหารประเทศ” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.7 ตั้งใจจะเลือกพรรคเพื่อไทย (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 2.4) รองลงมาร้อยละ 10.6 ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3) และร้อยละ 10.2 ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชารัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2) ขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.7 ยังไม่ตัดสินใจ (ลดลงร้อยละ 14.5)
สุดท้ายเมื่อถามว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ท่านจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 15.1 จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1) รองลงมาร้อยละ 11.0 จะสนับสนุนคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9) และร้อยละ 9.0 จะสนับสนุนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4) ขณะที่ร้อยละ 47.2 ยังไม่ตัดสินใจ (ลดลงร้อยละ 12.2)
ด้าน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง อยากเห็นอะไรหลังเลือกตั้ง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,326 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 17-22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามถึงการติดตามข่าวสารการเมือง พบว่า ประชาชนเริ่มติดตามข่าวการเมืองเข้มข้นลดลงจากต้นเดือนกุมภาพันธ์ จากร้อยละ 66.4 ในช่วงวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 55.4 ในช่วง 17- 22 กุมภาพันธ์ ที่ระบุว่า ติดตามบ่อยๆ แต่มาเพิ่มจำนวนคนที่ติดตามข่าวสารการเมืองไม่บ่อย จากร้อยละ 30.5 เป็นร้อยละ 39.7 ในขณะที่คนไม่ได้ติดตามเลยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 3.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.9
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงจุดยืนทางการเมือง พบว่า กลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาล และกลุ่มคนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลมีจำนวนมากพอๆ กัน คือ ร้อยละ 17.6 สนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 17.7 ไม่สนับสนุนรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 ระบุเป็นพลังเงียบ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงสิ่งที่อยากเห็นหลังชัยชนะของนักการเมืองหลังเลือกตั้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.1 อยากเห็นบ้านเมืองสงบ ไม่วุ่นวาย รองลงมาคือ ร้อยละ 9.8 ระบุชนะแล้วคนไทยมีงานทำ ไม่อดอยาก แก้ปัญหาปากท้อง ทำตามนโยบาย ช่วยเหลือประชาชน เป็นต้น, ร้อยละ 4.7 ระบุผู้ชนะมีอำนาจตั้งพวกพ้องสู่ตำแหน่ง ในขณะที่ร้อยละ 2.0 ระบุผู้ชนะร่ำรวย พวกพ้องรวยตาม และร้อยละ 1.4 ระบุชนะแล้วบ้านเมืองแตกแยก
เมื่อวิเคราะห์สิ่งที่ประชาชนอยากเห็น หลังชัยชนะของนักการเมือง จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง พบว่า ทุกกลุ่มส่วนใหญ่อยากเห็นบ้านเมืองสงบ ไม่วุ่นวาย หลังชัยชนะของนักการเมือง แต่กลุ่มที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลมีสัดส่วนที่อยากเห็นความสงบ ไม่วุ่นวายน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 68.8 เปรียบเทียบกับกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบ ที่อยากเห็นความสงบของบ้านเมือง ไม่วุ่นวาย หลังชัยชนะของนักการเมือง คือร้อยละ 85.1 และร้อยละ 84.9 ตามลำดับ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |