นายกฯแจงผลงานรัฐ4ปี! ปลุก‘คนไทย’อย่าลืม‘ราก’


เพิ่มเพื่อน    

 “ประยุทธ์” แจงผลงาน 4 ปี แซะไปต่างประเทศได้รับการยอมรับเพื่อการค้าขาย ไม่ใช่ไปช็อปปิ้งหรือท่องเที่ยว เตือนสติคนไทยอย่าลืมราก มิเช่นนั้นเมื่อเจอลมแรงจะล้มง่าย ปลุกใช้เกษตรกรรมสร้างชาติ

เมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงผลการดำเนินงานปีที่ 4 ของรัฐบาล โดยมีรัฐมนตรีร่วมรับฟัง พร้อมให้แต่ละกระทรวงนำเอกสารสรุปผลงานมาแจกจ่ายประกอบการแถลงด้วย
    โดย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวตอนหนึ่งว่า ทุกคนทราบดีว่าในช่วงก่อนที่รัฐบาลและ คสช.เข้ามา ประเทศมีวิกฤติการเมือง มีการทะเลาะเบาะแว้ง เศรษฐกิจหยุดชะงัก หลายอย่างมีปัญหาไปหมด จึงเป็นเหตุผลและความจำเป็นที่ คสช.ตัดสินใจเข้ามาควบคุมสถานการณ์ในวันที่ 22 พ.ค.2557 โดยได้วางแนวทางการแก้ปัญหาประเทศไว้ 3 ระยะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะที่ 3 ที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญและกำลังเดินหน้าสู่การจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มี.ค.2562 
สำหรับผลงานรัฐบาลได้แก้ปัญหาเร่งด่วน อาทิ การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งแม้ดัชนีชี้วัดจะถูกลดอันดับลง แต่ในประเด็นย่อยดีขึ้น ไม่ใช่จับแต่เรื่องไม่ดี แต่เรื่องดีๆ ไม่พูดกัน หากเราไม่สนใจเรื่องดีๆ เอาแต่พูดจาให้ร้ายกันไปเรื่อยๆ ความเชื่อมั่นและความเชื่อถือต่อประเทศก็ไม่เกิด รวมถึงปัญหาอีกหลายอย่างที่กำลังดำเนินการ จึงต้องขอร้องให้ใจเย็นๆ ส่วนเรื่องดัชนีชี้วัดการทุจริตคอร์รัปชัน มีบางคนบอกทำได้ดีกว่านี้ ที่ทำได้แค่นี้เพราะตนเองอยู่ ก็ขอให้ดูว่าวันหน้านักการเมืองเข้ามาจะเป็นอย่างไร อาจทำดีกว่าหรือแย่กว่าขอให้รอดู ขออย่าไปบิดเบือน
          พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า ก่อนมีการเลือกตั้ง เรามียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างชัดเจน ส่วนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีกระบวนการพูดคุยสันติสุข ที่ต้องทำให้สังคมโลกเห็นว่าเราทำตามมาตรฐานสากล ไม่ได้เป็นการเจรจา เพราะเราไม่ได้ไปรบกับใคร ซึ่งเมื่อการแก้ปัญหาดีขึ้นสถิติการก่อเหตุลดลง แต่มีความพยายามสร้างความหวาดกลัวเพื่อไม่ให้ร่วมมือกับรัฐ ดังนั้นอย่าช่วยขยายความรุนแรง เพื่อไม่ให้ลุกลามปานปลาย เพราะจะเปิดช่องให้ต่างประเทศเข้ามา
     พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงด้านการต่างประเทศว่าช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความภาคภูมิใจและได้รับการยอมรับมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการแก้ปัญหาของไทย แต่ไม่ใช่หยุดและเลิกเลย เพราะมีคนจ้องโจมตีอยู่ทั้งคนที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ทำให้ทำงานได้ช้า และขัดแย้ง ซึ่งการเยือนต่างประเทศไปครบทุกภูมิภาคถึง 64 ครั้ง รวมถึงประเทศที่เป็นประชาธิปไตยก็ตอบรับอย่างดี 
“ไม่ได้ไปซื้อของหรือไปเที่ยวเข้าใจกันหรือไม่ เป็นการเจรจาเรื่องการค้าขาย การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งไทยได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานการประชุมอาเซียนในปี 2562 จะต้องทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย อย่าให้เกิดแบบเดิมอีก ทุกคนรู้อยู่แล้วอะไรดีไม่ดี ขณะที่การท่องเที่ยวย้ำว่าคนเข้ามามากขึ้น ดังนั้นอย่าขัดแย้งและอย่าทำร้ายประเทศขยายเรื่องไม่ดีออกไป” นายกฯ กล่าว
    นายกฯ กล่าวอีกว่า ด้านสาธารณสุข ขยายสิทธิรักษาอย่างเข้าถึงยาราคา 11 รายการ รักษาฟรีโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เพิ่มค่าป่วยการ 1,000 บาท ส่วนการลงพื้นที่แต่ละครั้งก็ไม่ได้ลงไปหาเสียง มีรัฐมนตรีลงไปล่วงหน้า 3-4 วัน มีกิจกรรมต่างๆ มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ้าไปแบบให้พอใจ พูดจาเพราะๆ ถ่ายรูปแล้วกลับบ้านก็ทำได้                  
“ต้องร่วมมือทำประเทศไปข้างหน้า พร้อมร่วมหลอมใจเป็นหนึ่งเดียว เพื่อจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วยความสงบเรียบร้อย” นายกฯ กล่าวทิ้งท้าย
ในช่วงค่ำ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ว่า ประเทศไทย เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวประชากรกว่า 30 ล้านคน หรือเกือบ 50% ของคนทั้งประเทศมีอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรกรรม ซึ่งนโยบายหลักด้านการเกษตรของรัฐบาลคือ ตลาดนำการผลิตเป็นการกำหนดโควตาเกษตรกรรม ด้วยการอาศัยข้อมูลของ 1.พื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 2.ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ 3.ลักษณะของดิน และ 4.ความต้องการของตลาดในประเทศและนอกประเทศ
“การแก้ไขที่ยั่งยืนคือการจำกัดพื้นที่การปลูกข้าวร่วมกับการส่งเสริมการปลูกข้าวพันธุ์ข้าวที่ราคาดี ราคาสูง ที่เป็นความต้องการของตลาด ต่อไปเราจะไม่เพียงแนะนำแต่เรื่องการเพาะปลูก แต่จะต้องดูเรื่องดิน น้ำ อากาศ ไปจนถึงตลาดด้วย ซึ่งการจะทำอย่างนั้นได้ เราต้องพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (Big Data) และมีแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ซึ่งนำข้อมูลจากทุกแหล่งมาบูรณาการกัน” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เราต้องใช้ศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่เรียกว่า ศพก. และระบบส่งเสริมการแบบแปลงใหญ่เป็นเครื่องมือสำคัญ รวมทั้งการสร้าง Smart Farmers และเกษตรกรรุ่นใหม่ ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสถาบันเกษตรกรที่เข้มแข็ง เป็นสหกรณ์ เป็นวิสาหกิจชุมชน ที่เน้นการนำนวัตกรรมมาปรับใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต ปรับตัวไปสู่การค้าออนไลน์ ตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐาน GAP พืชอาหาร ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของเกษตรกรด้วย โดยยึดหลัก Smart & Strong together หรือร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมรับประโยชน์
พล.อ.ประยุทธ์ยังกล่าวว่า รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับอีก 2 เรื่อง ที่แทบเป็นปัญหาถาวรไปแล้ว คือ 1.การป้องกันความเสี่ยงด้วยการประกันพืชผล และ 2.หนี้สินเกษตรกร ซึ่งรัฐบาลก็แก้ไขอย่างยั่งยืน โดยการผลักดันกฎหมายขายฝากที่ช่วยป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้มาตรการไกล่เกลี่ยและการบังคับใช้กฎหมาย 
“ต้นไม้ ถ้าปราศจากราก ก็อาจล้มโดยง่ายด้วยแรงลมนะครับ ดังนั้นชนชาติใดหากหลงลืม ละเลย ความเป็นชาติ หมายถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมา รากเหง้าทางวัฒนธรรม-ขนบธรรมเนียมประเพณี การทำมาหากิน การสร้างชาติของตนแล้ว ย่อมบั่นทอนความมั่นคงที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ แม้จับต้องไม่ได้ แต่มีความสำคัญนะครับ ซึ่งชาติไทยของเราเป็นชาติกสิกรรม เรารวยที่ดิน เรารวยทรัพยากรธรรมชาติ เราก็ควรจะสืบสาน และต่อยอดด้วยการบริหารจัดการ และใช้วิชาชีพเกษตรกรรมของเราในการสร้างชาติให้ได้ เหมือนบางประเทศ เช่น สิงคโปร์ ที่เสียเปรียบเรื่องพื้นที่และทรัพยากร แต่เขาก็หาจุดแข็งด้วยที่ตั้งของประเทศ และความถนัดในการค้าขาย” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
วันเดียวกัน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย แถลงผลการดำเนินงานของกระทรวงว่า ได้แก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยมีแผนงาน/โครงการที่สำคัญใน 4 ด้าน คือ 1.การเสริมสร้างสังคมเข้มแข็งและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ 2.การบริหารจัดการสาธารณภัย การวางผังเมือง และสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการดำรงชีวิตของประชาชน 3.การอำนวยความเป็นธรรมและการจัดระเบียบสังคม เพื่อสังคมสงบสุข และ 4.การพัฒนาการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"