ท่ามกลางกระแสการพูดถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนคำหลายๆ คำกลายเป็น buzzwords ยอดฮิตไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Blockchains, Big data, AI, Machine learning, 3D printing, Internet of Things (IoTs) และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อเราในหลากหลายมิติ และองค์ประกอบที่แตกต่างกันออกไป หลายเทคโนโลยีดังกล่าวอาจจะฟังดูไกลตัวสำหรับบางคน
แต่หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังเป็นที่นิยมและจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของทุกคนอย่างมีนัยสำคัญ คือ การประยุกต์แนวคิด “Internet of Things” มาใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่อยู่รอบตัวเรา โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่อยู่ภายในบ้าน หรือที่เรียกว่า “Smart home” บ้านอัจฉริยะนั่นเอง
ทั้งนี้ หากย้อนไปไม่ถึง 10 ปี คอนเซ็ปต์บ้านอัจฉริยะอาจจะยังฟังดูเหมือนเรื่องในนิยายไซไฟอยู่เลย แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้กลายเป็นสินค้าที่วางขายทั่วไปในท้องตลาด ซึ่งหลายๆ ชิ้นก็มีราคาถูกลงมามากจนผู้บริโภคทั่วไปสามารถเอื้อมถึง จากการประเมินของ IDC สถาบันวิจัยด้านการตลาดของสหรัฐระบุว่า จำนวนอุปกรณ์ Smart home ของโลก จะเติบโตประมาณ 31%
ซึ่งในปี 2561 หรือประมาณ 644 ล้านเครื่อง โดย IDC คาดการณ์ว่า ภายในปี 2022 จำนวนของอุปกรณ์เหล่านี้จะเติบโตไปถึงเกือบ 1,300 ล้านเครื่อง ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ซึ่งหากคำนวณเป็นมูลค่าแล้ว เราจะเห็นได้จากการประเมินมูลค่าตลาดของ Smart home ทั่วโลก คาดการณ์ว่าในอีก 7-8 ปีข้างหน้าตลาด Smart home จะมีขนาดกว่า 263,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปัจจุบันผู้ประกอบการในวงการอสังหาริมทรัพย์มีการนำอุปกรณ์ Smart home มาใช้มากขึ้น เพื่อเป็นจุดขายในการตลาด เพราะการยกระดับคุณภาพชีวิตลูกค้าให้สะดวก ปลอดภัย สนุกสนาน และมีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพของลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในเวลานี้
ทั้งนี้ เราจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่หลายราย เช่น บมจ.แสนสิริ, บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ และ บมจ.เอพี ไทยแลนด์ ต่างลงทุนในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีอุปกรณ์ Smart home ติดตั้งมาพร้อมกับตัวบ้านให้กับลูกค้า โดยอุปกรณ์ที่เริ่มมีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้น คือ Smart mirror กระจกอัจฉริยะ ที่สามารถเปิดเพลง ดูวิดีโอจากโทรศัพท์ มีหน้าปัดแสดงเวลา บอกอุณหภูมิ หรือมี Bluetooth เพื่อใช้คุยโทรศัพท์ได้
และจากการวิเคราะห์ข้อมูลของสถาบัน Economic Intlelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) ระบุว่า 3 ปัจจัยสำคัญทางการแข่งขันที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ใช้ในการนำอุปกรณ์ Smart home มาปรับใช้กับที่อยู่อาศัย ได้แก่ 1.การเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน 2.สิ่งที่ทำให้เกิดความประทับใจ และ 3.การบริการหลังการขาย อย่างไรก็ดี ในการนำฟังก์ชั่นต่างๆ ของ Smart home มาใช้ ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงความกังวลใจเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค
โดยมีการอธิบายวิธีการเก็บข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์อย่างมีขั้นตอน พร้อมทั้งการตั้งค่าการลบข้อมูลที่ลูกค้าไม่ต้องการให้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และเชื่อว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของพวกเขาภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่นำอุปกรณ์ Smart home มาใช้จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการอธิบายเรื่องการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้อย่างจริงจังกับผู้บริโภคมากขึ้น
อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงสำหรับการนำอุปกรณ์ Smart home มาติดตั้งให้กับผู้บริโภค คือ ช่วงอายุของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ทั้งนี้หากมองไปในระยะถัดไปในอนาคต 4 เทรนด์หลักที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาตลาด Smart home ทั่วโลก รวมถึงในไทยด้วย ได้แก่ 1.การบำรุงรักษาแบบคาดคะเน 2.การสั่งงานด้วยเสียง 3.การคาดการณ์แนวโน้มพฤติกรรม และ 4.Smart home ในราคาที่จับต้องได้
สำหรับในประเทศไทย กระแสบ้านอัจฉริยะเริ่มจากการค่อยๆ เข้ามาจับลูกค้าชนชั้นกลางที่มีรายได้และมีกำลังซื้อ ความร่วมมือใหม่ๆ ระหว่างเจ้าของเทคโนโลยีกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ร่วมกันสร้างโครงการที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ รวมไปถึงพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อดูแลระบบเพื่อใช้ในการดูแลภายในโครงการและในบ้านอีกด้วย.
ศรยุทธ เทียนสี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |