สศร.ยกระดับศิลปินรุ่นใหม่ก้าวสู่มืออาชีพ


เพิ่มเพื่อน    

ศิลปินแห่งชาติคัดเลือกผลงานโดดเด่นของศิลปินรุ่นใหม่ที่ จ.กระบี่

 

     การเติมเต็มทักษะ ความรู้ และเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของเยาวชน ศิลปินรุ่นใหม่ให้มีความเข้นข้นขึ้น ยังรอการสนับสนุนให้เห็นเป็นรูปธรรม ล่าสุด สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) จัดเวทีพัฒนาและแสดงออกของนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ผ่านโครงการ "พัฒนาศักยภาพศิลปินรุ่นใหม่" ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 13-19 มกราคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน จ.กระบี่ 

      ตลอด 7 วัน เยาวชนมากฝีมือได้รับวิชาความรู้จากศิลปินแห่งชาติอย่างเต็มที่ และสร้างสรรค์ผลงานโดดเด่น รวมถึงเปิดประสบการณ์ชมผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติที่จัดแสดงในงาน"ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ กระบี่ 2018" ตามจุดต่างๆ ทั่วเมืองกระบี่ 

 

 

ปิยะธิดา ไกรกิจราษฎร์ 1 ใน 12 ศิลปินรุ่นใหม่ นำสีมาเสนอรูปแบบใหม่

 

     ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า สศร.จัดโครงการพัฒนาศักยภาพศิลปินรุ่นใหม่ ปี 62 โดยมีนิสิต นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศผ่านเข้ารอบสุดท้ายมาสร้างผลงานศิลปกรรมชิ้นใหม่ จำนวน 74 คน และในฐานะที่ไทยเป็นประธานอาเซียนปีนี้มีนักศึกษาจาก 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ร่วมโครงการด้วย โดยคณะกรรมการประกอบด้วยศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 5 คน คือ กมล ทัศนาญชลี, ธงชัย รักปทุม, เดชา วราชุน, ปรีชา เถาทอง และวิโชค มุกดามณี ร่วมตัดสินผลงานที่เหมาะสม มีศิลปินรุ่นใหม่สร้างงานที่มีความเป็นตัวเองผ่านการคัดเลือก 12 คน ทั้งหมดนี้จะได้ไปศึกษาดูงานศิลปกรรมและการจัดแสดงมหกรรมศิลปะนานาชาติ ณ ประเทศญี่ปุ่น

      สำหรับศิลปินหน้าใหม่ที่จะได้รับการพัฒนาประดับวงการทั้ง 12 คน ได้แก่ น.ส. ปิยะธิดา ไกรกิจราษฎร์ ม.ศิลปากร, นายอนุกูล ทังไธสง ม.ศิลปากร, น.ส.ชนิสรา วรโยธา มทร.ธัญบุรี, น.ส.กัญญาวีร์ เอื้อถาวรพิพัฒน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.), นายวรวุฒิ เกษประทีป วิทยาลัยช่างศิลป์ สบศ., นายศรชัย ชนะสุข มทร.รัตนโกสินทร์ วิทยาลัยเพาะช่าง ภาคใต้มี น.ส.บุษกร จันทร์เมือง ม.ทักษิณ วิทยาเขตสงขลา และนายสันติ ทองมี  มทร.ศรีวิชัย ภาคอีสานเป็นนายธีระยุทธ แสงอาจ มรภ.อุบลราชธานี, น.ส.กาญจนาพร ปัตตาเทสัง มรภ.นครราชสีมา และ น.ส.พรพรรณ พ่วงพูน มรภ.อุตรดิตถ์ คนสุดท้าย น.ส.คามิลล์ มานาโล คาบาตินาน เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์

 

12 ศิลปินรุ่นใหม่จะได้เปิดโลกทัศน์ชมมหกรรมศิลปะนานาชาติที่ญี่ปุ่น

 

      ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ กล่าวว่า นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ที่คัดเข้าโครงการมีความพร้อมมาก ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเยาวชนมุ่งใช้ทักษะสูงสร้างสรรค์ให้งานสัมฤทธิ์ ทั้ง 12 ชิ้นงานสมบูรณ์แบบด้วยเทคนิคที่หลากหลายภายใต้เวลาที่จำกัด หลายคนใช้เทคนิคใหม่ๆ ปฏิเสธการใช้พู่กันหรือการเพนต์แบบเดิม ซึ่งต้องสนับสนุนให้เกิดการสร้างงานศิลปะที่มีความคิดแตกต่าง มีคุณค่าทางสุนทรียะ เพื่อเติบโตเป็นศิลปินรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ

      "12 ศิลปินรุ่นใหม่จะได้ไปศึกษาดูงานศิลปะร่วมสมัยที่ญี่ปุ่น ได้เรียนรู้ถึงการแสดงออกทางความคิดที่หลากหลาย ช่วยเสริมสร้างให้การทำงานของเยาวชนเหล่านี้ก้าวหน้ามากขึ้น อยากให้ทุกคนเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อสร้างโอกาสให้กับตนเอง นำความรู้กลับมาพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยให้ก้าวหน้า ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับคัดเลือกรายชื่อบันทึกในฐานข้อมูล สศร.เฝ้าจับตา รวมถึงมีโอกาสร่วมโครงการต่างๆ พัฒนาตัวเองต่อไป" ปัญญา กล่าว

 

จากซุปเปอร์ขาไก่สู่งานประติมากรรมจัดวาง เทคนิคพันยาง     

 

     จากซุปเปอร์ขาไก่กระแทกใจให้ อนุกูล ทังไธสง นักศึกษาชั้นปี 5 เอกศิลปะไทย คณะจิตรกรรมฯ มศก. สร้างประติมากรรมจัดวาง ชื่อ "ก.Chickens" รวมทั้งงาน "พันชีวิต" ชิ้นที่สอง เกิดจากเนื้อหมูส่วนต่างๆ ที่นำมาทำสารพัดเมนู

      "งานชุดนี้แนวคิดมาจากอาหารถ้วยหนึ่ง ซุปเปอร์ขาไก่ ผมเห็นการแยกส่วนของตัวไก่มาเป็นขา อก น่อง ปีก เห็นพฤติกรรมการกินสัตว์ทีละส่วนของคนกับอาหารจานโปรด บอกได้ว่ากลายเป็นพฤติกรรมการกินที่ปกติในสังคมและเกิดขึ้นทุกวินาที ชิ้นที่สองทำในค่ายพัฒนาศักยภาพที่กระบี่ ผมแยกชิ้นส่วนของหมูออกเป็นชิ้นๆ สื่อการกินสัตว์ที่โดนแยกส่วน กินได้ง่าย แต่มองกลับกันน่าหดหู่ เป็นพฤติกรรมบริโภคที่ไม่รู้จักพอ" อนุกูล เผย

      ที่โดดเด่นเป็นเทคนิค ศิลปินหนุ่มบอกแม้จะเรียนจิตรกรรม แต่ทดลองทำงานหลายรูปแบบ ค้นหาตัวตน เป็นสิ่งท้าทาย เลือกใช้เทคนิคการพันยาง เพราะยางบอกได้ถึงความทันสมัยของผู้คนและความล้าหลังของสังคมเช่นกัน เป็นการพันชีวิตที่ไม่สมดุล ดูแล้วสองแง่สองง่าม สำหรับโครงการนี้เป็นครั้งแรกทำกิจกรรมกับ สศร. เป็นเวทีที่ดี สนุกกับเทคนิคของเพื่อนแต่ละภาค อีกทั้งได้รู้จักเยาวชนอาเซียนเปิดมิติใหม่ๆ ตั้งใจว่าการทัศนศึกษาต่างประเทศจะไปเก็บประสบการณ์ล้ำๆ เพราะญี่ปุ่นเป็นสุดยอดด้านศิลปะร่วมสมัยอยู่แล้ว

 

พรพรรณ พ่วงพูน รังสรรค์ภาพพิมพ์ถ่ายทอดภูมิปัญญาเรือนแพบ้านท่าเรือ

 

      พรพรรณ พ่วงพูน นศ.ชั้นปี 4 มรภ.อุตรดิตถ์ สร้างงานชุด "สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นบ้านท่าเรือ" เทคนิคภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ชนะใจกรรมการ บอกว่า แรงบันดาลใจมาจากบ้านเรือนแพ ภูมิปัญญาการอยู่อาศัยของคนบ้านท่าเรือ โดยไม่ต้องพึ่งพาสถาปนิก ใช้ทรัพยากรเป็นเอกลักษณ์ของคนในชุมชน อยากให้คนตระหนักถึงภูมิปัญญาสร้างสรรค์ในรูปแบบสถาปัตยกรรมลอยน้ำที่ทรงคุณค่า สะท้อนกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชนด้วย บ้านท่าเรือเป็นชาวล้านช้าง ซึ่งอุตรดิตถ์เป็นเมือง 3 วัฒนธรรม นอกจากล้านช้าง มีล้านนา และจีนด้วย

      "ใช้เทคนิคภาพพิมพ์ตะแกรงไหมสกรีนทีละสีจากอ่อนสุดถึงเข้มสุด ชิ้นแรกสกรีน 40 ครั้ง ชิ้นที่ 2 ทำที่กระบี่ สกรีน 15 ครั้ง จนเกิดเป็นภาพวิถีเรือนแพอิงแม่น้ำ การร่วมโครงการได้คำแนะนำจากศิลปินแห่งชาติ แต่ละท่านเป็นต้นแบบที่ดี ส่วนที่ญี่ปุ่นจะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม และนำกลับมาใช้ยกระดับงานตัวเอง" พรพรรณ กล่าว

 

 ธีระยุทธ แสงอาจ กับงานศิลปะสื่อถึงความอึดอัดเพศที่สาม  

  

     งานศิลปะที่พูดถึงเพศที่สาม เป็นอีกงานเด่น ส่งให้ ธีระยุทธ แสงอาจ นศ.ชั้นปี 4 คณะมนุษยศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์ เจ้าของงานสีน้ำมันบนผ้าใบชื่อ "สภาวะของความอึดอัด" และ "ห้วงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด" ได้ไปแดนปลาดิบ

      " จากประสบการณ์เล็กๆ ของตนที่โดนล้อ ดูถูก หัวเราะเยาะ เหมือนเราเป็นตัวตลก ความรู้สึกนั้นบั่นทอนใจ ทำไมมองเพศที่สามต่างจากเพศชายและหญิง มีความรู้สึกอึดอัดภายในจิตใจก็ถ่ายทอดผ่านจิตรกรรมไทยร่วมสมัยกึ่งนามธรรม รูปทรงและเส้นผมที่บีบ รัด แทนค่าเรื่องราวอดีต สะท้อนความอึดอัดของเพศที่สาม" ศิลปินเพศที่สามเผย และทิ้งท้ายประทับใจกับโครงการพัฒนาศักยภาพศิลปินรุ่นใหม่ คำติชมจากศิลปินแห่งชาติ ศิลปินร่วมสมัย รุ่นพี่ เพื่อนๆ จะนำมาปรับใช้ต่อยอดงานก้าวไปสู่ความเป็นศิลปินมืออาชีพต่อไป

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"