24 ม.ค.62- พล.ต.นิมิตร์ สะโมทาน ผอ.รพ.พระมงกุฎเกล้า พร้อมด้วย พล.ท.พีระพล ปกป้อง เลขาธิการ มูลนิธิรพ.พระมงกุฎฯ พ.อ.นพ.ธนากร เทียนศรี หัวหน้าแผนกศัลยกรรมประสาท รพ.พระมงกุฎฯ นายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือตูนบอดีสแลม ร่วมกันแถลงข่าว รับมอบอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ ที่จัดซื้อด้วยงบประมาณจากโครงการก้าวคนละก้าว
พล.ต.นิมิตร์ กล่าวว่า รพ.พระมงกุฎฯ ยังต้องการเครื่องมือจำนวนมาก แต่หากใช้กระบวนการจัดหาปกติต้องวางแผน 1-2 ปีถึงจะได้ แต่เงินที่ได้รับจากโครงการก้าวคนละก้าว 221 ล้านบาท ทำให้ รพ.สามารถจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ได้เร็วขึ้นรวม 60 รายการ อาทิ เครื่องหัวใจและปอดเทียม เครื่องควบคุมการให้เลือดผู้ป่วยอย่างรวดเร็วโดยอัตโนมัติ เครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นสั้น โดยไฮไลท์อยู่ที่หุ่นยนต์ผ่าตัดสมอง มูลค่า 55 ล้านบาท เครื่องแรกในประเทศไทย และเอเชียแปซิฟิก ซึ่งสามารถสร้างแผนที่ระบบประสาทของสมองทั้งหมดได้ภายใน 20 นาที และช่วยสร้างแผนการผ่าตัดและนำทางได้อย่างแม่นยำ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ซอฟต์แวร์ เดียวกับแขนหุ่นยนต์ที่ใช้ในสถานีอวกาศของนาซ่า นอกจากนี้ยังจัดซื้อเครื่องมือแพทย์จำเป็นและรถพยาบาลมอบให้รพ.ในสังกัดกรมแพทย์ทหารบกอีกด้วยโดย ก้าวต่อไปอยู่ระหว่างการสร้างศูนย์กู้ชีพก้าวคนละก้าว ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2563
พ.อ.นพ.ธนากร กล่าวว่า ปกติศัลยแพทย์ผ่าตัดสมองจะมีความลำบากมาก เพราะสมองมีความซับซ้อนสูง มีเซลล์ประสาทประมาณแสนล้านเซลล์ มีเส้นทางเชื่อมต่อประมาณแสนล้านเส้นทาง ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าการผ่าตัดจึงมีความเสี่ยงโดยหากทำให้เส้นทางเชื่อมต่อเสียหาย ก็จะเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงได้ แต่ปัจจุบันการผ่าตัดด้วยหุ่นยนตร์ดังกล่าว จะให้ภาพที่มีความละเอียดสูง สามารถแยกเส้นเลือด เส้นประสาท และสมองได้ มีระบบนำทางไปหาเนื้องอกโดยตรง ทำให้ไม่หลงเส้นทาง และมองเห็นเส้นทางเชื่อมต่อเส้นประสาทได้จึงหลบหลีกได้ ทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพดี ปลอดภัยสูง ลดเวลาผ่าตัดให้สั้นลงประมาณ 12-16 ชั่วโมง แล้วแต่ความยากง่ายของผู้ป่วยแต่ละราย
ด้าน นายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือตูนบอดีสแลม กล่าวว่า ตนขอเป็นตัวแทนจากประชาชนคนไทยทุกคนที่ร่วมบริจาคเงินในโครงการก้าวคนละก้าวมาทั้งปี 60 เป็นตัวแทนเด็กน้อยยกกระปุกออมสิน เด็กน้อยที่ให้เงิน 20 บาท และทุกๆ คนที่โอนเงินมาร่วมสมทบผ่านช่องทางต่างๆ วันนี้คือความสุขที่ทุกคนสมควรได้รับไป และยินดีกับรพ.พระมงกุฎที่มีเครื่องมือดี เพื่อรักษาคนไข้ให้มีชีวิตรอด ที่สำคัญคือช่วยให้คนที่ไม่มีเงินเยอะ คนไทยสามัญ ได้รับการรักษาด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากคนที่มีเงิน อย่างไรก็ตาม ภายในกลางปีนี้จะแนวคิดจะจัดโครงการก้าวคนละก้าวปีที่ 2 เนื่องจากพบว่ายังมีรพ.ขนาดเล็กตามต่างจังหวัดที่ติดต่อเข้ามา ซึ่งตนและทีมงานจะลงไปพูดคุยกับแพทย์และพยาบาลก่อน ว่าต้องการอะไรบ้าง แต่การวิ่งคงไม่ได้เป็นการวิ่งระยะยาวเหมือนเดิม แต่อยากให้โครงการวิ่งเป็นโครงการที่ให้ความสนุก
ด้าน น.ส.จรรยา ดวงมณี ผู้จัดการแผนกผลิตภัณฑ์ศัลยกรรมประสาท กล่าวว่า เครื่องนี้ประชาชนทุกสิทธิสามารถใช้ได้ คนสามารถใช้ได้ แต่ขึ้นกับการวินิจฉัยแพทย์และส่งต่อมายังรพ.พระมงกุฎฯ ส่วนค่าใช้จ่ายเฉพาะตัวเครื่องนั้นไม่ได้คิดเพิ่ม โดยคิดอัตราเดียวกับรพ.รัฐ ส่วนการผ่าตัดปัจจุบันสามารถทำได้ประมาณสัปดาห์ละ 4 ราย เนื่องจากรพ.ยังมีขีดจำกัดเรื่องห้องผ่าตัด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |