PM 2.5 กระทบเศรษฐกิจ


เพิ่มเพื่อน    


    ยังคงเป็นปัญหาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งเข้ามาแก้ไขอย่างต่อเนื่อง สำหรับ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่แม้ช่วงนี้อาจจะมีการพูดถึงที่บางเบาลงไปกว่าช่วงที่ผ่านมาบ้าง แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่ได้ถูกคลี่คลายโดยสิ้นเชิง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพจากปัญหาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ยังแพร่กระจายอยู่ในขณะนี้
    “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ได้มีการทบทวนประมาณการผลกระทบทางเศรษฐกิจในมิติของค่าเสียโอกาสจากประเด็นด้านสุขภาพและการท่องเที่ยว รวมถึงการประเมินผลกระทบครอบคลุมในประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมในส่วนที่เกิดจากค่าเสียโอกาสของภาคธุรกิจ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการที่ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดผลกระทบ ผ่านการจัดทำผลสำรวจพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล
    ทั้งนี้ พบว่าผลทางเศรษฐกิจจากปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากค่าเสียโอกาสในประเด็นสุขภาพด้านการท่องเที่ยวและอื่นๆ ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.45 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้ที่มีการประเมินว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีอย่างน้อย ประมาณ 2.6 พันล้านบาท
    โดยสาเหตุหลักๆ มาจาก “กรอบเวลาที่นานขึ้น” และการเพิ่มเติมค่าเสียโอกาสบางรายการ ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากเกิดปัญหาดังกล่าว อาทิ ค่าเสียโอกาสจากประเด็นเรื่องสุขภาพ ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ และระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่ในช่วงที่ผ่านมาประชาชนที่ไม่ได้เป็นโรคดังกล่าวก็เกิดอาการเจ็บป่วยมากขึ้น รวมถึงต้องมีการใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นละอองก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามกรอบเวลาที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
    นอกจากนี้ยังมีค่าเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยว ทั้งต่อนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติให้มีการปรับแผนการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งยังมีการใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปรับพฤติกรรมของคนกรุงเทพฯ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการเผชิญหน้ากับฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วย
    จากผลสำรวจยังพบอีกว่า 88% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่นละอองขนาดเล็กและลดผลกระทบต่อสุขภาพ
    ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พยายามหาวิธีในการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานนี้ แต่ดูเหมือนอาจจะยังช้าเกินไป เพราะปัญหาดังกล่าวได้เริ่มส่งผลกระทบต่อหลายๆ ส่วน ซึ่งหลักๆ เลยคือ ด้านสุขภาพ ที่ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคในขณะนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก และอีกด้านคือ “เศรษฐกิจ” ที่ปฏิเสธได้ยากว่า ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีผลต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเบื้องต้นอาจเกิดการลังเลที่จะเดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ และกรณีเลวร้ายอาจจะปฏิเสธที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยก็ได้ เนื่องจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแค่พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น
    และปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานนี้เอง เคยสร้างปัญหาให้กับประเทศยักษ์ใหญ่ มหาอำนาจของโลกอย่าง “จีน” มาแล้ว โดยมีรายงานระบุว่า มลพิษทางอากาศก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูญเสียจากปัญหาดังกล่าวนี้ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 0.7% ของจีดีพีจีน
    โดยจากข้อมูลพบว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากปัญหามลพิษทางอากาศ เกิดขึ้นกับ 6 ภาคเศรษฐกิจของจีน ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการพาณิชย์และครัวเรือน ภาคการเกษตร ภาคการคมนาคมขนส่ง ภาคการผลิตพลังงาน และภาคส่วนอื่นๆ เช่น การบิน เป็นต้น
    อย่างไรก็ดี เชื่อว่าหลายฝ่ายยังไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานที่เกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ แม้ปัจจุบันสถานการณ์จะคลี่คลายลงไปบ้าง แต่ท้ายที่สุดเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังอยากจะเห็นมาตรการในการป้องกัน ดูแลที่ชัดเจนจากรัฐบาลมากที่สุด ซึ่งส่วนนี้จะมีผลต่อความเชื่อมั่นในหลายๆ ส่วน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในภาคเศรษฐกิจ!.

ครองขวัญ รอดหมวน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"