เพื่อยกระดับเมืองโบราณเชียงแสนให้เป็นเมืองพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต งาน" มหกรรมเมืองพิพิธภัณฑ์เชียงแสน : ปาเจียงแสนปิ๊กบ้าน " จึงเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) เครือข่ายพิพิธภํณฑ์ท้องถิ่นล้านนา และคนเชียงแสน ซึ่งไม่เฉพาะคนในพื้นที่ แต่ชักชวนคนไทยวนเชียงแสนที่โยกกย้ายไปอยู่พื้นที่ต่างๆ ของไทย และลาว กลับบ้านอีกครั้งเหมือนชื่องานปิ้กบ้าน มาเติมเต็มความทรงจำ เมืองเชียงแสนมรดกชาติ ให้สมบูรณ์
เด็กๆร่วมกิจกรรมพิพิธภัณฑ์เล่นได้
เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสนริมแม่น้ำโขง จ.เชียงราย มีโบราณสถานมากกว่า 50 แห่ง และป้อมประตูเมืองกระจายอยู่ทั่ว งานมหกรรมเมืองพิพิธภัณฑ์เชียงแสน : ปาเจียงแสนปิ๊กบ้าน เลือกใช้พื้นที่วัดเจดีย์หลวง อยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ซึ่งมีเจดีย์หลวงที่ใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสน ศูนย์รวมจิตใจของผู้คน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอข้อมูลความรู้และผลจากการทำงานของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือที่ทำงานหนักมาตลอด 1 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2561 มาจัดกิจกรรมเปิดประตูสู่ความทรงจำในอดีตและแนวทางการพัฒนาพิพิพิธภัณฑ์ต่อไปให้ดึงดูดคนเชียงแสนและนักท่องเที่ยวยิ่งขึ้น
พีรพน พิสณุพงศ์ เยี่ยมชมนิทรรศการภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเชียงแสน
พีรพน พิสณุพงศ์ ผู้อำนวยการ ศมส. กล่าวว่า ศมส.สนับสนุนทุนการจัดมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งนี้ มีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ ของภาคเหนือทำงานและนำเสนอข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสนที่ศึกษาจากโบราณสถาน ตำนาน เอกสารโบราณ จารึก ภาพถ่ายเก่า บันทึกและคำบอกเล่าของคนเชียงแสน แสดงถึงของดีเมืองเชียงแสน เติมประวัติศาสตร์ที่ขาดช่วงไปได้ นอกจากนี้ ได้ชักชวนชาวไทยวนเชื้อสายเชียงแสนที่ไปตั้งถิ่นฐานในจังหวัดต่างๆ 10 จังหวัด เช่น ราชบุรี นครราชสีมา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก มาร่วมจัดนิทรรศการวิถีชีวิตและภูมิปัญญาไทยวน เพื่อให้คนเชียงแสนในท้องถิ่นได้ฟื้นความทรงจำ เพราะปัจจุบันวิถีไทยวนเชียงแสนเริ่มจาง เนื่องจากมีหลายชาติพันธุ์ในอำเภอเชียงแสน
" คลีนิกพิพิธภัณฑ์เป็นอีกกิจกรรมเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑ์ในเชียงแสน ศมส. ร่วมกับเครือข่ายทำงานพัฒนาพิพิธภัณฑ์ใน อ.เชียงแสน โดยแนะนำการซ่อมวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาข่าสะโง้ สร้างผลิตภัณฑ์พิพิธภัณฑ์และของที่ระลึก รวมทั้งให้คำปรึกษาในการปรับปรุงและออกแบบนิทรรศการใหม่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน วัดผาเงา นอกจากนี้ ได้ลงพื้นที่สืบค้นภาพเก่ารวมถึงคำบอกเล่าของชาวเชียงแสนกลับคืนมาเพื่อเติมเต็มประวัติศาตร์ที่ขาดหายทั้งวิถีชีวิต สถานที่ ประเพณี สิ่งเหล่านี้จะรวบรวมเพื่อใช้เติมเนื้อหาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ให้สมบูรณ์ ทำให้คนเชียงแสนสนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์มากขึ้น " พีรพน กล่าว
สาธิตการทำผ้าห่อคัมภีร์ มรดกภูมิปัญญาเชียงแสน
เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือเข้มเข็ง นเรนทร์ ปัญญาภู พิพิธภัณฑ์มิกกี้เฮาส์ ลำพูน กล่าวว่า แม้จะทำพิพิธภัณฑ์อยู่ลำพูน แต่ได้มีส่วนร่วมค้นหาและถ่ายทอดความทรงจำในอดีตของเมืองเชียงแสน ใช้เวลา 1 ปี กระตุ้นความทรงจำร่วมของชาวเชียงแสน ซึ่งสำคัญไม่แพ้ประวัติศาสตร์กระแสหลัก ใช้สมุดภาพเก่าเชียงแสนเป็นเครื่องมือให้ดู มีทั้งภาพเวียงเก่า, เกาะก๋าง, ฮิมน้ำของ, เมืองแฟนซี ฯลฯ เมื่อชาวบ้านเล่าจะบันทึกและมีศิลปินเชียงแสนวาดภาพร่างจากคำบอกเล่าด้วย ทั้งภาพการจับปลาบึก วิถีชีวิตริมแม่น้ำโขง
ชุดไทยวนอายุ100ปี สมบัติทายาทตระกูลเชื้อเจ้าเจ็ดตน
" จากคำบอกเล่าได้พบประเพณีที่หายไป เมื่อ 60 ปีก่อน เป็นงานกฐินสามัคคีเมืองเชียงแสนที่คนแต่งชุดแฟนซีกันทั้งเมือง ปัจจุบันไม่มีแล้ว รวมถึงประเพณีกฐินทางน้ำของชาวลาว เกาะแก่งกลางน้ำโขงที่หายไป และสถานที่ที่ไม่พบเห็นแล้วในปัจจุบัน ในมหกรรมนี้จัดเป็นนิทรรศการภาพร่าง มีคนสนใจมาก ก่อนหน้านี้ สร้างเพจปิ๊กเชียงแสน เปิดโอกาสให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมส่งภาพมาเพิ่ม ถือเป็นคลังข้อมูลของเชียงแสน อยากให้ท้องถิ่นร่วมจัดการและต่อยอด ภาพที่ได้รับอนุญาตยังนำมาทำโปสการ์ดและของที่ระลึกพิพิธภัณฑ์ สร้างรายได้เข้าท้องถิ่น " นเรนทร์ กล่าว
มืองประวัติศาสตร์เชียงแสนมีโบราณสถานกว่า 50 แห่ง
ส่วนสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.เชียงราย นำนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม ภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ โชว์เสื้อไทยยวนอายุร้อยกว่าปี ตลอดจนชวนแม่บัวคลี่ วันฟู ครูภูมิปัญญาชาวเชียงแสน สาธิตทอตุงลายแบบเชียงแสน สะท้อนความผูกพันกับพุทธศาสนา มีผู้คนแวะเวียนชมนิทรรศการไม่ขาด ผศ.ดร.สมหวัง อินทร์ไชย ผอ.สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.เชียงราย บอกว่า เมืองโบราณเวียงเชียงแสนร่ำรวยด้วยมรดกชาติ มีชุมชนต่างๆ กระจายตัว เกิดภูมิปัญญามากมาย โดยเฉพาะการทอผ้า มหกรรมนี้นำเสื้อไทยยวนอายุมากกว่า 100 ปี สมบัติทายาทผู้ครองนครเชียงราย ตระกูลเชื้อเจ้าเจ็ดตน เล่าเรื่องการแต่งกายของเจ้านายในอดีต อีกชิ้นเป็นผ้าซิ่นตีนจกเชียงแสน ซึ่งเชียงแสนถูกทิ้งเป็นเมืองร้าง ผู้คนอพยพ ลวดลายผ้าก็ตามคนไปที่อื่น นักวิชาการของมหาวิทยาลัยถอดลายและทดลองทอใหม่ ก่อนนำลายเชียงแสนดั้งเดิมไปแจกจ่ายให้ชุมชน รวมถึงไปสร้างศักยภาพปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ผ้าทอในเชียงแสนให้สมบูรณ์ขึ้น มหกรรมครั้งนี้พาคนเชียงแสนกลับบ้าน รู้จักอดีตอย่างสนุกสนาน
วัดผาเงามีพิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |