"ม.เอกชน"ขนาดเล็กวิกฤตหนัก เจอมรสุมเด็กลดฮวบ50-70%


เพิ่มเพื่อน    

 

29ม.ค.62-หมออุดม เผย มหา'ลัยอยู่ยาก เจอมรสุม วิกฤติเด็กลดหนักหน่วงมากขึ้น  "ม.เอกชนขนาดเล็ก"ลดลงถึง50-70%ส่วน"ม.ใหญ่"ลดลง 20-30% ส่วนม.รัฐ ลดประมาณ 10-15% แนะรีบปรับตัว ยกระดับคุณภาพให้สูงโดดเด่นแค่1-2คณะ  เท่านั้น ส่วนคณะที่เหลืออาจต้องปิดตัวไป  อีกทั้งยังต้องรวมตัวเราอยู่กับมหาวิทยาลัยอื่น ใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อความอยู่รอด

 

ที่โรงแรมพลูแมน คิงเพาเวอร์ - มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) จัดการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการประกันคุณภาพการศึกษาครั้งที่ 1 Thailand Quality Education Form (TQEd) 2019 โดยมีนพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานเปิดงานพร้อมทั้งกล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง ฝ่าวิกฤตอุดมศึกษาไทยด้วย “คุณภาพ” ตอนหนึ่งว่า วิกฤติที่มหาวิทยาลัยพบในปีนี้คือ ปัญหาจำนวนผู้เรียนลดลง ในภาพรวมมหาวิทยาลัยของรัฐ ลดลงร้อยละ 10-15 แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ มหาวิทยาลัยเอกชนขนาดใหญ่ นักศึกษาลดลง ร้อยละ 20-30 กลุ่มที่สองคือ มหาวิทยาลัยเอกชนขนาดเล็ก ลดลงจำนวนมากถึง ร้อยละ 50-70 ซึ่งน่าเป็นห่วงมากว่ามหาวิทยาลัยจะอยู่ได้อย่างไร

" ที่ผ่านมามีอธิการบดีมหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งมาพบเพื่อหารือกับผมว่า รัฐบาลจะมีทางใดที่จะช่วยเหลือมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดเล็กเหล่านี้ได้บ้าง ซึ่งผมให้คำตอบว่า คงเป็นไปได้ยาก แต่แนวทางที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเอกชนจะรอดได้ คือ ต้องมีคุณภาพ พัฒนาคณะที่เป็นจุดแข็งของตนเอง 1-2 คณะ เท่านั้น และทำให้มีคุณภาพสูง ส่วนคณะที่เหลือก็คงต้องปิดตัวไป เพราะไม่มีมหาวิทยาลัยใดที่จะเก่งทุกคณะ รวมถึงต้องหาความร่วมมือระหว่างคณะและมหาวิทยาลัย ที่นำทรัพยากรทั้งอาจารย์ อุปกรณ์ ของมหาวิทยาลัยมาช่วยกันยกระดับคุณภาพ ไม่เช่นนั้นจะอยู่ไม่ได้ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลก็ทำอยู่ก็ คือ หลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ที่รัฐบาลเห็นแล้วว่าน่าจะเป็นคำตอบในการพัฒนาประเทศ รัฐถึงจะกล้าลงทุนสนับสนุนงบประมาณ"รมช.ศธ.กล่าว 

นพ.อุดม กล่าวต่อว่า การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเปลี่ยนแปลงไป โดยการเรียนและการทำงานจะเป็นสิ่งเดียวกัน สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่มีกำแพงระหว่างคณะ เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเน้นสมรรถนะและทักษะมากกว่าความรู้ ที่สำคัญทุกองค์กรจะต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และวิจัยหลายเรื่องมีการเปลี่ยนแปลงในโลก ทำให้สถาบันการศึกษาต้องปรับตัวเองให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน และตอบโจทย์อนาคต และต้องมีคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญคือ การทำตามมาตรฐานที่กำหนด , ตอบโจทย์หรือมีความพึงพอใจของผู้ใช้ หรือผู้เรียน ผู้ปกครอง ภาคอุตสาหกรรม , ต้องมีต้นทุนที่เหมาะสม  และคุณภาพต้องมีการประกันคุณภาพคู่กันเสมอ  มหาวิทยาลัยจะต้องเป็นหัวขบวนในการปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ต้องทุ่มเทสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นคนไทย 4.0 เป็นคนไทยดิจิทัล เก่งและอยู่ที่ไหนในโลกได้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ต่อยอดเป็นนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศหลุดออกจากกับดักรายได้ปานกลางให้ได้ โดยอุดมศึกษาต้องมีหน้าที่หลัก 3 ด้าน คือ สร้างความรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม , ต้องมีทักษะ ,ต้องมีสมรรถนะที่ได้รับการบ่มเพาะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพ ดังนั้นเป้าหมายใหม่ของการศึกษาคือ การสร้างคนที่จะไปสร้างนวัตกรรม

“ประเทศไทยจะเดินหน้าด้วยนโยบายประเทศไทย 4.0 ดังนั้นคนในประเทศก็ต้องเป็นคนไทย 4.0 ด้วย ปัจจุบันประเทศมีกำลังคนที่เก่งด้าน 4.0 หรือทักษะที่จำเป็นจำนวนไม่มากพอ สถาบันอุดมศึกษาจะต้องปรับหลักสูตรให้ตอบโจทย์ ปรับปรุงหลักสูตรเเละการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายใหม่ของการเรียนรู้ที่ไม่ใช่เเค่เข้าไปเป็นแรงงาน เเต่ต้องเป็นผู้ประกอบการ สร้างนวัตกรรมใหม่ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ครูอาจารย์ และสถาบันการศึกษา  โดยครูอาจารย์ต้องไม่เน้นสอนอย่างเดียว แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก สอนเด็กให้เรียนรู้จากการทำงาน ดึงศักยภาพเด็กออกมาใช้ให้เต็มที่ สร้างเสริมจินตนาการเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ขณะที่สถานศึกษาต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกวัย”รมช.ศธ.กล่าว

------------------------


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"