ทิศทางสารเคมี


เพิ่มเพื่อน    

    ประเทศไทยเป็นประเทศที่ถือว่าทำการเกษตรเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ แถมยังเป็นประเทศที่ส่งออกพืชพรรณนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา อ้อยน้ำตาล ผลไม้ หรือดอกไม้ ฯลฯ ด้วยความเป็นประเทศโซนเขตร้อน รวมถึงปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ ก็เหมาะสมที่สุด ได้ชื่อเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ
    แต่ในอดีตนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีก็ยังไม่ถือกับว่าเจริญแล้ว เกษตรกรในประเทศไทยก็สืบต่อความเป็นอยู่ วิถีชีวิตในการทำการเกษตรมาจากรุ่นสู่รุ่น และด้วยความต้องการที่มากขึ้น บวกกับเทคโนโลยีที่ไม่ได้พัฒนาไปมากนัก  การทำการเกษตรก็ต้องอาศัยตัวช่วยที่จะทำให้ทุกอย่างออกมาให้เพียงพอและมากที่สุด
    สารเคมีจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ได้อย่างตรงจุด แถมบางอย่างยังได้ผลดีมากกว่าการปลูกเดิมๆ อีกด้วย จึงทำให้การเกษตรในประเทศไทยหันมาใช้สารเคมีกันมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน
    ถึงจะมีกระแสรักษ์โลก รวมถึงการทำเกษตรอินทรีย์ที่ไม่พึ่งพาสารเคมีออกมามากมายหลายปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์เท่ากับการใช้สารเคมีอยู่ดี รวมถึงการกำจัดวัชพืชที่มาก่อกวนพืชไร่ของเกษตรกรแล้วด้วย ยังไม่มีวิธีใดสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเงินเท่ากับการใช้ยาฆ่าหญ้า
    แต่เมื่อช่วงปีที่แล้วเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรงได้เข้าชื่อ 369 องค์กร รวบรวมรายชื่อยื่นถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 50 จังหวัด โดยไม่ให้มีการต่อทะเบียนพาราควอต (สารกำจัดวัชพืช) และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งเรื่องก็ยืดเยื้อมาเรื่อย เนื่องจากมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ ลากยาวมาจนถึงการประชุมของคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา
    โดยที่ประชุมได้หาข้อสรุปเรื่องการห้ามใช้พาราควอต โดยมีมติยืนยันตามมติเดิมเมื่อวัน 23 พ.ค.2561 ที่ระบุว่ายังไม่มีการยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 รายการ ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เพราะให้ใช้เฉพาะ 6 พืช ประกอบด้วย ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และไม้ผลที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น    
    และระหว่างนี้ให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการตามมาตรการ 5 ข้อ อาทิ ทำโครงการศึกษาวิจัยเพื่อลดการใช้สารเคมีและหาวิธีทดแทนการใช้สารเคมี รวมทั้งศึกษาผลกระทบของสารที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิต และผู้บริโภค จัดอบรมให้ความรู้โครงการนำร่องทดสอบหลักสูตรผู้พ่นสารพาราควอตเพื่อกำจัดวัชพืช คาดว่าจะมีความชัดเจนว่าจะเลิกหรือไม่เลิกภายใน 2 ปี หรือภายในวันที่ ‪1 ม.ค.2564‬ แต่หากสามารถหาสารทดแทนได้ก็ยกเลิกก่อน 2 ปี
    นายอภิจิณ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติสนับสนุนใช้ต่อ 16 เสียง มติยกเลิก 5 เสียง และงดออกเสียง 5 เสียง อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ต้องฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายเกษตรกรที่มีความจำเป็นต้องใช้ เพราะหากยกเลิกทันทีเกษตรกรจะได้รับกระทบทันที เพราะยังไม่มีสารอื่นมาทดแทน
    หลังจากนี้ตัวแทนกรรมการวัตถุอันตราย เตรียมเข้าชี้แจงมติดังกล่าว โดยจะนำข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรเสนอ เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ตรวจการแผ่นดินมีข้อเสนอให้ยกเลิกการใช้สารดังกล่าวภายในวันที่ ‪1 ม.ค.2563‬ นอกจากนี้ในช่วง 3 เดือนจากนี้ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาความคืบหน้าของข้อมูล
    และมติของคณะกรรมการครั้งนี้ก็สร้างความโกลาหลอย่างมาก เนื่องจากเดิมก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยอยู่แล้วกับการใช้สารเคมี แต่ในส่วนของคนที่เห็นด้วยก็ใช้โอกาสตรงนี้ออกมากล่าวถึงผลกระทบที่ได้รับหากมีการห้ามใช้สารดังกล่าวขึ้นมาจริงๆ อย่าง นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย ในฐานะผู้ใช้สารพาราควอตในการกำจัดวัชพืช กล่าวว่า หากแบนไม่ให้ใช้สารเคมีดังกล่าว จะส่งผลให้ต้นทุนการใช้สารเคมีกับที่ชาวไร่ใช้อยู่ราคาสูงขึ้นถึง 70 บาทต่อลิตร คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 2,100 ล้านบาทต่อปี จากปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช 30 ล้านลิตรต่อปี
    ซึ่งต้องมาติดตามต่อว่าเรื่องดังกล่าวจะบานปลายไปถึงไหน เพราะในฝ่ายที่คัดค้านการใช้สารเคมีดังกล่าวก็ยืนยันหนักแน่นว่าจะไม่หยุดพยายามที่จะเดินหน้าร้องทุกข์ต่อไป ด้วยความที่ห่วงใยสุขภาพประชาชนคนไทยที่อาจจะได้รับจากสารเคมีที่ใช้ในภาคเกษตรของประเทศไทย.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"