หลังจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานพ้นสภาพเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2558 ร่าง รธน.ที่เขียนกันมาหมดเงินหมดทองไปมากมายกับเบี้ยประชุมของประธานครั้งละ 9,000 บาท กรรมาธิการ 6,000 บาท อนุกรรมาธิการ 3,000 บาท แถมยกคณะไปประชุมสัญจรนอกสถานที่ หมดค่าโรงแรม ค่ากินอยู่ ฯลฯ
จากนั้นวันที่ 5 ตุลาคม 2558 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าได้ตั้ง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานคณะกรรมการร่าง รธน.สืบแทน พร้อมกับ กรธ.อื่นๆ อีก 20 คน รวมเป็น 21 คนทำหน้าที่จัดทำ รธน.ฉบับใหม่
รธน.ได้ประกาศใช้แล้วตั้งแต่ 6 เมษายน 2560 แต่ กรธ.ก็ยังอยู่ทำ พ.ร.บ.ประกอบ รธน. 10 ฉบับ ทว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญกลับไม่ได้ต่างไปจาก รธน.ฉบับชั่วคราวที่มีมาตรา 44 กำกับอยู่เลย และมีทีท่าจะเกิด วิกฤติรัฐธรรมนูญ ในวันข้างหน้า
เมื่อไปสำรวจเว็บไซต์ของ กรธ.พบว่าจนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 กรธ.นัดประชุมเป็นครั้งที่ 462 เท่ากับว่านาย มีชัย ได้เบี้ยประชุม 4,158,000 บาท ส่วนกรรมการได้คนละ 2,772,000 บาท ถ้าบวกกับการเป็นอนุกรรมการคนละหลายชุดก็จะเกิน 3 ล้านบาทเข้าไปแล้ว
แล้ว รธน.ใช้เป็นหลักและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้บ้างไหม แต่ละมาตราในบทถาวรและในบทเฉพาะกาลที่เขียนไว้ เมื่อเกิดข้อโต้เถียงกันขึ้นว่าหมายถึงอะไร คนจัดทำ รธน.คือ กรธ.ต้องการให้ตีความตามตัวอักษรหรือตามเจตนารมณ์ก็ไม่มีคำตอบ
นายมีชัยตั้งคณะอนุกรรมการตรวจพิจารณาบันทึกเจตนารมณ์ร่าง รธน. ให้นาย ศุภชัย ยาวะประภาษ เป็นประธาน ประชุมครั้งแรก 20 กันยายน 2559 จนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้จะเป็นครั้งที่ 83 ได้เบี้ยประชุมคนละเท่าไหร่ก็เอา 3,000 ไปคูณ
แต่ทั้งอนุกรรมการหรือ กรธ.ไม่เคยนำเสนอผลการประชุมเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและคำอธิบายในแต่ละมาตราให้สังคมได้รับทราบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกไขว้ ส.ว. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน จึงเกิดการตีความไปต่างๆ นานา เช่น การรวมกลุ่มกันใช้สิทธิแสดงออกเพื่อเรียกร้องการเลือกตั้งซึ่ง รธน.เขียนรับรองไว้ แต่เมื่อนำไปปฏิบัติกลับถูกตำรวจจับกุม ตั้งข้อหาร้ายแรง แท้จริงแล้ว รธน.คุ้มครองหรือไม่?
นายเจษฎ์ โทณะวณิก ที่ปรึกษา กรธ. นายภัทระ คำพิทักษ์ กรธ. ทั้งสองเป็นอนุกรรมการตรวจพิจารณาบันทึกเจตนารมณ์ร่าง รธน.ของ กรธ. และได้เป็นกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบ รธน.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในชั้น สนช. ทั้งคู่ได้ลุกขึ้นอภิปรายวาระ 2 เตือนว่าการให้กรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบันอยู่ต่อไปจนครบ 9 ปีจะเสี่ยงต่อการขัดเจตนารมณ์ รธน.
การที่กรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ของ สนช.ไปเพิ่มเติมข้อความยกเว้นคุณสมบัติต้องห้ามบางประการเพื่อให้ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. และ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ ซึ่งขาดคุณสมบัติเพราะขัดต่อ รธน.ได้เป็น ป.ป.ช.ต่อไปจนครบวาระ 9 ปีนับว่าเสี่ยงขัด รธน.
โดยเฉพาะ พล.ต.อ.วัชรพล เคยเป็นอดีตข้าราชการการเมือง เคยเป็นรองเลขาธิการนายกฯ (เลขาฯ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โดยพ้นจากตำแหน่งยังไม่เกิน 10 ปี ซึ่งขัดต่อลักษณะต้องห้ามตาม รธน. แต่ที่ประชุม สนช.ก็ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.นี้จนได้
“การเขียนกฎหมายแบบเอาลูกไปฆ่าแม่ คือเอากฎหมายระดับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไปยกเว้นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ” นายภัทระ เขียนในเฟซบุ๊ก
ทั้งยังเขียนต่อไปว่า พล.ต.อ.วัชรพล เคยเป็นรองเลขาธิการนายกฯ (เลขาฯ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) และมี ป.ป.ช.อีก 1 คนจะต้องขาดคุณสมบัติการเป็น ป.ป.ช. เมื่อ สนช.ไปใส่ข้อความยกเว้นคุณสมบัติจึงเท่ากับขัดต่อ รธน. แล้ว 2 คนนี้จะไปลงมติชี้มูลใครได้ ผู้ถูกชี้มูลก็จะร้องว่า พล.ต.อ.วัชรพลกับอีกคนหนึ่งขาดคุณสมบัติ ไม่มีสิทธิ์เป็น ป.ป.ช.มาชี้มูลใคร
สำหรับเจตนารมณ์ของ รธน.โดยหลักแล้วจะต้องถูกบันทึกไว้โดยผู้จัดทำ ผ่านกระบวนพิจารณาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวปฏิบัติ
กรณีที่ นายภัทระ และ นายเจษฎ์ ยืนยันว่าการออกกฎหมายลูกไปฆ่าแม่ไม่ได้ แล้วต่อมาหากสมมุติว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหลัง สนช.ยื่นให้ตีความโดยชี้ว่า ลูกฆ่าแม่ได้ ไม่ถือเป็นความผิด
กรธ.ทั้งหมดที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นประธานจะอยู่อย่างไร พูดอะไรในฐานะผู้ร่าง รธน.จะมีคนเชื่ออีกหรือ?
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |