ในยุคปัจจุบันนวัตกรรมและความรวดเร็วเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้ทุกๆ เรื่อง และทุกๆ ด้านเกิดการพัฒนาและก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและโลก ซึ่งทุกสิ่งที่ก็ต้องอาศัยความรู้และแนวทางเพื่อที่จะนำธุรกิจนั้นๆ ฝ่าฟันปัญหาที่มีอยู่ตอนนี้จนก้าวหน้านำคู่แข่งได้ และหนึ่งในนั้นก็คือภาคอุตสาหกรรม ที่เป็นฐานการผลิตมานานกว่า 40 ปี และเป็นห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
แต่จากการเปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้นนั้น ก็ทำให้ทุกอุตสาหกรรมต้องมีแนวทางที่จะทำให้ก้าวหน้าไปด้วย ซึ่งมีหลายๆ กลุ่มที่จะต้องปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย ที่ได้รับผลกระทบนี้เช่นกัน และต้องการความเปลี่ยนแปลงซึ่งไทยจากการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ จึงต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างสู่สมาร์ท อิเล็กทรอนิกส์(Smart Electronics) ให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงไปกับแทบทุกอุตสาหกรรมในอนาคต
โดยจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหลายๆ กลุ่มอุตสาหกรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ สมาร์ท ฟาร์มมิง (Smart Farming) สมาร์ท เฮลท์ (Smart Health) สมาร์ท แฟคตอรี่(Smart Factory) สมาร์ท เวฮิกเล (Smart Vehicle) เป็นต้น และเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะพัฒนาให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ ได้ และเพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยต่อยอดนวัตกรรมและงานวิจัยไปสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูง
และในเรื่องนี้ นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกมากล่าวว่า กระทรวงได้บูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงานจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (ไอทีซี) มีการแบ่งปันเครื่องจักรอุปกรณ์จากเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐมาให้บริการแก่ผู้ประกอบการเพื่อเป็นการลดต้นทุนการประกอบกิจการ
ซึ่งมีสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นหน่วยร่วมที่สำคัญ และได้ดำเนินการจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ (อีดีแอล) เพื่อช่วยส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่ครบวงจร ซึ่งถือเป็นหน่วยงานเครือข่ายของศูนย์ไอทีซีด้วย
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงและแนวทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหน่วยงานหลักในการเข้ามาดูแลอยู่แล้ว จึงไม่น่าเป็นห่วงมากที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ก้าวหน้าขึ้นไปได้อีก ซึ่งจากสถานการณ์การส่งออกของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2561 ภาพรวมมีมูลค่าการส่งออก 62,108.53 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.16%
แบ่งเป็น 1.สินค้าไฟฟ้า 17,491.67 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.01% 2.สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 38,063.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.27% และ 3.สินค้าไฟฟ้ากำลัง 6,553.59 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.63% ทั้งนี้ สัดส่วนประเทศตลาดส่งออกหลักในภาพรวม 5 อันดับ ได้แก่ อาเซียน 18.47 สหรัฐอเมริกา 17.89% สหภาพยุโรป 14.46% ญี่ปุ่น 11.50% และจีน 9.03% ตามลำดับ
นายสมบูรณ์ หอตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวถึงแนวโน้มปี 2562 ประมาณการว่าการส่งออกในภาพรวมจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.26% หรือมีมูลค่าราว 64,133.26 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าไฟฟ้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.97% และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.55% เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่เป็นตลาดส่งออกหลักจะปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน
ถึงสถานการณ์การส่งออกของอุตสาหกรรมไฟฟ้ายังมีแนวโน้มที่สดใสอยู่ และแนวทางการทำงานของสถาบันไฟฟ้าก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตจากปัจจัยต่างๆ คงจะทำให้มีผลกระทบเพิ่มขึ้นหนักกว่านี้ และความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวก็จะเกิดขึ้น อย่างในเมื่อเร็วๆ นี้ที่มีมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา และการตอบโต้ทางการค้าของสหรัฐอเมริกากับจีน ก็ยังทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายรายการปรับตัวลดลง และถ้ายังปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข คนที่จะกระทบหนักก็จะเป็นตัวเราเองที่ไม่สามารถพัฒนาได้ทัน.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |