13ก.พ.62- กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และผลงานเขียนชิ้นหนึ่งเปลี่ยนชีวิตของ “มัฐธิณี มูลทิพย์” สาวกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ให้วันนี้เธอได้ยืนอยู่ในฐานะผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 52 ของพรรคประชาธิปัตย์
“มัฐ” มัฐธิณี สาวแดนอีสานในครอบครัวยากจน พ่อประกอบอาชีพขับรถสามล้อรับจ้าง แม่มีอาชีพค้าขาย ฝันทางการศึกษาของเธอต้องการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา แต่เพราะครอบครัวมีรายได้น้อยจึงไปไกลได้เพียงมัธยมศึกษาตอนปลาย
ทว่า ด้วยกยศ.ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ กลับทำให้ “มัฐ” ได้เรียนต่อและคว้าใบปริญญาในคณะวิทยาการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
“หนูเป็นคนต่างจังหวัด นโยบายของพรรคเข้าถึงจริงๆ ครอบครัวมัฐไม่ได้ร่ำรวย แต่นโยบายกยศ.นี้ให้โอกาสเรา จากเด็กที่ไม่ได้เรียนต่อทำให้ได้จบปริญญา เพราะสมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษา แม่ไม่มีเงินจะส่งให้เรียนมหาวิทยาลัย แต่ในใจเราอยากเรียนให้ได้ปริญญาตรี ซึ่งโครงการกยศ.เข้ามา และเปิดโอกาสทางการศึกษาให้เราจริงๆ” เธอเล่าย้อนขณะสอบประวัติส่วนตัว
ถามต่อถึงที่มาที่ไป จุดเชื่อมโยงว่ากลายเป็นผู้สมัครส.ส.ของประชาธิปัตย์ได้อย่างไร เธอบอกว่า เริ่มต้นจากการส่งบทความชิ้นหนึ่งเข้าร่วมประกวดในโครงการ “คิดสร้างชาติ” ของสถาบันออกแบบประเทศไทย ซึ่งอยู่ภายใต้มูลนิธิควง อภัยวงศ์ ซึ่งในช่วงที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายจุติ ไกรฤกษ์ เป็นเลขาธิการพรรค พรรคได้ตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาขึ้น เพราะต้องการเปลี่ยนพรรคจริงๆ ดังนั้นทางมูลนิธิฯ จึงได้จัดโครงการ “คิดสร้างชาติ” เพื่อเปิดรับฟังเสียงจากทั่วประเทศขึ้น โดยได้รับเสียงตอบรับดีมีคนส่งเนื้อหาเข้าสู่โครงการจำนวนมาก และเราก็ได้เข้ารอบด้วย
มัฐ กล่าวว่า มาทราบภายหลังว่างานเขียนของเราสะดุดตากรรมการ เพราะนำเสนอความคิดที่แตกต่างจนกรรมการคาดไม่ถึง โดยมองเห็นปัญหาประเทศและมีทางออกให้กับปัญหานั้น นอกจากนี้ คณะกรรมการและผู้ใหญ่ในพรรคเห็นว่างานเขียนที่ส่งประกวด ทำให้เขาสรุปได้ว่าการแก้ไขความเหลื่อมล้ำของประเทศ ต้องแก้ด้วยสวัสดิการที่ดี จากนั้นพรรคก็ดึงตัวเรามาช่วยงานในด้านการวิจัยและพัฒนานโยบายตั้งแต่ปี 58 เป็นต้นมา ผู้ใหญ่ให้เราลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านต่างๆ และปัญหาความเหลื่อมล้ำของภาคอีสานมารายงาน เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงของคนอิสานแบบมุมมองคนอิสานเองไม่ใช่แบบคนเมืองมอง และคิดเป็นนโยบายของประชาธิปัตย์
ถามว่าส่วนใหญ่ชาวอีสานจะชื่นชอบบางพรรคการเมือง แต่อะไรที่ทำให้ครอบครัวมูลทิพย์เลือกอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ “มัฐธิณี” ระบุว่า ครอบครัวของมัฐชื่นชอบประชาธิปัตย์ตั้งแต่รุ่นคุณย่า เพราะชอบนโยบายเบี้ยผู้สูงอายุ 300 บาท ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ส่วนในรุ่นคุณพ่อนั้น เป็นคนที่ติดตามข้อมูลข่าวสารการเมืองค่อนข้างมาก ศึกษา อ่านด้วยตัวเอง จนรู้ว่านโยบายของพรรคการเมืองต่างๆเป็นดี ไม่ดี อย่างไร จนกระทั่งรุ่นของมัฐได้รับประโยชน์จากโครงการกยศ. ซึ่งพรรคทำไว้โดยตรง เป็นโครงการที่ให้โอกาสเราจริงๆ ทำให้เราเรียนจบปริญญาตรี
“ไม่ได้มีใครบอกให้ชอบพรรคประชาธิปัตย์ เราก็มีความคิดของเรา เพราะเรารู้สึกได้รับโอกาสจากพรรคนี้ แม้จะฐานะยากจน อยากจะบอกว่าเข้ามาพรรคได้ง่าย เข้าถึงง่าย นโยบายเข้าถึงคนจนจริงๆ และดูแลทุกคนไม่เคยทิ้งใคร” พร้อมขยายความว่า ในเวลาที่เราอยู่ในทีมคิดนโยบาย ท่านหัวหน้าพรรค ย้ำอยู่เสมอว่านโยบายต่างๆต้องมีประโยชน์กับคนทุกกลุ่มและปฏิบัติได้จริง กระบวนการตามกฏหมายต้องทำได้จริงและไม่เป็นภาระงบประมาณแผ่นดินมากเกินไป และกว่าจะออกมาเป็นนโยบายสู่ประชาชนต้องกลั่นกรองจนตกผลึก
นอกจากนี้ มัฐ ยังบอกเพิ่มเติมว่า พรรคขอเชื้อเชิญให้ชาวอีสานเข้ามาลอง และช่องทางการเข้าถึงอาจจะง่ายกว่าพรรคอื่นๆก็ได้ เสนอความคิดเข้ามา เพราะเราไม่ได้ตั้งธงอะไรเลย เราอิสระมาก สายตาคนภายนอกอาจมองพรรคประชาธิปัตย์ คือ พรรคอนุรักษ์นิยมและเต็มไปด้วยทายาทนักการเมือง ซึ่งความจริงสิ่งที่คนมองเห็นในพรรคประชาธิปัตย์เป็นเพียงแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 70 เปอร์เซ็นต์คือคนที่ทำงานเบื้องหลังทั้งหมด และเรามีคนจากทั่วประเทศที่ทยอยหมุนเวียนเข้าสู่การเมือง
อย่างไรก็ตาม สำหรับหลายคนที่มองว่าคนอีสานคือเสื้อแดงทั้งหมด ตอบว่าไม่ใช่ เพียงแต่ว่าคนที่แสดงออกในอีสาน ซึ่งมีไม่เยอะเป็นเสื้อแดงต่างหาก ขณะเดียวกันเราขาดบุคคลที่จะแสดงออกทางการเมืองที่เป็นประชาธิปัตย์ในพื้นที่ และไม่ได้แปลว่าคนในพื้นที่ที่ชอบประชาธิปัตย์จะไม่มี เพียงแต่ไม่ได้แสดงออก
สุดท้าย เธอคนนี้ตั้งใจจะใช้นโยบายประกันรายได้ของพรรคแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ให้ได้ โดยเริ่มจากการปิดช่องว่างให้กับราคาผลผลิตของเกษตรกร เพราะทราบดีว่าชาวอีสานไม่ได้อยากจะจากบ้านเกิดเข้ากรุงเทพมหานครมาทำงาน เพราะรู้ว่าชีวิตกรุงเทพไม่ได้สบายอย่างที่คิดไว้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |