หากพูดถึงหนึ่งในผู้สมัคร ส.ส.หน้าใหม่ ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในรอบเดือนที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ คิด "ภูวพัฒน์ ชนะสกล” ตัวแทนจากพรรคเสรีรวมไทย เขตพญาไท ราชเทวี และจตุจักร (แขวงจตุจักรและจอมพล) วัย 30 ปี จากภาพหาเสียงในโซเชียลมีเดีย ที่เอารายละเอียดรอบตัวและเรื่องที่เป็นกระแสสังคม มานำเสนอได้อย่างสร้างสรรค์ และเรียกความสนใจจากคนที่ใช้โซเชียลมีเดียได้เป็นจำนวนมาก
เขาเล่าให้ฟังถึงสาเหตุที่ตัดสินใจเข้ามาเล่นการเมืองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนปี 49 ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อทั้ง 2 ฝ่ายเลย แต่ตอนนั้นเราไม่ได้เลือกข้าง ได้แต่รับฟังข้อมูล แต่มารู้สึกถึงผลกระทบจริงๆ ตอนเรียนปริญญาตรีช่วงปี 53 เพราะที่บ้านทำธุรกิจค้าขายอยู่บริเวณประตูน้ำ พอมีการชุมนุมทำให้เกิดโดยกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากนั้นก็เริ่มสนใจจริงจังมากขึ้น เริ่มฟังข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย ต่อมาหลังจากจบปริญญาโท ช่วงต้นปี 61 ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมงานกับท่านเสรีพิศุทธ์ เข้าไปช่วยในงานพรรค ก่อนได้รับโอกาสมาเล่นการเมืองในที่สุด
แนวทางการหาเสียง ได้แนวคิดมาจาก
ท่านเสรีพิศุทธ์ให้เสรีภาพในการหาเสียงอยู่แล้ว ขณะที่ตนเองยึดหลักในการหาเสียงคือ หัวหน้าพรรคและพรรคต้องไม่เสียหาย พร้อมการทำการเมืองแบบใหม่ ที่ไม่หยาบคายและไม่สาดโคลน และดึงความสนใจของคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาสนใจการเมือง และเปิดใจรับฟังข้อมูลจากทุกด้านไปด้วยกัน
“คนไทยไม่ชอบแชร์อะไรดีๆ แต่ชอบแชร์อะไรที่แย่ไปเลย หรือเรื่องที่ตลกมากๆ ในฐานะที่มาเป็นนักการเมือง เราต้องมีเส้นระหว่างความครีเอทีฟและความน่าสนใจ ซึ่งเรื่องนี้เราคิดกันเอง กุญแจสำคัญคือการนำสิ่งที่เราต้องการนำเสนอไปโยงกับสิ่งที่คนรุ่นใหม่สนใจ ให้ออกมาตอบโจทย์สังคม จากผลตอบรับที่ผ่านมาสำหรับตนนั้นถือว่าน่าพอใจ ที่สำคัญกว่าคือ ผมเชื่อว่าสิ่งที่ผมทำเป็นการจุดกระแสให้ผู้สมัครรุ่นใหม่ในพรรคอื่นกล้าที่จะปล่อยความคิดสร้างสรรค์กันออกมาด้วย”
การเมืองใหม่ ในมุมมอง
ที่ผ่านมามีคนไทยบางส่วนบอกว่าพวกเขารับได้ หากมีการทุจริต แต่ประเทศพัฒนา ซึ่งเรื่องนี้ตนรับไม่ได้ เพราะมองว่ามันไม่ใช่เรื่องปกติ หากยังปลูกฝังให้มีความเชื่อเช่นนี้กันอยู่ สุดท้ายจะกลายเป็นว่าการทุจริตกลายเป็นเรื่องปกติในสังคม ทั้งที่เราสามารถนำทรัพยากรจากการทุจริตนั้นเอาไปต่อยอดพัฒนาให้เต็มขีดความสามารถได้ดีกว่าเดิม แล้วไอ้เรื่องเหล่านี้ก็ถูกยกมาโจมตีกัน กลายเป็นการสาดโคลน ป้ายความผิดใส่กัน แต่น้อยมากๆ ที่จะคุยกันอย่างสร้างสรรค์ แม้ตนก็เห็นคนที่พยายามจะสร้างบรรยากาศแบบนี้อยู่บ้าง แต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไร
“จากที่ผมคุยกับคนรุ่นใหม่ของพรรคอื่น ทุกคนก็เห็นไปในแนวทางเดียวกัน ไม่ว่าจุดยืนบนสนามการเมืองของพรรคเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร คือพวกเขาเบื่อการเมืองแบบเก่า ที่จ้องจับผิด ดิสเครดิต ขุดประวัติศาสตร์มาโจมตีกัน เหมือนกันทุกพรรค มันไม่ใช่เรื่องที่สร้างสรรค์เลย สรุปสั้นๆ คือ คนรุ่นใหม่ก็มีแนวทางของตัวเอง เรื่องอื่นก็ให้ผู้ใหญ่ทะเลาะกันไป ที่สำคัญคือคนรุ่นใหม่นั้นมีไฟ อยากทำประเทศดีกว่าที่เป็นอยู่ โดยไม่มีบุญคุณต้องตอบแทนใคร และไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสีเสื้อหรือความขัดแย้ง”
นโยบายที่อยากผลักดัน เป็นโอกาสใหม่ของประเทศ
นโยบายเกี่ยวกับเรื่อง e-sport หรือเกมนี่แหละ เอาจริงๆ แล้วทรัพยากรมนุษย์ของไทย ทั้งผู้เล่น คนทำกราฟฟิก คนเขียนเกมนั้น อยู่ในแถวหน้าของโลกเลย แต่ที่พวกเขาไม่สามารถจุดกระแสขึ้นมาได้ เพราะไม่ได้รับความสนใจหรือการสนับสนุนโดยภาครัฐอย่างเพียงพอ พวกเขาก็ไปเป็นลูกจ้างให้บริษัทในต่างประเทศ พอเกมออกมาบริษัทพวกนั้นได้เครดิต แต่คนส่วนน้อยที่จะรู้ว่าคนไทยไม่น้อยอยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ ติดที่บ้านเราเรื่องค่าตอบแทนมันน้อยไป หากรัฐทำเรื่องนี้ให้เหมือนสนับสนุน sme หรือ start up หรือเป็นวิชาเลือกในการเรียนอาชีวะหรือระดับอุดมศึกษา ผมเชื่อว่าเรื่องนี้ยังมีศักยภาพอีกมากที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา ทั้งที่เรามีขีดความสามารถเป็น top3 ของโลกได้เลย
ธุรกิจนี้มันมีมูลค่าเป็นหมื่นๆ ล้านบาท และสร้างอาชีพให้คนได้อีกมาก ไม่ใช่แค่คุณต้องเป็นนักเล่นเกมมืออาชีพ หรือเป็นนักแคสต์เกมที่มีชื่อเสียง แต่มันหมายถึงการทำธุรกิจเกี่ยวกับเกม อย่างการขายอุปกรณ์ และอาชีพยิบย่อยอื่นๆ ที่จะตามมาอีก หากบริษัทใหญ่ให้การสนับสนุน ซึ่งผมมองว่าภายใน 1-2 ปีนี้ คนไทยจะเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น อย่างในอินโดนีเซีย เป็นประเทศในอาเซียนที่ก้าวหน้าเรื่องนี้มากที่สุด นักกีฬา e-sport ของเขาเป็นคนมีชื่อเสียง คนในสังคมรู้จัก และเริ่มเข้าใจว่าเรื่องเหล่านี้มันไม่ใช่เรื่องไร้สาระ แต่มันหมายถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาล
“สิ่งแรกคือ ต้องสร้างความเข้าใจให้คนที่ยังไม่เข้าใจ มองว่าการเล่นเกมนั้นไร้สาระ ต้องแยกกันก่อนว่า การเล่นเกมเพื่อผ่อนคลายกับเล่นเกมเป็นอาชีพนั้นต่างกันอย่างไร ที่สำคัญกว่าคือ ให้เขาได้เห็นเม็ดเงินหมุนเวียนในอุตสาหกรรมเกมทั่วโลก ที่มีการประเมินกันว่าในปี 2020 อุตสาหกรรม e-sport อย่างเดียวจะมีมูลค่าถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 46.7 ล้านล้านบาท หากเราไม่เริ่มตอนนี้ ผมมองว่าเราอาจจะเสียโอกาสไปโดยเปล่าประโยชน์”.
ภูวพัฒน์ ชนะสกล
จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนนานาชาติเซนต์จอห์น
- การศึกษาระดับปริญญาตรีในภาควิชาการสื่อสารผ่านสื่อใหม่, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
- การศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BU)
ที่ผ่านมา เคยช่วยงานครอบครัวประกอบธุรกิจส่วนตัวก่อนได้รับโอกาสในเส้นทางการเมืองกับพรรคเสรีรวมไทย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |