11 ก.พ.61-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การลักลอบล่าสัตว์ป่า ในเขตหวงห้าม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 9 กุมภาพันธ์ 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจาย ทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการลักลอบล่าสัตว์ป่า ในเขตหวงห้าม การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเหมาะสมของบทลงโทษในการลักลอบล่าสัตว์ป่าในเขตพื้นที่หวงห้าม (มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.28 ระบุว่า เหมาะสม เพราะ เป็นบทลงโทษที่สมเหตุสมผลกับการกระทำอยู่แล้ว เป็นการสร้างความเกรงกลัวให้กับผู้ที่จะลักลอบล่าสัตว์ป่าในเขตห่วงห้าม ขณะที่บางส่วนระบุว่า ให้ดูที่เจตนาของผู้ที่กระทำ อาจจะทำไปด้วยความไม่ตั้งใจ รองลงมา ร้อยละ 47.52 ระบุว่า ไม่เหมาะสม เพราะ บทลงโทษน้อยเกินไป อยากให้เพิ่มบทลงโทษให้มากกว่านี้ เช่น จำคุก 5 - 20 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาและปราบปรามผู้ลักลอบล่าสัตว์ป่าหรือบุกรุกเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า พบว่า ร้อยละ 19.04 ระบุว่า มีความเชื่อมั่นมาก ร้อยละ 31.04 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเชื่อมั่น ร้อยละ 36.96 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่น ร้อยละ 11.60 ระบุว่า ไม่มีความเชื่อมั่นเลย และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและการบุกรุกป่าไม้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.32 ระบุว่า มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและมีบทลงโทษที่รุนแรงขั้นเด็ดขาด รองลงมา ร้อยละ 33.60 ระบุว่า มีการเสริมสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และหวงแหนป่าไม้และสัตว์ป่าให้แก่ประชาชน ร้อยละ 23.20 ระบุว่า มีการปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเยาวชน ในการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ร้อยละ 13.12 ระบุว่า มีการส่งเสริมเผยแพร่ด้านความรู้เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของสัตว์ป่าและป่าไม้ ร้อยละ 11.04 ระบุว่า มีการสร้างและพัฒนาช่องทางในการรับแจ้งข้อมูลหรือเบาะแสให้มีความสะดวก หลากหลาย ร้อยละ 6.96 ระบุว่า มีการเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 4.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรมีมาตรการไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปในอุทยานโดยเด็ดขาดนอกจากเจ้าหน้าที่เท่านั้น มีการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น เพิ่มงบประมาณและสวัสดิการให้กับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่มีวิธีไหนเลยที่แก้ได้ และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการบังคับใช้กฎหมายกับประชาชนทุกระดับว่าจะมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.88 ระบุว่า ไม่มีความเชื่อมั่น เพราะ การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวด กฎหมายมีช่องโหว่ในการบังคับใช้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายละเลยต่อหน้าที่ เจ้าหน้าที่เกรงกลัวผู้มีอิทธิพล ขณะที่ ร้อยละ 27.84 ระบุว่า มีความเชื่อมั่น เพราะ กฎหมายมีความชัดเจนในการบังคับใช้อยู่แล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับใช้กฎหมาย มีความความเที่ยงตรง ยุติธรรม และมีจิตสำนึกที่ดีอยู่แล้ว และร้อยละ 3.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |