ทุกพรรคการเมืองยังมีลุ้น 76% บอกยังไม่มีพรรคในใจ ส่วน “ประยุทธ์” หนาวแน่ ทั้งกองเชียร์และกองแช่ง แนะให้วางตัวเป็นกลางอย่ารับเทียบเชิญ แย้มปัจจัยเลือก ส.ส.ต้องเป็นคนดี-ซื่อสัตย์ ส่วนพรรคต้องชูนโยบายทำได้จริง
เมื่อวันอาทิตย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล ได้เผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง พรรคการเมืองในใจคนไทย กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั้งสิ้น 1,097 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนจำนวนมากเกินกว่า 1 ใน 3 หรือ 38.7% ยังไม่ทราบวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 24 มี.ค. แต่ 61.3% ทราบแล้วว่าเป็นวันที่ 24 มี.ค. และเมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง พบว่า 44.8% จะไป, 44% ยังไม่แน่ใจ และ 11.2% ไม่ไป
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือ 76% ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจที่จะเลือก ในขณะที่ 24% ระบุมีพรรคการเมืองในใจแล้ว โดยเมื่อจำแนกตามจุดยืนการเมืองพบว่า ทุกกลุ่มจุดยืนการเมืองส่วนใหญ่ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจที่จะเลือก โดยกลุ่มพลังเงียบยังไม่มีพรรคการเมืองในใจที่จะเลือกมากที่สุด คือ 82.9% รองลงมาคือ กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 76.9% และกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลและ คสช. 63.2% ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจที่จะเลือก
“เมื่อถามถึงการตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ที่ควรรับเทียบเชิญของนักการเมือง หรือวางตัวเป็นกลาง ทำงานต่อรอผลหลังเลือกตั้งจำแนกตามจุดยืนการเมืองของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่ในทุกกลุ่มจุดยืนการเมือง ได้แก่ กลุ่มพลังเงียบ 86.3%, กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลและ คสช. 81.8% และกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล และ คสช. 74.9% ระบุให้ พล.อ.ประยุทธ์ควรวางตัวเป็นกลาง ทำงานต่อรอผลหลังเลือกตั้ง ในขณะที่กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล และ คสช. 25.1% กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล และ คสช. 18.2% และกลุ่มพลังเงียบร้อยละ 13.7 เท่านั้นที่ระบุนายกฯ ควรรับเทียบเชิญนักการเมือง” ผลโพลระบุ
ดร.นพดลกล่าวอีกว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ชัดว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ฟันธงจะเลือกพรรคไหน ทุกพรรคการเมืองจึงมีโอกาสสูงได้ใจประชาชน แต่ช่วงโค้งสุดท้ายจะชัดเจนขึ้นว่าคนไทยจะเลือกพรรคใด แต่วันนี้คนไทยในทุกกลุ่มเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์วางตัวเป็นกลาง ทำงานต่อ รอผลหลังเลือกตั้งจะเป็นกลยุทธ์ที่ดีกว่า
ส่วนสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ 1,244 คน ในเรื่องประชาชนจะเลือกผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมืองแบบใด? โดยเมื่อถามว่า ผู้สมัคร ส.ส.แบบไหนที่จะเลือก พบว่า 54.60% จะเลือกเป็นคนดีประวัติดี ซื่อสัตย์ มีความรู้, 45.56% เก่ง ทำงานดี มีผลงาน ช่วยเหลือประชาชน, 27.14% พูดจริงทำจริง รักษาสัญญา ทำตามที่พูด, 24.78% บุคลิกดี พูดจาดี อัธยาศัยดี เข้าถึงง่าย และ 11.41% เป็นคนในพื้นที่ เป็นที่ยอมรับ และเมื่อถามว่าผู้สมัครแบบไหนที่จะไม่เลือก พบว่า 48.29% ประวัติไม่ดี พฤติกรรมไม่ดี ทุจริต ซื้อเสียง, 30.97% คุยโม้ โอ้อวด พูดเกินจริง, 22.65% ไม่ช่วยเหลือชาวบ้าน เห็นแก่ตัว เอาเปรียบ, 21.48% ชอบใส่ร้าย โจมตี ยุยง ปลุกปั่น และ 14.4% ไม่ลงพื้นที่ ไม่หาเสียง ไม่เข้าหาประชาชน
สวนดุสิตโพลยังถามถึงพรรคการเมืองแบบไหนที่จะเลือก พบว่า 37.59% นโยบายดี พัฒนาเศรษฐกิจ ทำเพื่อประชาชน, 36.12% มีหัวหน้าพรรคเก่ง เป็นผู้นำที่ดี, 29.83% เข้มแข็ง มีจุดยืน มีอุดมการณ์, 23.28% มีผู้สมัครที่ชื่นชอบ มีบุคคลที่ชอบอยู่ในพรรค และ 14.57% มีภาพลักษณ์ที่ดี สามัคคี ไม่แตกแยกกันเอง ส่วนพรรคการเมืองแบบไหนที่ประชาชนจะไม่เลือก พบว่า 39.02% เอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มของตนเอง เห็นแก่พวกพ้อง, 28.81% นโยบายไม่ชัดเจน ขายฝัน พูดเกินจริง, 25.34% พรรคที่ซื้อเสียงทุจริตคอร์รัปชัน, 19.05% ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่รับฟังความคิดเห็น และ 17.41% กล่าวหาโจมตีพรรคคู่แข่ง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |