9 ก.พ. 61 - อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “คนอีสานกับการ (จะได้) เลือกตั้ง” พบกลุ่มตัวอย่างคนอีสานส่วนใหญ่เห็นว่าเลือกตั้ง ส.ส. ภายในปี 2561 เหมาะสมที่สุด โดยมีแนวโน้มจะเลือกนักการเมืองประสบการณ์สูง และนักธุรกิจประสบการณ์สูง มากกว่ากลุ่มอื่นๆ และมีเสียงเห็นด้วยมากกว่าไม่เห็นด้วยกับการตั้งรัฐบาลผสมโดย 2 พรรคใหญ่ ขณะที่เสียงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยยังไม่แตกต่างกันมากในประเด็นตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ และ คสช. ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยยังมีคะแนนนิยมนำโด่งในเขตอีสาน ขณะที่ประมาณ 1 ใน 4 ยังรอพรรคทางเลือกอื่นๆ หรือยังไม่ตัดสินใจ
ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นคนอีสานกับการเลือกตั้ง สส. ครั้งหน้า” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2561 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,161 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า การจัดเลือกตั้ง สส. ช่วงใดเหมาะสมที่สุด พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.4 เห็นว่าควรจัดเลือกตั้ง ส.ส. ในช่วง พ.ค.-ส.ค. 61 รองลงมาร้อยละ 26.0 ควรจัดช่วง ก.ย.-ธ.ค. 61 ตามมาด้วย ร้อยละ 15.6 ควรจัดช่วง ม.ค.-เม.ย. 62 ร้อยละ 2.8 ควรจัดช่วง พ.ค.-ส.ค. 62 และร้อยละ 3.2 ควรจัดช่วงปลายปี62 หรือนานกว่านั้น
ถามถึงแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัคร สส. แบบใด พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 42.7 จะเลือกนักการเมืองประสบการณ์สูง รองลงมา ร้อยละ 26.3 เลือกนักธุรกิจประสบการณ์สูง ตามมาด้วย ร้อยละ 17.1เลือกนักการเมืองรุ่นใหม่ ร้อยละ 6.2 เลือกนักวิชาการ/ที่ปรึกษา ร้อยละ 3.3 เลือกอดีตข้าราชการพลเรือนร้อยละ 3.1 เลือกผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคม และร้อยละ 1.3 เลือกอดีตทหาร/ตำรวจ
สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งรัฐบาลแห่งชาติโดยการจับมือของพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ และ คสช. พบว่าอันดับหนึ่ง ร้อยละ 43.0 เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 38.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 19.0 ยังไงก็ได้ ตามลำดับ
เมื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งรัฐบาลผสม โดยการจับมือของพรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์เพื่อหลีกเลี่ยงการมาของนายกฯ คนนอก พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 46.3 เห็นด้วย รองลงมาไม่เห็นด้วย ร้อยละ 31.2 และยังไงก็ได้ ร้อยละ 22.5 ตามลำดับการตั้งรัฐบาลผสม โดยการจับมือของพรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการมาของนายกฯ คนนอก
เมื่อสำรวจถึงแนวโน้มที่กลุ่มตัวอย่างจะสนับสนุนพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 39.7 สนับสนุนพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 26.9 เป็นกลุ่มรอพรรคทางเลือกอื่นๆ หรือยังไม่ตัดสินใจ เลือกพรรคใด ตามมาด้วย ร้อยละ 10.4 สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 6.6 สนับสนุนพรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ ร้อยละ 3.4 สนับสนุนพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 0.9 สนับสนุนพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.7 สนับสนุนพรรคชาติพัฒนา และร้อยละ 0.7 สนับสนุนพรรคพลังพลเมือง ขณะที่ ร้อยละ 10.7 จะไม่ไปเลือกตั้งหรือไม่เลือกพรรคใด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |