สสส.สนับสนุนเอิ้นเน้อกิจกรรมSpark U Chiangmai บันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ พลังเปลี่ยนเมืองของคนเชียงใหม่ กลุ่มคนจิตอาสาขับเคลื่อน ฟองคลื่นลูกใหญ่เครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ภาคเหนือจัด โครงการปฏิบัติการจุดประกาย“ฟื้น ใจ๋ เมืองล้านนา”ผลักดันเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลก แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่อง เครือข่ายเชียงใหม่ เขียว สวย หอม ขบวนการเขียวเปลี่ยนโลก สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) ภารกิจคืนชีวิตต่อลมหายใจให้เมืองเชียงใหม่ สร้างป่าหย่อมทั่วเมือง ปลูกหมากปลูกลานฝากไว้ให้แผ่นดิน บ้านปันเสียงลดความเหลื่อมล้ำสังคม สอนดนตรี ศิลปะ เต้นรำให้ลูกๆแรงงานข้ามชาติ อนุรักษ์สืบสานนาฏกรรมล้านนาโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เปิดพื้นที่สาธารณะละครแสงสีเสียง กิ๋นข้าวแลงในบรรยากาศกาดหมั้วพร้อมชมการแสดงกล่อมเมืองจากกลุ่มศิลปินล้านนา“รวมใจม่วนงันฉันพี่น้อง”ที่ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ ณ เชียงใหม่
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ร่วมกับสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.)แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านจัดงาน “เมืองสร้างสรรค์ เมืองมีชีวิตชีวา Spark U Lanna”จุดประกาย“ฟื้น ใจ๋ เมืองล้านนา”สู่เมืองมรดกโลกแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่อง ที่ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ จว.เชียงใหม่ (วันแรก)และหัองประชุมวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร(วันสุดท้าย) โดยมีภาคีเครือข่าย3ภูมิภาคร่วมถ่ายทอดนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้วยกระบวนการสื่อ และพื้นที่สร้างสรรค์ต้นแบบที่เอื้อต่อสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัวเพื่อจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจให้กับพื้นที่อื่นๆ สู่สังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน
สุดโจ พรหมเกิด(เจ) แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านเป็นผู้ดำเนินรายการ ลักขณา ศรีหงส์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเชียงใหม่เขียว สวย หอม นฤมล วันทนีย์ กรรมการSpark U Lanna ศรัณย์ สุวรรณโชติ ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ คณะกรรมการบริหารแผนสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. อ.สุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ คณะกรรมการกำกับทิศสื่อทางปัญญา กรรมการบริหารแผนคณะที่5 สสส. อ.มัทนา ถนอมพันธุ์ หอมละออ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทาง สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.
(ชัชวาล ทองดีเลิศ กรรมการที่ปรึกษาโครงการSpark U ล้านนาและโครงการเชียงใหม่อ่าน)
ชัชวาล ทองดีเลิศ กรรมการที่ปรึกษาโครงการSpark U ล้านนาและโครงการเชียงใหม่อ่าน คุยสร้างสุข เพื่อการอ่านสร้างสุขนำเสนอเรื่อง “ดอยสุเทพเป็นศรีของเชียงใหม่ เป็นดอยแห่งตำนาน เป็นที่อยู่ของปู่แสะย่าแสะ เป็นที่พำนักของวาสุเทพฤาษี เป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุดอยสุเทพอันเป็นที่ศรัทธาไหว้สาของทุกคน และเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยตนบญแห่งล้านนาผู้บุกเบิกสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ผู้คนจึงเคารพกราบไหว้ทุกวี่วัน ดอยสุเทพเป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยเล็กลำห้วยน้อยหลายสาย ไหลรวมลงน้ำแม่ข่าแล้วไหลลงแม่น้ำปิงซึ่งเป็นชัยภูมิในการตั้งเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ ดังนั้นดอยสุเทพจึงมิใช่แค่ภูเขา หากแต่เป็นชีวิต เป็นจิตวิญญาณของคนเชียงใหม่และคนไทยทุกๆคน
ที่มาของหนังสือเดินทางสร้างสุขเพื่อเด็กปฐมวัยชุด“อ่านดอยสุเทพ”มีหนูน้อยไปดอยสุเทพ กราบดอยสุเทพ ป่าดอยบ้านของเรา คนที่รักและศรัทธาดอยสุเทพได้สืบสานการอ่าน การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ส่งต่อตำนานอันมีคุณค่านี้ให้แก่ละอ่อนของเราทุกๆคนได้มีโอกาส “อ่านดอยสุเทพ”กันทั้งบ้านทั้งเมือง ในหนังสือเล่มนี้สุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านยืนยันว่าหนังสือชุดนี้เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะได้รับการเลือกสรรให้เป็นหนังสือเพื่อการ “อ่านทั้งเมืองด้วยเรื่องเดียวกัน One Book One City”ที่จะวางรากฐานนิสัยรักการอ่านไปพร้อมๆกับเรียนรู้จิตวิญญาณของดอยสุเทพไปพร้อมๆกัน กิจกรรมทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากสสส.
ชัชวาลกล่าวว่าในช่วง40ปีที่มาอยู่เชียงใหม่ทำงานสำนักศิลปวัฒนธรรม เชียงใหม่ ศูนย์ใบลานศึกษา การอนุรักษ์เอกสารโบราณน้อยคนที่จะรู้ว่าการเพาะกล้าลาน การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เชียงใหม่เป็นแหล่งเรียนรู้องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ การจารึกบันทึกคัมภีร์บนใบลาน ต้นลานมีโอกาสสูญพันธุ์สูงมาก ผลลานก็อร่อยมาก ดังนั้นจำเป็นต้องปลูกกล้าลานทดแทนในพื้นที่สาธารณะ ในวัด ในโรงเรียน ที่วัดเจ็ดยอดปลูก2ต้น ตาย1ต้นก็ได้ทดแทนกัน การปลูกต้นลานต้อยคอยดูแลเอาใจใส่อย่างมาก
เริ่มแรกต้องปลูกในที่ร่มก่อน ในขณะเดียวกันก็ปลูกต้นหมากควบคู่กันไปด้วย เริ่มปลูกในพื้นที่เวียงเก่า หรือเมืองเก่า บ้านเรานั้นวัฒนธรรมคนกินหมากหายไป เราควรส่งเสริมให้มีโครงการปลูกหมาก ระดมปลูกกันเป็นร้อยเป็นพันต้น อย่างน้อยตายไปครึ่งหนึ่งก็ยังมีอีกครึ่งหนึ่งเป็นการทดแทนด้วย อีกสิบปีข้างหน้าเมืองเชียงใหม่จะสวยด้วยต้นหมากที่มีชื่อคล้องจองกันว่าต้นหมากต้นลาน ทั้งนี้บ้าน วัด โรงเรียน สถานที่สาธารณะจะเป็นแหล่งปลูก การปลูกหมาก และลานต้องปลูกในเรือนเพาะชำ ขาดน้ำไม่ได้จะตายทันที เพราะฉะนั้นการดูแลหลังการปลูกเป็นเรื่องสำคัญมาก
“ปลูกหมากปลูกลานไว้ในแผ่นดิน อยู่ยั่งยืนกว่าชีวิตมนุษย์” ต้นลานชั่วชีวิตคนปลูกจะไม่ได้เห็นผล แต่จะเห็นในรุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะใช้เวลาปลูกมากกว่า60ปีขึ้นไปจึงจะได้เห็นผล ช่วยกันปลูกต้นไม้ในหัวใจของเราด้วย “เรียนรู้รากเหง้า เท่าทันโลกาภิวัตน์ สามารถจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสมเป็นบริบท”ด้วยกระบวนการสืบสานภูมิปัญญาสร้างสรรค์ เราต้องอยู่กับปัจจุบัน อนาคต
(ลักขณา ศรีหงส์ ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชน เขียว สวย หอม)
ลักขณา ศรีหงส์ ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชน เขียว สวย หอมกล่าวว่าเรามาช่วยกันปลูกต้นหมากต้นลานไว้ให้กับคนในอนาคต ดูแลอย่างดีจะเพิ่มปริมาณหมากลานภายในวัดเป็นการเพิ่มภูมิทัศน์ ขณะนี้พื้นที่เก่าเมืองเชียงใหม่มีต้นหมากและต้นลาน300ต้น เรายึดถือหลักว่าเที่ยวไปปลูกไปจากเชียงใหม่ไปลำพูน “เชื่อไหมคะการเพาะลานปีหนึ่งจะขึ้นมาเพียง1นิ้วเท่านั้นเอง เราจะทำให้ต้นหมากต้นลานเต็มเมืองเชียงใหม่ ขณะนี้กลุ่มโรงแรมบูติกปลูกสร้างบรรยากาศสวยงามมาก รอบพื้นที่คูเมือง”
เจ้าของและผู้ดูแลห้องสมุดทื่ชื่อ“ต่าย”เล่าถึงเบื้องหลังเรื่องการจัดทำพื้นที่ห้องสมุดกาดทิพย์เนตร ในพื้นที่เก่าของเมืองเชียงใหม่ ม.ราชมงคลออกแบบTCDCทำเป็นห้องสมุดเคลื่อนที่เข้าไปในชุมชน ระดมหนังสือคนละไม้คนละมือสร้างการอ่านในพื้นที่ชุมชน สร้างเครือข่ายการอ่าน ในปีแรกพัฒนาห้องสมุดค่ายกาวิละ เปิดพื้นที่ให้เป็นสาธารณะ เปิดเป็นร้านกาแฟปรากฎว่ามีผู้เข้ามาใช้บริการทั้งห้องสมุดและร้านกาแฟ มีเจ้าหน้าที่จากสวนนงนุชเข้ามาช่วยดูแลต้นไม้ เกิดเป็นความเคลื่อนไหวในพื้นที่ ห้องสมุดกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกวัย อ.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เป็นผู้ออกแบบ
การจัดทำห้องสมุดเคลื่อนที่เปิดให้บริการในพื้นที่ชุมชน ตามตลาดสดมีพื้นที่จอดรถให้บริการ ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำ เจ้าของพื้นที่และคนในตลาดช่วยกันดูแล ถ้าดูจากบุคลิกอาเจ๊อาเฮียไม่น่าจะช่วยกันดูแลได้ แต่ปรากฏว่าเขาช่วยกันเป็นอย่างดี ชุมชนด้านในเป็นหมู่บ้านทิพย์เนตรช่วยกันดูแล 3เดือนผ่านไป สมุดยืมที่เคยว่างเปล่าไม่ว่างแล้วเขาจัดระบบยืมคืนหนังสือกันเอง ห้องสมุดก็ช่วยกันดูแลสะอาดตาทุกวัน ไม้ขนไก่แขวนไว้ที่ชั้นก็ช่วยกันปัดกวาดเศษฝุ่นละออง และยังช่วยกันปัดกวาดพื้นรายรอบด้วย ในวันเปิดห้องสมุดทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน งานนี้ไม่ได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์แต่อย่างใด เจ้าของตลาดก็ยิ้มแย้มแจ่มใสเพราะทุกคนมีส่วนร่วมอย่างดี
เฟอร์นิเจอร์ในห้องสมุดได้รับบริจาคจากบ.มูลเลอร์ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ปกติในสนนราคาหลักหมื่นก็ให้ความอนุเคราะห์เฟอร์นิเจอร์ที่เลือกมาจากTCDC ตอนนี้เราสนใจเฟอร์นิเจอร์ไม้เพิ่มเติมที่บ้านถวายกำลังจะติดต่อนายกอบต.บ้านถวาย เพราะเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่บ้านถวายเหมาะสมกับห้องสมุด
ศรัณย์ สุวรรณโชติ รับผิดชอบงานแสดง ภูมิปัญญาสืบสานรวบรวมครูมาสอนทุกแขนงงาน งานช่าง งานสล่า วรรณศิลป์ ภาษา ศิลปะการแสดง ให้เป็นร.ร.สืบสานภูมิปัญญาล้านนายืนด้วยลำแข้งของตัวเองซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ เพราะงานทุกอย่างต้องใช้ทุนทรัพย์เยอะมาก ในขณะที่อุดมการยิ่งใหญ่ แต่รายได้ไม่ค่อยจะมี เราก็ต้องช่วยกันหาเงินมาทำงานสร้างเครือข่ายมากหน้าหลายตา การดำเนินงาน20ปีมีสิ่งที่น่าจดจำและบอบช้ำ การทำงานจิตอาสาเป็นองค์กรเพื่อสังคม ไม่ได้หวังผลกำไร คนที่เติบโตทางธุรกิจเป็นนักสังคม นักการศึกษา เป็นศิลปินอิสระ แนวทางการหาเงินที่เอาตัวเองและครอบครัวก็ไม่รอดเพราะขยับตรงไหนก็ล้วนแล้วแต่เป็นเงินทั้งนั้น
ร.ร.ศึกษาภูมิปัญญาล้านนามีเป้าหมายชัดเจนในการส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ ขณะนี้เรามีโรงละครกลางแจ้งพัฒนาจนเปล่งประกาย เป็นการตั้งสัจจะวาจาประกาศต่อหน้าสาธารณชน ต่อไปจะเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ใช้เวลาอีก2ปี การพูดเช่นนี้เป็นการบังคับตัวเองไปในตัว พูดไม่เลื่อนลอย พูดเพื่อให้ความหวัง ต้องมีการขยับเขยื้อนพัฒนาพื้นที่ให้คงอยู่ การปรับพื้นที่เป็นเวที จ้างรถไถเข้ามาปรับเป็นเวทีอย่างชัดเจนและมั่นคง จัดทำstandสำหรับผู้ชม เป็นเวทีกลางแจ้งมีศักยภาพสูงรองรับการแสดงในระดับสากล เป็นที่หมายมั่นจะมีนักแสดงจากทุกมุมโลกทำงานดีๆต้องมาที่ข่วงศึกษาTheatreแห่งนี้มีรั้วไม้ไผ่กันแสงเสียง ได้ คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ มอบให้ใช้ประโยชน์สาธารณะอย่างเต็มที่ การแสดงนี้สามารถจัดแสดงได้ทุกฤดูกาล แม้อยู่ในท่ามกลางบรรยากาศหมอกควันฝุ่นพิษPM2.5
“งานละครแสนหาญ “ผมแต่งเพลง กำกับและแสดงเอง ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ใครจะนำเพลงของผมไปร้องก็ไม่ว่าแต่อย่างใด ผมไม่เคยหวงแหนภูมิปัญญาถือว่าเป็นสมบัติของโลกไปแล้วโดยปริยาย เราอยากให้มีการเผยแพร่และสืบสานต่อยอดความรู้ออกไป”ฟ้อนเจิ่งล้านนา สล่าครูมีชื่อเสียง เครือข่ายSpark U Lannaมาร่วมกันฟ้อนให้คนดูวันที่9ก.พ. คนทำงานได้แรงสนับสนุนอุปถัมภ์ แรงกายแรงใจมีส่วนสำคัญที่สุดเป็นนามธรรมเห็นผลงานสืบสานล้านนาได้ในระยะยาว ขอให้จับตาดูผลงานอีก3ปีพัฒนาให้เป็นพื้นที่มีศักยภาพ การหาทุนสนับสนุนข่วงศึกษาล้านนา การสร้างเครือข่ายทุนสนับสนุนSpark U สายบุญ
อ.สุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ คณะกรรมการกำกับทิศสื่อทางปัญญา กรรมการบริหารแผนคณะที่5สสส.ขออุปมาทำความเข้าใจในที่ประชุมนี้ว่าเงินที่ได้รับจากสสส.ไม่ใช่เงินสสส. แต่เป็นเงินของสังคมที่เก็บจากภาษีเหล้าและบุหรี่ สสส.มีหน้าที่เป็นตัวกลางบริหารจัดการ การที่เราเสนอโครงการกับสสส.ไม่ได้หมายความว่าเป็นการขอเงินทุน แต่เสนอโครงการให้สสส.พิจารณาเงินที่ได้จากภาษีบาป โดยที่Spark U Lanna ทำให้เป็นสายบุญ ด้วยศักดิ์ศรีของเราเท่าเทียมกัน ไม่ได้มีผู้รับหรือผู้ให้เท่านั้น เราทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีความอ่อนช้อยงดงามีคุณค่ามาเผยแพร่
(ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ ตัวแทนจากสสส.)
ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ คณะกรรมการบริหารแผนสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.กล่าวว่าฟังแล้วเคลิบเคลิ้มวาทศิลป์ศิลปินลุ่มลึกจับใจสมชื่อSpark U สสส.จะทำหน้าที่ชี้วัดหยั่งได้แต่ลึกไม่เท่ากับของจริง ร.ร.สืบสานภูมิปัญญาล้านนาอยู่ยั้งยืนยงเป็นสมบัติภูมิภาค สมบัติล้านนาเป็นมรดกของโลกในอนาคตด้วย ขอฝากไว้เผื่อจะยืมภาษาจากสสส.ไปใช้ด้วย
ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยเติบโตมาในยุคดิจิทัล มีพฤติกรรมติดอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะในทุกมิติ ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีทั้งทางกาย ใจ อารมณ์ สังคม และปัญญาควรส่งเสริมให้เด็กเยาวชนมีทักษะเท่าทันสื่อ ใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ และพัฒนาสู่การเป็นพลเมืองตื่นรู้ ที่มีความรับผิดชอบและสำนึกต่อส่วนรวม เพื่อร่วมเปลี่ยนแปลงเมืองและสิ่งแวดล้อมให้เกิดพื้นที่สุขภาวะที่ดี โดยการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ กลุ่มเครือข่ายSpark U Lanna ที่เปิดพื้นที่และโอกาสให้เด็กเยาวชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในประเด็นต่างๆ ประเด็นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมือง การฟื้นฟูอัตลักษณ์ตัวตนทางวัฒนธรรม การพัฒนาเยาวชนนักสื่อสาร ประกอบด้วยการเปิดตัวห้องสมุดสาธารณะ กิจกรรมการส่งเสริมการอ่าน การสื่อสารสาธารณะ และการสนับสนุนการจัดกิจกรรม
“เครือข่าย Spark U Lanna เป็นต้นแบบการทำงานจุดประกายเครือข่ายภาคประชาสังคม3ภูมิภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ สะท้อนถึงความร่วมมือผ่านเส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติ และส่งต่อวัฒนธรรมข้ามภูมิภาคอย่างไร้ขีดจำกัด เป็นมิติการทำงานรูปแบบใหม่ที่ท้าทาย น่าสนใจและเต็มไปด้วยพลังแรงบันดาลใจ เพื่อส่งต่ออัตลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคสู่สากล กระตุ้นให้คนรุ่นใหม่หันมาร่วมใจกันอนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านให้มีความร่วมสมัยอย่างยั่งยืน การจัดงานนี้จะเห็นความมีชีวิตชีวาของเมืองสร้างสรรค์ ทั้งยังร่วมกันถอดบทเรียนเพื่อวางแนวทางการขับเคลื่อนในระยะต่อไปด้วย” ดร.จิรพรกล่าว
งานแสดงศิลปวัฒนธรรมกลุ่มนาฏยะศิลปินอิสระ สิปาน คอลเลคชัน ชุดศรีสุที คินะคีรี หิมาลายาสุเทพาลัย ออกแบบและอำนวยการแสดงโดย ธีรยุทธ นิลมูล สิปานคอลเลคชัน ณ สถานที่ตั้ง ดินแดนพิงครัฐเชียงใหม่แห่งนี้มีขุนดอยอ้อยช้างของวาสุเทพฤษี สืบสันดอยเดียวกันกับเทือกเขาหิมาลัย ดอยจอมภูสรวงเทียมสวรรค์ เป็นรมณียสถานที่สถิตแห่งทวยเทพและเป็นที่สถาปนาไว้ยังพระบรมธาตุเจ้าดอยสุเทพที่สูงตระหง่าน งำบ้าน งำเมืองเชียงใหม่มาช้านาน จอมดอยสูงอันศักดิ์สิทธิ์ของชาพิงค์นครเชียงใหม่ ที่ซ่อนงำความลึกเร้นแลมนต์ขลังด้วยพลังอำนาจลึกเร้นและมนต์ขลัง ด้วยพลังอำนาจลึกลับและความเชื่อประดุจเดียวกับเทือกธิเบตดอยหิมาลัยซึ่งจะนำแสดงออก โดยอำนาจความเชื่อแห่งทวยเทพเทวดาแห่งหิมพานต์และภพภูมิที่ถูกลำดับตีความตามจักรวาลคติทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายพราหมณ์ ด้วยดุริยนนทีแห่งเทพทิพย์ ดนตรีที่จะสำแดงนี้แลเฮย มีนักแสดง แววดาว ศิริสุข มณีรัตน์ รัตนัง
งานนี้มีศิลปินจากโครงข่ายล้านนาและล้านนาร่วมสมัย ทันตแพทย์ภัทรภูมินทร์ ชัยชมพู อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มาช่วยกันอนุรักษ์ต่อยอดงานสร้างสรรค์ มีการจัดพานดอกไม้แบบล้านนาได้มาจากลังกาเป็นหม้อดอกบัวทางขึ้นสถูปTree of Lifeใช้ดอกบัวหรือพันธุ์ไม้ดอกที่ใช้ประดับแจกัน บูรณะฆังฏะ เสมือนหนึ่งเป็นหม้อน้ำอุดมสมบูรณ์
ภายในงานมีนิทรรศการเมืองสร้างสรรค์ เมืองมีชีวิตชีวา นิทรรศการภาพถ่ายเมืองมีชีวิต ภาพเก่าเล่าเรื่องเหมืองฝายพญาคำ กิจกรรมปลูกลานปลูกหมาก และกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อ่านดอยสุเทพ เยาวชนนักสื่อสาร งานสื่อสารและวารสารเอิ้นเน้อ สาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถติดตามความก้าวหน้ากิจกรรมSpark U Lanna Facebook:Spark U Lanna, Website:www.sparkulanna.comและมาร่วมกันสร้างสรรค์พื้นที่สุขภาวะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ครอบคลุมในทุกชุมชน และชวนชิมอาหารไทใหญ่ ข้าวมูนเก๋อ ข้าวมูนจ๊อก ข้าวปุ๊กหรือข้าวคลุกงา ข้าวมูนปาด ผัดหมี่ห่อด้วยแป้งปอเปี๊ยะ ก๋วยเตี๊ยวหมู อาหารชุดน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม พร้อมด้วยชุดผัก ไส้อั่วฯลฯ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |