ปัญหาต้องแก้อย่างยั่งยืน


เพิ่มเพื่อน    

    หลังราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ทั้งข้าว ข้าวโพด ยางพารา และน้ำมันปาล์ม ทำให้รัฐบาลเร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม  ซึ่งรัฐบาลพยายามยกระดับราคาให้เพิ่มสูงขึ้น โดยนำเอาน้ำมันปาล์มส่วนหนึ่งมาเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเมื่อประมาณกลางเดือน พ.ย.2561 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 พ.ย.61 อนุมัติในหลักการมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจำนวน 1.6 แสนตัน ในราคากิโลกรัมละ 18 บาท จากพื้นที่แหล่งผลิตสำคัญ เช่น กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
    ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือเกษตรตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้สามารถใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นเชื้อเพลิงมาผลิตไฟฟ้าได้ประมาณเดือนละ 30,000 ตัน โดย  กฟผ.จะใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตไฟฟ้าได้ 6 เดือน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคมนี้     
    ล่าสุด เมื่อต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา รมว.พลังงาน ศิริ จิระพงษ์พันธ์ กดปุ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ด้วยน้ำมันปาล์มดิบ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 จ.ฉะเชิงเทรา หลังจากที่มีการจัดส่งน้ำมันปาล์มดิบล็อตแรก จำนวน 4,000 ตัน มาทางเรือจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีถึงโรงไฟฟ้าบางปะกงเมื่อวันที่ 28 ม.ค.62 ที่ผ่านมา ทำให้สามารถใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นเชื้อเพลิงมาผลิตไฟฟ้าได้ประมาณเดือนละ 30,000 ตัน ซึ่งตามแผนจะสามารถดูดซับน้ำมันปาล์มดิบในตลาดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้จำนวน 160,000 ตัน โดย กฟผ.จะใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตไฟฟ้าได้ 6 เดือน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคมนี้
    อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว โดยแท้จริงแล้วเป็นการแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่แท้จริงหรือไม่ คงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์กันโดยละเอียด เพราะขนาดท่าน รมว.พลังงาน เองยังถึงกับออกปากว่า การนำน้ำมันปาล์มดิบไปเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า ตามมติ ครม.ยังไม่ช่วยยกระดับราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศ พร้อมทั้งมีความคิดว่าหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปตรวจสอบว่าเกิดจากปัญหาการลักลอบน้ำมันปาล์มดิบเข้ามาจากต่างประเทศหรือไม่ 
    เพราะต้องยอมรับกันว่าเงินที่นำมาช่วยเหลือกันนั้น ก็เงินที่มาจากภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชน ซึ่งเหมือนการเอาเงินกระเป๋าซ้าย จ่ายกระเป๋าขวาเท่านั้นเอง สำหรับในครั้งนี้คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 2,880 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าแพงกว่าปกติเป็นเงิน 1,354 ล้านบาท แม้ว่าภาระดังกล่าวรัฐบาลจะใช้งบประมาณกลางที่เป็นงบส่งเสริมการส่งออกปาล์มน้ำมันจำนวน 525 ล้านบาท ชดเชยเงินให้กับ กฟผ. และส่วนที่เหลืออีก 829 ล้านบาท ทาง กฟผ.จะไปทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อให้ใช้ในรูปแบบรายจ่ายเพื่อสังคมของ กฟผ.มาดำเนินการ
    และที่สำคัญเมื่อรู้ว่าทำแล้วไม่ได้ช่วยหรือแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำอย่างแท้จริง ก็ไม่ควรที่จะต้องดันทุรังเพื่อทำ ควรที่จะมองหาแนวทางอื่นดีกว่าไหม งบลงทุนที่ใช้สำหรับปรับปรุงจำนวนมหาศาล เหมือนเอาไปละลายทิ้งในแม่น้ำ 
    เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาฝุ่นขณะนี้ถือว่าเป็นข่าวดีทั้งภาครัฐและเอกชนต่างที่ร่วมมือกันในการแก้ไขตามตึกสูงต่างติดเครื่องพ่นไอน้ำ ภาครัฐก็พยายามที่จะออกมาตรการกำกับดูแล แต่สุดท้ายอยากถามว่ามีใครรู้ไหมว่าสาเหตุของฝุ่นจริงแล้วมาจากไหน หลายคนตอบว่ามาจากควันรถ มาจากการก่อสร้าง มาจากการเผานาข้า เผาป่า เมื่อรู้สาเหตุกันขนาดนี้แล้วก็ต่องเร่งแก้ให้ถูกจุด อย่าเอาแต่พูดกันไปพูดกันมา มันไม่เกิดผลแน่ ปีหน้าก็มีมาใหม่อีก 
    ดังนั้น ขณะนี้แม้ว่าทุกอย่างเริ่มคลี่คลายเหมือนกับปัญหาราคาพืชผลเกษตรที่ตกต่ำ หรือแม้กระทั่งปัญหาฝุ่นละอองเริ่มคลี่คลายไปบ้างแล้ว ก็ใช่ว่าทุกฝ่ายที่รวมแรงรวมใจกันจะหยุดไปพร้อมกับปัญหาที่คาราคาซัง  ควรที่จะเดินหน้าอย่างถาวรเพื่อให้ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหล่านี้หมดไปอย่างถาวร ขอเถอะอย่าทำพูดอย่างนั้นอย่างนี้ แค่ลูบหน้าปะจมูกแล้วกัน แล้วใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเช่นทุกวันนี้ สิ่งที่ตามมาคือชาวบ้านยากจน ประเทศล่มจมไม่เหลืออะไร. 

บุญช่วย  ค้ายาดี 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"