วิจัยชี้ครอบครัวไทย“สุข”ที่สุดช่วงข้าวใหม่ปลามัน/ไม่มีลูก รายได้สูงไม่ได้หมายความว่า "สุข" กว่า


เพิ่มเพื่อน    

 

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สภาการพยาบาลจัดกิจกรรมเวทีเสวนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา วิทยากรพิเศษ ศ.ดร.รุจา ภู่ไพบูลย์ คณะพยาบาลศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. พิทักษ์ บำรุงชาติ ประธานชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกสงขลา พญ.ตรีธันว์ ศรีวิเชียร ผู้ช่วย ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขจากประสบการณ์จริงทดแทนสังคมไร้ที่พึ่ง งานวิจัยครอบครัวช่วงฮันนีมูน 22-24 ปี ยังไม่มีลูกมีความสุขที่สุด ใช้เงินคล่อง ครอบครัวอยู่ดีมีสุขมากกว่าเมื่อมีการศึกษาดีรายได้ดี แปลกแต่จริง บางครอบครัวแม้กัดก้อนเกลือกินก็เฉลี่ยสุขได้ ประสบการณ์จริงพ่อแม่มีลูกเป็นออติสติกสร้างสุขภาวะในครอบครัวอยู่ร่วมกับชุมชน

 

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สภาการพยาบาลจัดเสวนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม “ชุมชนและรัฐร่วมสร้างครอบครัวสุขภาวะได้อย่างไร” ที่ห้อง BB205 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เปิดการเสวนาโดย รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล รศ.ดร.สุจินดา เหลืองอมรเลิศ ที่ปรึกษาประจำสภาการพยาบาล และอดีตอุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวรายงานถึงผลงาน มีวิทยากร 4 ท่าน ศ.ดร.รุจา ภู่ไพบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พิทักษ์ บำรุงชาติ ประธานชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดสงขลา ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พญ.ตรีธันว์ ศรีวิเชียร ผู้ช่วยผอ.ภารกิจด้านการบริการปฐมภูมิ รพ.พระนครศรีอยุธยา ดำเนินรายการโดย สำเริง เสนอใจ

 

รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล กล่าวเปิดงานว่า มีภาคีช่วยคิดแบ่งปันประสบการณ์กว่า 30 เครือข่าย การดูแลสุขภาพประชาชนเป็นความยาก โรงพยาบาลมีเตียงไม่เพียงพอเพื่อคนป่วยรับการรักษา ผู้สูงอายุมีเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นปัญหาผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบและมากขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาสุขภาพอนามัยการรักษาสุขภาพทำได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับหลายปีก่อน บางโรคสมัยก่อนรักษาไม่หายถึงกับเสียชีวิต แต่ปัจจุบันรักษาหายมีอายุยืนยาว บางครั้งการมีชีวิตอยู่หายจากโรคภัย แต่ยังมีปัญหาค้างคาต้องการผู้ช่วยดูแล การดูแลในชุมชนเป็นเรื่องใหญ่มาก ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลเป็นกลุ่มใน รพ. 2 แสนคนกระจายทั่วทุกระบบบริการสุขภาพของประชาชน สภาการพยาบาลทำงานร่วมกับชุมชนหารูปแบบทำให้การดูแลสุขภาพในชุมชนเป็นไปอย่างจริงจังเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในสังคม การขยับจากที่บ้านไปสู่ชุมชนเป็นเรื่องใหญ่ สุขภาวะเป็นเรื่องของครอบครัวต้องช่วยกันคิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้แนวคิดเป็นนโยบายสาธารณะดำเนินการต่อไปด้วย

 

ศ.ดร.รุจา ภู่ไพบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สุขภาวะครอบครัวไม่จำเป็นต้องเป็นคนในครอบครัว ครอบครัวมีหลายรูปแบบ บางครั้งลูกๆ อยู่กันเอง พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วย เพศเดียวกันอยู่เป็นครอบครัว ความสุขของครอบครัววัดได้จากการมีกินมีใช้ อบอุ่น เรียนรู้ มีปัญญาส่งลูกเรียน ผลจากงานวิจัยเชิงคุณภาพ 300 ครอบครัวทั่วประเทศ ครอบครัวภาคใต้ยะลา, พัทลุง, สุราษฎร์ธานี อยู่ดีมีสุขมากเป็นอันดับ 1 ครอบครัวภาคอีสานเป็นอันดับ 2 ครอบครัวภาคเหนือเป็นอันดับ 3 ส่วน กทม.ได้คะแนนต่ำสุดของประเทศ ถ้าเปรียบเทียบรายได้คน กทม.บางครอบครัวมีรายได้ 5 หมื่นบาท แต่มีความสุขน้อยกว่าคนอีสานที่มีรายได้ 1.5 หมื่นบาท อยู่ดีมีสุข สุขภาวะสร้างได้ที่บ้านขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

 

ขณะนี้สังคมไทยแต่ละครอบครัวมีลูกน้อยลง ครอบครัวจะดูแลกันอย่างไร คนหนุ่มสาวแต่งงานไม่มีลูกหรือมีลูกน้อยลงย่อมประสบปัญหาความอบอุ่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราคงไม่ปล่อยปละละเลยปัญหานี้ ทำอย่างไรสุขภาวะครอบครัวจะอยู่ได้ จากการสำรวจ 6,000 ครอบครัวที่นครปฐม กาญจนบุรี โคราช สุโขทัย เชียงใหม่ ลำปาง ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขยาย ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวเครือญาติ ครอบครัวบุญธรรม อยู่คนเดียว อยู่กับเพื่อน ส่วนใหญ่แล้วครอบครัวไทยจะให้ลูกสาวคนเล็กอยู่ในบ้านและรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่า ในสารานุกรมราชบัณฑิตจะระบุว่าครอบครัวไทยเป็นครอบครัวเกษตรกรรม

 

ครอบครัวขยายจะรับพ่อแม่ของฝ่ายหญิงมาอยู่ด้วย มาช่วยเลี้ยงหลาน บางครั้งก็เป็นครอบครัวของฝ่ายชายมาช่วยเลี้ยงหลาน หรือบางครั้งพี่สาวก็ช่วยเลี้ยงหลาน ครอบครัวเล็กๆมักจะพึ่งพาพ่อแม่ของตัวเอง ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นครอบครัวในวัย 22-23 ปี ช่วงฮันนีมูน 22-24 ปียังไม่มีลูก จะเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุดของการใช้ชีวิตครอบครัว ใช้เงินสบายๆ เป็นช่วงที่เรียกว่าข้าวใหม่ปลามัน ช่วงที่ความสุขตกต่ำที่สุด ช่วงที่มีลูกเล็กก่อนจะเข้าโรงเรียน นอนไม่พอ ต้องหาเงินตัวเป็นเกลียวและยังต้องดูแลลูก พ่อแม่หนักหนาสาหัสไหน จะต้องดูแลพ่อแม่และดูแลลูกด้วย เมื่อลูกเริ่มโต คะแนนความสุขก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นอีก ช่วงทำงานมีเงินใช้มีรายได้สุขภาพดี แต่เมื่อเริ่มเข้าวัยสูงอายุก็จะมีปัญหาสุขภาพ

 

สิ่งที่ได้ข้อสรุปจากงานวิจัยคือครอบครัวที่เรียนมาสูงๆ จบปริญญาโท ปริญญาเอก ครอบครัวจะอยู่ดีมีสุขมากกว่า เมื่อมีรายได้ดีก็ย่อมมีความสุขสูง แต่ก็ไม่แน่บางครอบครัวรายได้ต่ำ แต่อยู่ดีมีสุขสูงเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาด้วย สมัยก่อนครอบครัวหนึ่งมีสมาชิก 1-9 คน ครอบครัวมีลูกเยอะมีความสุข ครอบครัวที่มีลูก 4 คนจะมีความสุขมากกว่าครอบครัวที่มีลูกมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นข้อสรุปการมีลูก 3 คนดีที่สุด

 

คนที่บริหารจัดการ Work Life Balance ด้วยการรักษาความสมดุลระหว่างเวลาและครอบครัวได้ดีจะทำให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข หน่วยงานสำนักงาน ก.พ.ที่ดูแลข้าราชการทั่วประเทศจะสนับสนุนอย่างไร ความอยู่ดีมีสุขในครอบครัวที่มีคนพิการ ส่วนหนึ่งที่คน กทม.มีความสุขน้อยลง เพราะชีวิตต้องขวนขวายทำงานเยอะ ส่งผลให้ Work Life Balance หายไป

 

พิทักษ์ บำรุงชาติ ประธานชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ในฐานะผู้ทำงานกับผู้เปราะบางคือผู้พิการโดยส่วนตัวแล้วมีลูกเป็นออทิสติก ครอบครัวเป็นหน่วยเล็กที่สุดในชุมชน การทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดสุขภาวะ การเลี้ยงลูกที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้นำครอบครัวไม่มีความรู้เรื่องออติสติก ต้องตระเวนหาความรู้ ทำอย่างไรให้ครอบครัวเกิดความสุข ช่วยเหลือลูกได้ สร้างความตระหนักรู้ ต้องขวนขวายหาองค์ความรู้ ปรับสิ่งที่เราได้มาเพื่อให้ลูกเราดีขึ้น ครอบครัวไม่วิตกกังวล บางครั้งปู่ย่าตายายมีความกังวล ไม่เข้าใจ สร้างภาวะพึ่งพิง ต้องอาศัยผู้อื่นฝากลูกไว้ให้เลี้ยง ต้องทำให้ลูกฉลาดรู้เพื่อใช้ชีวิตให้อยู่รอดท่ามกลางสภาพแวดล้อม คนจะมีสุขภาวะที่ดีต้องปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากันได้

 

“ผมแต่งงานแยกครอบครัวออกมา เมื่อมีลูกเป็นออติสติกดูแลตลอดทุกวัน ถ้าเราไม่สร้างครอบครัว เพื่อนบ้าน ลูกจะอยู่ไม่ได้ เพราะเขาต้องอยู่บ้านทุกวัน คุณยายที่อยู่ข้างบ้านก็แปลกใจว่าลูกผมพูดเหมือนมนุษย์ต่างดาว คุณยายช่วยเก็บสุนัขด้วยเวลาลูกผมออกมา และยังช่วยดูแลให้ขนมปัง น้ำกับลูกผมในช่วงเย็นก่อนที่พ่อแม่จะกลับจากทำงาน ผมกำชับคิวมอเตอร์ไซค์ว่าถ้าลูกผมเดินออกมานอกบ้านให้ช่วยชะลอรถด้วย ผมบอกกับพนักงานร้านสะดวกซื้อว่าถ้าลูกผมซื้อของไม่เกิน 20 บาทก็ให้เขา เป็นการให้ความรู้กับเพื่อนบ้านว่าลูกเราไม่ได้ทำอันตรายกับใคร ลูกผมอายุ 6 ขวบซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ไปโรงเรียนเองได้”

 

เมื่อเข้าไปอยู่ในระบบโรงเรียนก็ต้องเจรจาต่อรองกับครูด้วยว่า เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้ทั้งวันเหมือนเพื่อนๆ คนอื่น เพราะเป็นออติสติก ขอเรียนวันละ 2 ชั่วโมง เรียนสัปดาห์ละ 3 วัน เมื่อบริหารจัดการลูกของตัวเองได้ก็คิดที่จะช่วยเหลือลูกคนอื่นให้ได้รับสิทธิที่ดีด้วย มีการพูดคุยกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ผลักดัน กม.ให้เป็นนโยบายมี พ.ร.บ.การศึกษาเฉพาะคนพิการ มีห้องเรียนร่วมด้วย เราอยากให้ลูกอยู่กับครอบครัว มีความสัมพันธ์กับชุมชนด้วย มีความยั่งยืนด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"