พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ก่อเกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 4 ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริสานต่องานด้านพิพิธภัณฑ์ แต่ก็ยังไม่ได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเต็มรูปแบบ การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติแห่งแรก เกิดขึ้นสำเร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ใช้พื้นที่ พระราชมณเฑียรของพระราชวังบวร ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทั้งหมดจัดเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครและหอสมุดพระวชิรญาณเพื่อจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อ พ.ศ. 2469 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2477
ด้วยเหตุนี้ ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร จึงยู่บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า สมัยรัชกาลที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน พื้นที่มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงตอนตะวันตก อนุสาวรีย์ทหารอาสา และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน
หลังจากเปิดให้ความรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย แก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเป็นเวลานาน ล่าสุดทางกรมศิลปากร ซึ่งมีหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ของประเทศ ได้ปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยดำเนินการปรับปรุงห้องจัดแแสดง นิทรรศการถาวรในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้นำเสนอเรื่องราว ให้น่าสนใจผ่านการจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว จำนวน 4 ห้อง
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ให้รายละเอียดของแต่ละห้องจัดแสดงเพิ่มเติมใหม่ว่า ห้องที่ 1.ห้องอิสริยพัสตราภูษาภัณฑ์ ณ พระที่นั่งอุตราภิมุข เป็นห้องจัดแสดงผ้าและเครื่องแต่งกายที่แสดงราชอิสริยยศยศของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ในราชสำนัก และแสดงยศถาบรรดาศักดิ์ของขุนนางและบุคคลชั้นสูง รวมถึงผ้าและเครื่องประดับที่เกี่ยวเนื่องกับผ้า ซึ่งแสดงฐานันดรทางสังคมอย่างหลากหลาย
2. ห้องโลหศิลป์ : ประณีตศิลป์ในงานโลหกรรม ณ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข จัดแสดงศิลปวัตถุเครื่องโลหะของไทย ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละยุคผ่านรูปลักษณ์และประโยชน์ใช้สอย สื่อถึงค่านิยม คติความเชื่อ และธรรมเนียมประเพณีของแต่ละสมัย อาทิ เตียบเงิน สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24-25 กล่องทองคำลงยาประดับเพชร ของราชสกุล “เพ็ญพัฒน์”
3. ห้องนาฏดุริยางค์ : มหรสพและการละเล่นของหลวง ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข จัดแสดงศิลปวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับนาฏศิลป์ชั้นสูงในราชสำนักไทย ไม่ว่าจะเป็นศิราภรณ์ ถนิมพิมพาภรณ์ พัสตราภรณ์ และเครื่องดนตรี ตลอดจนมหรสพหลวง หรือ การละเล่นของหลวง เช่น โขน หุ่น หนังใหญ่ ระเบง โมงครุ่ม และกุลาตีไม้ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นมรดกภูมิปัญญาที่บรรพชนได้สั่งสมและสืบทอดจวบจนปัจจุบัน
4.ห้องศาสตราวุธ : ศาสตร์และศิลป์ในการสงคราม ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุข นำเสนอเรื่องราวของอาวุธโบราณแบบต่าง ๆ
การดำเนินการปรับปรุงห้องจัดแสดงอื่นๆ ของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร จะยังดำเนินอย่างต่อไป เพื่อให้เป็นตามแผนงานโครงการฯ ซึ่งมีวัตถุประวงค์ให้พิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมสำคัญของชาติ ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ (ยกเว้นวันจันทร์ อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.00-16.00 น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |