พ่อลูกกับผลงานศิลปกรรมชุดใหม่ที่จัดแสดงให้ชม
สิ่งที่ทำให้ วิชญ มุกดามณี ศิลปินหนุ่มรุ่นใหม่ ชอบทำงานศิลปะและอยากเป็นศิลปิน ก็เพราะพ่อของเขา วิโชค มุกดามณี เป็นศิลปินมาตลอด ความสามารถโดดเด่นจนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เขาจึงได้เลือดของศิลปินมาเต็มๆ และดำเนินตามรอยพ่อก้าวเข้าสู่วงการศิลปกรรมด้วยการเป็นศิลปินและอาจารย์ แต่มีความต่างในความสนใจของตัวเอง และเป็นการพัฒนาต่อยอดอย่างฉลาด ซึ่งถือว่าระหว่างพ่อกับลูกคู่นี้แม้วัยจะห่างกัน แต่แลกเปลี่ยนแรงบันดาลใจกันเสมอมา
ในโอกาสที่ ศ.วิโชค มุกดามณี อายุครบ 65 ปี ในปี พ.ศ.2561 ทางมูลนิธิบัวหลวงและหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดนิทรรศการใหญ่ “Dialogue of Father & Son : บทสนทนาของพ่อกับลูก” โดยเป็นการรวบรวมผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยจำนวนมากกว่า 70 ชิ้นของ ศ.วิโชค และ ดร.วิชญ มุกดามณี มาจัดแสดง ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กรุงเทพมหานคร
ศ.วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์
ต้องบอกว่า ศ.วิโชค มุกดามณี สร้างผลงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ งานได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จัก ศิลปินแห่งชาติผู้นี้พัฒนาผลงานอย่างสร้างสรรค์ โดยแสดงออกในรูปแบบศิลปะสื่อผสม และพัฒนามาเรื่อยมาจนเป็นรูปแบบศิลปะเชิงความคิดแนวจัดวาง นำวัสดุ เช่น ไม้ เหล็ก ทองแดง มาสร้างงานสื่อผสมโดยใช้เทคนิคจิตรกรรมควบคู่กันไป ส่วนชิ้นงานที่โชว์ในนิทรรศการครั้งนี้เป็นงานใหม่ในช่วง 4 ปี
มาที่ลูกชายของศิลปินแถวหน้าของไทย ดร.วิชญ เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยมาเป็นเวลานานพอสมควร มีผลงานหลากหลายรูปแบบ จัดแสดงสู่สาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ในรูปแบบสองมิติ สามมิติ ผลงานแนวจัดวาง ภาพถ่าย และวิดีโอ เป็นต้น ผลงานที่สร้างชื่อ เช่น งานในชุด “วิถีชีวิตเมือง” (City Life, Bangkok) ปี 2550 “วัฏจักรเมือง” (Urban Motion) และ “นัยของวัตถุ” (Implication of Materials) ปี 2551 งานชุด “คืนกลับ-ผันเปลี่ยน” (Re-Appearing) อีกงานแสดงสำคัญคือ ชุด “วัตถุคือชีวิต” (Art-ificial Being) ที่โดดเด่นของศิลปินผู้นี้ยังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ผสมผสานศิลปะไทยและตะวันตกอย่างลงตัว
ดร.วิชญ มุกดามณี บุตรชายตามรอยผู้เป็นพ่อ
ศ.วิโชค กล่าวว่า การทำงานของตนและลูกชายได้รับแรงบันดาลใจจากวัตถุสิ่งของที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน นำมาแสดงออกถึงประเด็นเนื้อหา ซึ่งสะท้อนและตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมร่วมสมัยรอบตัว ทั้งในแง่มุมของความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว วิถีชีวิตที่ได้รับอิทธิพลจากอุตสาหกรรม ทุนนิยม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความเชื่อ ความศรัทธาต่อศาสนา ความเชื่อ ความสะเทือนใจจากผลกระทบของเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและบรรทัดฐานของสังคม รวมไปถึงการตระหนักรู้และวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษ ธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปเนื่องจากน้ำมือมนุษย์
นอกจากนี้ ศ.วิโชค กล่าวต่อว่า เรายังมีบทบาทการเป็นศิลปินและเป็นอาจารย์สอนศิลปะ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยได้ร่วมงานกับหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาหลายครั้ง เช่น การประกวดจิตรกรรมบัวหลวง โครงการดาวเด่นบัวหลวง 101 และนิทรรศการศิลปกรรมอื่นๆ รวมทั้งมีกิจกรรมการบรรยาย อภิปราย และการทำเวิร์กช็อปด้านศิลปะ การฝึกอบรมต่างๆ ซึ่งงานนิทรรศการ “Dialogue of Father & Son : บทสนทนาของพ่อกับลูก” เป็นการรวมงานในโอกาสพิเศษจริงๆ
ผลงานศิลปะร่วมสมัยฝีมือวิชญ
ด้าน ดร.วิชญ มุกดามณี กล่าวถึงนิทรรศการครั้งนี้ว่า มาจากโครงการสร้างสรรค์ศิลปกรรมเรื่อง “บทสนทนาของพ่อกับลูก” เพื่อเป็นแนวเรื่องในการทำงาน มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความคิดของพ่อกับลูกที่มีบทบาทในการศึกษา การสร้างสรรค์ และการทำกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะ "กระบวนการสร้างสรรค์ทางจิตรกรรม ผลงานสื่อผสม วิดีโอ และผลงานจัดวาง เปรียบเสมือนสื่อกลางในการพูดคุย แลกเปลี่ยนแรงบันดาลใจ ทัศนคติ ระหว่างสองคน บางครั้งสะท้อนแง่มุมของการเห็นคล้อยตาม บางครั้งเป็นการถกเถียง และบางครั้งเป็นถ้อยคำปลอบใจ นิทรรศการนี้บอกเล่าเรื่องราวความแตกต่างของศิลปินจากยุคสมัยที่แตกต่างกันมากกว่า 30 ปี แต่มีสายสัมพันธ์แนบชิดกันทั้งด้วยสายเลือดและความชื่นชอบในงานศิลปะที่ถ่ายทอดถึงกัน สำหรับผลงานที่ตนนำมาแสดงนิทรรศการนี้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลา 1 ปีครึ่ง" ทายาทศิลปินแห่งชาติ กล่าว
งานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ของ ศ.วิโชค
สนใจฟังการพูดคุยของสองพ่อลูกผ่านงานศิลป์ แวะมาชมนิทรรศการ “Dialogue of Father & Son : บทสนทนาของพ่อกับลูก” ห้องแสดงนิทรรศการชั้น 1-3 หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 3 มีนาคมนี้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ เวลา 10.00-19.00 น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |