"ธรรมฤทธิ์ จิรา" นักสะสมคนไทย ผู้ส่งมอบโบราณวัตถุบ้านเชียง-แม่น้ำมูล104ชิ้นอายุ1,800-5,000 ปีให้กรมศิลป์ฯดูแล


เพิ่มเพื่อน    


 

22 ก.พ. 62- เหตุผลที่นายธรรมฤทธิ์ จิรา นักสะสม ผู้ครอบครอง โบราณวัตถุและศิลปโบราณ รส่งมอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสมัยบ้านเชียงอายุ1,800-5,000 ปี  จำนวน 104 รายการ  เพือเป็นสมบัติของชาติ และุอยู่ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร โดยได้มีการนำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุบางส่วนมาจัดแสดง ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 

 นายธรรมฤทธิ์ จิรา กล่าวว่า ครั้งหนึ่งได้เคยไปเห็นโบราณวัตถุบ้านเชียง จัดโชว์อยู่ที่ประเทศอเมริกา ทำให้เกิดความรู้สึกชอบและอยากสะสม เพราะทำให้เห็นอารยธรรม และความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อน ของสะสมส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ ที่ได้มากจากพ่อบ้าง และคนอื่นให้มาบ้าง และก็มีซื้อเองด้วย  มีทั้งเครื่องปั้นดินเผา สำริด กระเบื้องโบราณทั้งไทยและจีน และภาพวาด แต่ชิ้นที่นำมามอบให้ทั้ง 104 ชิ้น ของทั้งหมดที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาอสำริด ที่ยังคงเหลือเก็บไว้ก็จะเป็นกระเบื้อง ภาพวาด และงานอาร์ต และจะไม่มีการซื้อเพิ่มอีก 

เครื่องประดับสมัยประวัติศาสตร์ภาคกลาง

“มีหลายชิ้นที่ชอบและรัก ทุกชิ้นจึงพิเศษ และบางชิ้นก็หาได้ยาก หรือไม่สามารถนำออกนอกประเทศได้ อย่างชิ้นที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ที่ไม่สามารถนำออกนอกประเทศได้ หรือ ชิ้นที่อยู่ลึกในดินดำ ที่ค่อนข้างมีความสมบูรณ์ ส่วนใหญ่จะมีอายุราวๆ 3,500 ปี หรือชิ้นที่เป็นกำไล หรือสำริด ที่มีความสวยงามและผมก็ชื่นชอบมาก  โดยก่อนที่จะนำมามอบให้กับกรมศิลปากร ได้มีการปรึกษากับลูกๆ เพราะผมก็อายุมากขึ้น และคิดว่าหากมอบให้ก็จะได้รับการดูแลรักษาอย่างดี และยังแบ่งปันให้กับผู้อื่นให้ได้ชมด้วย เพราะอย่างไรถึงแม้ว่าของเหล่านี้จะไม่ได้อยู่ที่บ้านแล้ว แต่เราก็ยังสามารถเดินทางมาชมได้ และอยากให้คนที่สะสมของวัตถุโบราณได้นำมาแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ขมด้วยเช่นกัน” ธรรมฤทธิ์ กล่าว 

ครอบครัวจิรา นำชมโบราณวัตถุ

 สำหรับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ได้รับการมอบให้เป็นสมบัติของชาติในครั้งนี้ มีโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุราว 1,800 – 4,300 ปีมาแล้ว ประกอบด้วยเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้สำริด เครื่องประดับทำด้วยหิน แก้ว และเปลือกหอย บางชิ้นได้รับการซ่อมแซมต่อเติมให้มีสภาพสมบูรณ์ และมีวัตถุจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นศิลปวัตถุทำขึ้นเลียนแบบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่สามารถกำหนดอายุสมัยตามแหล่งที่มาได้ อาทิ 


   1.กลุ่มโบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคกลาง  หลักฐานประเภทภาชนะดินเผาที่พบ ที่มีลักษณะโดดเด่นคือ ภาชนะดินเผาทรงก้นกลม คอคอด ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่มีฐานเตี้ย และไม่มีฐาน ภาชนะดินเผาที่มีลักษณะพิเศษของวัฒนธรรมนี้น่าจะได้แก่ภาชนะดินเผาทรงพานสูง และทรงบาตร  นิยมตกแต่งผิวภาชนะด้วยการทาน้ำดินสีแดง กดประทับด้วยลายเชือกทาบ หรือขูดขีดด้วยเครื่องมือปลายแหลม  มีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ อาทิ แหล่งโบราณคดีบ้านพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวดลพบุรี กำหนดอายุราว 1,500 - 2,500 ปีมาแล้ว

กลุ่มโบราณวัตถุกระดึงสำริด และดินเผาในลุ่มแม่น้ำมูล

   2.กลุ่มวัฒนธรรมลุ่มน้ำสงคราม หรือกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี สกลนครและหนองคาย หรือกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง ภาชนะดินเผาในกลุ่มนี้มีรูปทรงที่หลากหลาย และสามารถจำแนกลักษณะออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ 2.1 ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุระหว่าง 3,000 – 4,300ปีมาแล้ว เป็นภาชนะดินเผาสีดำหรือเทาเข้ม มีเชิงหรือฐานเตี้ย ตัวภาชนะมักจะตกแต่งด้วยลายขีดเขียนเป็นเส้นคดโค้ง ลายเชือกทาบ และลายกดประทับ 2.2 ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 2,300 - 3,000 ปี ลักษณะเด่น คือ มีขนาดใหญ่ ผิว นอกเป็นสีขาว ไหล่ภาชนะหักเป็นมุม มีทั้งแบบก้นกลมและก้นแหลม บางใบมีการตกแต่งด้วยลายขีดผสมกับลายเขียนหรือทา ด้วยน้ำดินสีแดง 2.3 ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 1,800 - 2,300 ปี นิยมเขียนลายและตกแต่งภาชนะด้วยสีแดง เป็นลวดลายที่สื่อถึงความหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ อาทิ ลายงู  ลายก้นหอย และลายรูปสัตว์ เป็นต้น โบราณวัตถุกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่นายธรรมฤทธิ์ จิรา มอบในครั้งนี้ ยังประกอบไปด้วย เครื่องมือเครื่องใช้โลหะ ซึ่งบ่งบอกถึงการสร้างสรรค์งานโลหะกรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมบ้านเชียง ได้แก่ เครื่องประดับสำริด

เครื่องปั้นดินเผายุตก่อนประวัติศาสตร์แม่น้ำมูล

 

   3.โบราณวัตถุกลุ่มแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ลุ่มแม่น้ำมูล  ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล พบวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปทรงหลากหลาย ที่โดดเด่นคือแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง จังหวัดอุบลราชธานี ภาชนะดินเผากลุ่มนี้จะมีลักษณะพิเศษ คือ มีเนื้อดินสีส้ม การตกแต่งด้วยการขูดขีดที่บริเวณขอบปาก วัตถุประเภทเครื่องมือเครื่องประดับ เครื่องใช้สอยสำริด พบว่าเทคนิคการผลิตเพื่อใช้หล่อสำริดมีฝีมือประณีต ซับซ้อน มีเทคนิคและลวดลายกับเครื่องสำริดในคล้ายกับวัฒนธรรมดองเซิน ประเทศเวียดนาม กำหนดอายุสมัยอยู่ในราว 1,500 - 2,500 ปีมาแล้ว ภาชนะดินเผาและวัตถุทางโบราณดีต่างๆ เหล่านี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในการใช้ศึกษาวิเคราะห์ถึงวิถีชีวิตมนุษย์สมัยโบราณในแง่มุมต่าง ๆ ได้ อาทิ พฤติกรรมด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี ศิลปะ และสังคม เป็นหลักฐานในการจัดลำดับอายุสมัย และบ่งบอกช่วงเวลาของวัฒนธรรมและชุมชนในแหล่งโบราณคดีนั้น ๆ เป็นหลักฐานในการคำนวณความหนาแน่นของประชากร

 ภาชนะทรงก้นหม้อ โบราณวัตถุภาคกลาง และโบราณวัตุชิ้นอื่นๆ

เครื่องประดับสมัยประวัติศาสตร์ภาคกลาง


ด้าน นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ) กล่าวว่า วธ.ตระหนักถึงความสำคัญของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ มรดกอันล้ำค่าของชาติ จึงมีนโยบายในการติดตามหรือขอคืนโบราณวัตถุของไทยที่อยู่ในต่างประเทศให้กลับมาเป็นสมบัติของชาติ โดยบูรณาการความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนภาคส่วนต่าง ๆ และในช่วงที่ผ่านมา ได้รับคืนโบราณวัตถุของไทยจากประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย จำนวน 8 ครั้ง รวม 751 รายการ และในครั้งนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2561 วธ.ได้รับการติดต่อจากนายธรรมฤทธิ์ จิรา ว่ามีความประสงค์จะส่งมอบโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมบ้านเชียง อายุราว 1,800 - 5,000  ปี จำนวน 104 รายการ ไว้เพื่อเป็นสมบัติของชาติ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประชาชนแสดงเจตจำนงจะมอบโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า จำนวนมากให้กับราชการ

ภาชนะดินเผาบ้านเชียงสมัยตอนต้น

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"