1 ก.พ.เทียบเชิญ "บิ๊กตู่" หวัง 7-7-7 ทำ win-win


เพิ่มเพื่อน    

1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช.

2.อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค-อดีดต รมว.อุตสาหกรรม

3.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาล

ทั้ง 3 ชื่อข้างต้น คือรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ตามมติคณะที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เมื่อวันพุธที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา ที่เคาะรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ออกมา ซึ่งทั้งหมดก็เป็นไปตามคาด และหลังจากนี้ แกนนำพรรคก็ดำเนินการตามขั้นตอน เช่น การที่แกนนำพรรคจะไปพบ พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อส่งเทียบเชิญให้มาอยู่ในบัญชีรายชื่อนายกฯ ของพรรค ซึ่งมีข่าวว่าแกนนำพรรคจะไปพบ พล.อ.ประยุทธ์ ในช่วงวันที่ 1 ก.พ. นี้ โดยหลังจากนั้น ก็ต้องรอดูว่า พล.อ.ประยุทธ์จะตอบตกลงในวันดังกล่าวทันทีเลยหรือไม่ หรือจะเว้นระยะสักช่วงหนึ่ง แต่ก็ต้องทำภายในไม่เกิน 8 ก.พ. ที่เป็นวันสุดท้าย ซึ่งพรรคการเมืองต้องแจ้งรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่จะเปิดรับสมัคร ส.ส.และรับแจ้งชื่อแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคการเมืองต่างๆ ในช่วง 4-8 ก.พ.

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค พปชร. ให้เหตุผลมติดังกล่าวไว้ว่า พรรคจะให้ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์เป็นอันดับหนึ่ง เพราะเป็นนายกฯ ปัจจุบันและเป็นอดีตนายกฯในอนาคต ส่วนรายชื่อที่สองคือนายอุตตม เพราะเป็นหัวหน้าพรรค ส่วนรายชื่อที่สาม เพราะนายสมคิดเป็นบุคคลนอกที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ามา

เหตุที่พรรคเชิญ พล.อ.ประยุทธ์และนายสมคิด เพราะมีความรู้ความสามารถที่จะบริหารนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้าได้ 2.เป็นบุคคลที่ประชาชนชื่นชอบ 3.มีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ และการทำงานที่ผ่านมามีจริยธรรม ถือเป็นคุณสมบัติหลักในการพิจารณา พรรคเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นนายกฯของประเทศ ความหลากหลายทางความคิดก็เป็นข้อคิดเห็น ซึ่งทางพรรคก็ยังไม่ทราบท่านเหล่านี้จะรับการเป็นนายกฯ ของพรรคหรือไม่ ก็ขอให้พรรคดำเนินการตามขั้นตอนก่อน เพราะอาจจะเร็วไปที่จะพูดถึงสิ่งเหล่านั้น

ไม่ว่าชื่อใดจะเป็นนายกฯ ก็เป็นไปตามกระบวนการประชาธิปไตย ระบบของพรรคไม่ได้เกี่ยวข้องกับคสช. พรรคเดินตามแนวทางประชาธิปไตย และ พปชร.ก็ไม่ใช่พรรคของรัฐบาล เป็นพรรคที่กลุ่มคนต่างๆดำเนินการทางการเมือง เมื่อสุดท้ายพรรคพิจารณาแล้ว พรรคต้องมั่นใจว่าทั้ง 3 รายชื่อจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน เลขาธิการพรรค พปชร.ระบุในการแถลงข่าวมติพรรค พปชร.

อย่างไรก็ตาม แม้แกนนำพรรค พปชร.จะบอกว่า ยังไม่แน่ใจว่า บิ๊กตู่จะตอบรับหรือไม่กับเทียบเชิญดังกล่าว แต่ถึงตอนนี้ ใครต่อใครก็เชื่อกันไปหมดแล้วว่า กว่ามติ พชปร.จะออกมาดังกล่าว ระดับแกนนำพรรคที่ก็คือคนในรัฐบาล คสช.ด้วยกันเองกับ พล.อ.ประยุทธ์ ได้คุยปรึกษาหารือกันมาหมดแล้ว เพราะกระบวนการ จัดตั้งพรรคพลังประชารัฐ ทุกคนก็รู้กันดีว่า ระดับแกนนำ คสช.ต่างก็รู้เรื่อง และยังให้การสนับสนุนมาตลอด ยิ่งมติ พปชร.ที่ออกมา ในการจะส่งชื่อ พล.อ.ประยุทธ์เป็นแคนดิเดตนายกฯ มีหรือที่เรื่องแบบนี้คนในพรรค พปชร. โดยเฉพาะ 4 อดีต รมต.ของพรรค ทั้งอุตตม สาวนายน, สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์, ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์, กอบศักดิ์ ภูตระกูล จะไม่คุยกับพล.อ.ประยุทธ์และสมคิดไว้ก่อนล่วงหน้า

ในความเป็นจริง มันมีทั้งการพูดคุย-เจรจา-ต่อรองไว้หมดเรียบร้อยตั้งนานแล้ว เพียงแต่กระบวนการต่างๆ ก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน เล่นไปตามสเต็ป

ยิ่งท่าทีของบิ๊กตู่ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ก็ชัดเจนแล้วว่าลงเล่นการเมือง เข้าสู่ way การเลือกตั้ง ผ่านการเป็นหนึ่งในบัญชีแคนดิเดตนายกฯ แน่นอน ดังนั้น แคนดิเดตนายกฯ ของ พปชร. ก็จะมีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์แน่นอน แม้ต่อให้ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์จะสงวนท่าทีไว้ก็ตาม

ขอดูก่อนสิ หลายๆ พรรคเขาก็สนับสนุนเรา แต่ปัญหาเราคือ เราเลือกได้พรรคเดียว ก็ดูก่อนว่านโยบายเขาเป็นอย่างไร(พล.อ.ประยุทธ์ 30 ม.ค.) ก่อนมติพรรค พปชร.ในช่วงเย็นวันเดียวกัน

เมื่อเป็นเช่นนี้ ดูตามหน้าไพ่การเมือง แคนดิเดตนายกฯ ที่จะชิงกันในช่วงการเลือกตั้ง ก็น่าจะมี 3 ขั้วใหญ่

1.ฝ่าย คสช.-พลังประชารัฐ นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ โดยมีบางพรรคเป็นพันธมิตรการเมืองร่วมสนับสนุน เช่น  รวมพลังประชาชาติไทย ของสุเทพ เทือกสุบรรณ

2.ขั้วเพื่อไทย-ทักษิณ ชินวัตร ที่จะชูชัชชาติ สิทธิพันธ์, คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ โดยมีกองหนุนจากพรรคเครือข่ายอาทิ ไทยรักษาชาติเพื่อชาติ เป็นต้น

3.ประชาธิปัตย์ นำโดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งหาก ปชป.ต้องการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ก็ต้องทำให้ได้เสียงส.ส.มาเป็นอันดับ 2 รองจากเพื่อไทย เพื่อต่อรองกับ พปชร.ได้แบบสมน้ำสมเนื้อ

ขณะที่บางพรรค ที่แกนนำหวังจะขอเป็น นายกฯ ตาอยู่ เช่น อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ดูแล้วแม้การเมืองอะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่เส้นทางของอนุทินในการลุ้นเก้าอี้นายกฯ ยังไม่น่าจะเกิดขึ้นในศึกเลือกตั้งรอบนี้ เช่นเดียวกับหัวหน้าพรรคการเมืองอีกหลายพรรค ที่พยายามจะชูตัวเองเป็นนายกฯ อาทิ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แห่งอนาคตใหม่, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส จากพรรคเสรีรวมไทย ในความเป็นจริง ก็คงเป็นแค่สีสันการเมืองเท่านั้น โอกาสลุ้นถึงขั้นจะเป็นนายกฯ คงเป็นแค่ความฝัน

ขณะที่มุมวิเคราะห์การเลือกตั้งจากแกนนำพรรคพลังประชารัฐ อย่าง ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รองหัวหน้าพรรค มือเขียนนโยบายพรรค พปชร.7-7-7 ซึ่งเป็นแคมเปญนโยบายหลักที่ พปชร.จะใช้ในการหาเสียงหลังจากนี้ ภายใต้การชู 3 เรื่องใหญ่คือ

"สวัสดิการประชารัฐ, เศรษฐกิจประชารัฐ, สังคมประชารัฐ

ดร.สุวิทย์ วิเคราะห์ว่า ปัจจัยชี้ขาดผลเลือกตั้งมีสามปัจจัยคือ นโยบาย ตัวผู้นำ ตัวผู้สมัคร ส.ส.ในพื้นที่ ขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้ เช่น ผู้สมัคร ส.ส.หากไม่ทำการบ้านในพื้นที่ พรรคก็ไม่ได้เสียง แต่หากเขาเป็นที่รู้จัก แต่ทว่านโยบายพรรคไม่ชัดเจน ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ได้และปัจจัยสุดท้ายคือเรื่องตัวผู้นำแคนดิเดตนายกฯ

ถ้าได้ พล.อ.ประยุทธ์มาก็สุดยอดเลย เพราะจะไปด้วยตัวของมันอยู่แล้ว"

พร้อมกับย้ำว่าหัวใจสำคัญของนโยบาย 7-7-7 ของพรรคพลังประชารัฐ มุ่งไปที่ ต้องขจัดความเหลื่อมล้ำ ที่จะต้องไปพร้อมกับการก้าวข้ามความขัดแย้ง ซึ่งสังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่ดีมาก เป็นสังคมอบอุ่น ช่วยเหลือแบ่งปัน แต่การเมืองช่วงก่อน 22 พ.ค.57 มีความขัดแย้ง แตกแยกกัน ซึ่งนอกจากขจัดความเหลื่อมล้ำแล้ว ต้องก้าวข้ามความขัดแย้งด้วย นโยบาย 7-7-7 จึงมีความเชื่อมโยงต่อกันเพื่อตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนและลดความเหลื่อมล้ำ

นโยบาย 7-7-7 ของ พปชร.จะเป็นพลังหนุนให้ พปชร. ได้เสียง ส.ส.ตามที่ต้องการ จนได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงทำให้บิ๊กตู่คัมแบ็ก กลับตึกไทยคู่ฟ้ารอบสองหลังเลือกตั้งได้หรือไม่ ต้องรอดูเมื่อถึงช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง กระแสขานรับนโยบาย 7-7-7 และชื่อของบิ๊กตู่ในบัญชีแคนดิเดตนายกฯ ของ พปชร.จะมีมากน้อยแค่ไหน ในช่วงยามที่บิ๊กตู่ถอยหลังไม่ได้ ต้องเดินหน้าลูกเดียว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"